พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมยังใช้งานได้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้พ้นจากภาระจำยอม
ทางภาระจำยอมที่โจทก์จะเรียกให้พ้นจากภาระจำยอมได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1394 ทางภาระจำยอมนั้นต้อง ไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังคงใช้ทางเดินภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะอยู่ เมื่อปรากฏว่ามีการขัดขวางโดยผู้ขายที่ดินให้โจทก์ปิดกั้นทางภาระจำยอม จำเลยกับพวกก็ใช้สิทธิฟ้องให้ผู้ขายที่ดินดังกล่าวเปิดทางภาระจำยอมนั้น เพื่อให้จำเลยกับพวกได้ใช้ทางภาระจำยอมในที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์อยู่ ในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและให้รื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่กระทำลงบนทางภาระจำยอม ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้โจทก์เปิดทางภาระจำยอมให้แก่จำเลยกับพวกอันเป็นข้อแสดงว่าจำเลยยังต้องการใช้ทางภาระจำยอมและตามรูปการทางภาระจำยอมนั้นก็สามารถ ใช้ได้อยู่ ฉะนั้นโจทก์จึงหามีสิทธิที่จะเรียกให้ที่ดินภารยทรัพย์พิพาทพ้นจากภาระจำยอมตามมาตรา 1394 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมยังใช้ได้ แม้มีการขัดขวางและฟ้องร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้พ้นจากภารจำยอม
จำเลยทั้งสิบยังใช้ทางเดินภารจำยอมในที่ดินของโจทก์เดินผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะอยู่ เมื่อมีการขัดขวางโดยบริษัท ช. ผู้ขายที่ดินให้โจทก์ปิดกั้นทางภารจำยอมจำเลยกับพวกก็ใช้สิทธิฟ้องให้บริษัทดังกล่าวเปิดทางภารจำยอม จนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและให้รื้อสิ่งก่อสร้างที่กระทำลงบนทางภารจำยอม ซึ่งอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นข้อแสดงว่าจำเลยทั้งสิบยังต้องการใช้ทางภารจำยอมและตามรูปการทางภารจำยอมนั้นก็สามารถใช้ได้อยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ที่ดินภารยทรัพย์พ้นจากภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1394
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) เป็นประกันหนี้ เมื่อจำเลยยังค้างชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิยึดถือได้
จำเลยได้ยินยอมมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ให้โจทก์ทั้งสองยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ทั้งสอง เมื่อจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ทั้งสองอยู่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คืนจากโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การกระทำของจำเลยลดทอนสิทธิการใช้ทางภาระจำยอมของโจทก์
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ทางภาระจำยอมกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดเนื้อที่ในที่ดินของจำเลยอันเป็นภารยทรัพย์เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตามบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอม โจทก์มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะใช้ประโยชน์เป็นทางเข้าออกในทางภาระจำยอมตรงจุดใด บริเวณใด ในเวลาใดก็ได้ตามความประสงค์หรือเพื่อความสะดวกของโจทก์ทุกเมื่อ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะขัดขวางมิให้โจทก์ใช้ทางภาระจำยอมหรือทำให้ทางภาระจำยอมลดน้อยลงหรือทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ทางภาระจำยอมนั้น การที่จำเลยนำเสาไม้มาปัก ย่อมทำให้ทางแคบลง การเทปูนซีเมนต์เพื่อทำให้ทางลาดชันย่อมทำให้การสัญจรผ่านไปมาไม่สะดวก การทำประตูเหล็กปิดกั้นรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออก แม้จำเลยจะอ้างว่าเพื่อตรวจสอบบุคคลที่ไม่มีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมมาใช้ทางดังกล่าวก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก แต่การกระทำของจำเลยเช่นนั้นเห็นได้ชัดว่าโจทก์จะเข้าออกทางภาระจำยอมได้ไม่สะดวกเพราะโจทก์จะต้องคอยขออนุญาตจำเลยเปิดประตูไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางภาระจำยอมได้เต็มตามสิทธิ กรณีถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์พิสูจน์ความผิดจำเลย, พยานหลักฐานสนับสนุนฟ้อง, การใช้กฎหมายอาญาที่เปลี่ยนแปลง
ในคดีอาญาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ เป็นหน้าที่ของโจทก์โดยตรงที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนฟ้องและพิสูจน์ให้ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 จะบัญญัติให้ถ้อยคำของจำเลยหรือผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงพยานหลักฐานของโจทก์อย่างหนึ่งที่จะนำสืบสนับสนุนฟ้องเท่านั้น ทั้งเป็นเพียงพยานบอกเล่าจึงมีน้ำหนักน้อยเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา โจทก์มีหน้าที่จะต้องนำพยานเข้าสืบให้เห็นโดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจริงตามฟ้องลำพังแต่เพียงเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบเมทแอมเฟตามีนที่ตัวจำเลย แม้จะมีจำนวนค่อนข้างมากก็ยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเดินสะพัด, สิทธิโจทก์, การบอกเลิกสัญญา, หักชำระหนี้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ แต่ต้องอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยย่อมเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นคนละเรื่องกัน สำหรับกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นอาจจะมีกำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีก็ได้เช่นให้หักทอนกันทุกวันสิ้นเดือน
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ว่าคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่ต้องสิ้นสุดลงภายใน 6 เดือนตามระยะเวลาที่ต้องหักทอนบัญชีตามมาตรา 858
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่ และจะคิดทบต้นอย่างไร เมื่อตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินดังว่านี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนั้น ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงินแม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม
ชั้นอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ 1,500,000 บาทโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ขอถอนคำแก้อุทธรณ์และถอนฟ้องจำเลยที่ 2พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไปและต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยและกรณีเป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนองคำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นคนละเรื่องกัน สำหรับกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นอาจจะมีกำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีก็ได้เช่นให้หักทอนกันทุกวันสิ้นเดือน
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ว่าคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่ต้องสิ้นสุดลงภายใน 6 เดือนตามระยะเวลาที่ต้องหักทอนบัญชีตามมาตรา 858
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่ และจะคิดทบต้นอย่างไร เมื่อตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินดังว่านี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนั้น ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงินแม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม
ชั้นอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ 1,500,000 บาทโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ขอถอนคำแก้อุทธรณ์และถอนฟ้องจำเลยที่ 2พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไปและต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยและกรณีเป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนองคำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับมอบอำนาจรู้ความผิด ถือว่าโจทก์รู้ด้วย
ร. เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยรู้เรื่องการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69 และ 70 ประกอบมาตรา 30 และ 31 ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ส่วนการตรวจสอบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ซื้อมา ก็เพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ในการฟ้องคดี ไม่ใช่เพื่อให้รู้ถึงการกระทำความผิดเมื่อ ร. มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แทนโจทก์ เช่นเดียวกับผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ ร. ก็ดี ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ก็ดีต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ร. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรกแม้โจทก์จะเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2542 ก็ไม่ทำให้อายุความขยายออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้ยืมปลอม โจทก์ต้องพิสูจน์ความแท้จริงของเอกสาร
โจทก์อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 110,000 บาท แต่จำเลยอ้างว่ากู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารที่แท้จริง เมื่อพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยนำสืบรับฟังได้ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมโดยโจทก์กรอกข้อความภายหลังโจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ใช่การกู้ยืมอำพราง แม้โจทก์ไม่มีสินค้าเป็นของตนเอง
การให้เช่าซื้อเป็นธุรกิจหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในธุรกิจการค้าอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ดังที่ได้ระบุไว้ตามหนังสือรับรอง แม้โจทก์จะไม่มีสินค้าของตนเอง แต่ก็อาจนำเอาสินค้ามาให้ลูกค้าทำการเช่าซื้อได้ โดยทำสัญญาเช่าซื้อกันไว้ล่วงหน้า ให้มีผลบังคับกันได้ ในเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งมิได้มีข้อจำกัดว่าเมื่อไม่มีสินค้าของตนเองแล้วจะประกอบธุรกิจการค้าประเภทนี้ไม่ได้ จำเลยก็ยอมรับข้อเสนอของโจทก์ในอันที่จะผูกพันตนตามสัญญาเช่าซื้อและทราบถึงวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ทั้งยังได้ยอมรับเอาเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งการชำระหนี้อันเป็นผลโดยตรงที่คู่กรณียอมรับนับถือและพึงใช้บังคับต่อกันตามข้อสัญญา สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นนิติกรรมที่ใช้บังคับแก่คู่กรณีได้ มิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นหากทรายชายทะเลชาวบ้านใช้ตากกุ้งและตากปลาอันเป็นการใช้ทรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะเปลี่ยนแปลงสภาพโดยธรรมชาติทะเลตื้นเขินขึ้น แต่ก็เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ตราบใดที่ทางราชการยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ ผู้ใดหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ไม่ เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ยึดถือที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่