คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฉนดที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8007/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องขอห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายที่ไม่ชอบ หากมิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย ย่อมไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายโดยไม่ชอบขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้กระทำการหรือไม่กระทำการ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย จึงขอให้บังคับ เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง คำขอของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชน สันนิษฐานถูกต้อง ผู้กล่าวอ้างต้องพิสูจน์ความไม่ถูกต้อง
สำเนาโฉนดที่ดินที่มีเจ้าหน้าที่ที่ดินรับรองความถูกต้องมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดียว จำเลยย่อมได้รับการสันนิษฐานจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนเดียว การที่โจทก์อ้างว่า ย. มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าโฉนดที่ดินไม่ถูกต้องอย่างไรการที่โจทก์มีเพียงโจทก์ที่ 6 เบิกความว่าทราบเรื่อง ย. ร่วมซื้อที่ดินกับจำเลยเมื่อปี 2524 แต่ก็ได้ความจากที่ทนายโจทก์ทั้งหกถามติงและทนายจำเลยถามค้านว่าตั้งแต่ปี 2524 ย. ไปอยู่บ้านจำเลย โจทก์ที่ 6 ไม่เคยไปบ้านจำเลยดังนั้น โจทก์ที่ 6 อาจไม่ได้พบ ย. เลย ที่โจทก์ที่ 6 เบิกความว่ารู้เรื่อง ย. ร่วมกับจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจึงไม่น่าเชื่อ คำเบิกความนอกจากนั้นเป็นการเบิกความลอย ๆ คำเบิกความของโจทก์ที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าโฉนดที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องจึงต้องฟังตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าโฉนดที่ดินเป็นเอกสารที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินนิคมฯ ไม่ใช่สินสมรสก่อนออกโฉนด คำพิพากษาเดิมใช้บังคับไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้อง ก. ขอหย่าและแบ่งสินสมรส ซึ่งมีที่ดินพิพาทนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี - ลพบุรี จัดสรรให้แก่ ก. สมาชิกนิคมทำประโยชน์รวมอยู่ด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ ก. แบ่งสินสมรส ซึ่งรวมที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง โดยขณะนั้นยังไม่มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแต่อย่างใด เมื่อกรมประชาสงเคราะห์เป็นบุคคลภายนอกคดีย่อมไม่ใช่คู่ความในคดีเดิม ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในบังคับ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ระบุว่า ก่อนมีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วให้ถือว่าบุคคลที่รัฐอนุญาตให้เข้าทำกินมีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์เด็ดขาด แต่กลับมีมาตรา 12 บัญญัติว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยัง สหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ แล้วแต่กรณี" และในวรรคสองบัญญัติว่า "ภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ที่ดินนั้นไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" ดังนั้น ที่ดินพิพาทยังคงเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่ ก. ในขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อ ก. เพิ่งได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์และออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทมาภายหลัง จึงไม่ใช่สินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งรับโอนมรดกจาก ก. ให้แบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ตามคำพิพากษาของศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: การฟ้องขอเพิกถอนโฉนดที่ดิน และการฟ้องจำเลยที่ไม่ดำเนินการเพิกถอน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61(2)การเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและการเพิกถอนโฉนดที่ดิน: ศาลยกฟ้องคดีซ้ำ, จำเลย 2 เพิกเฉยคำร้องเพิกถอนโฉนด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดกลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีกแม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตามแต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61(2) การเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการให้ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ & อำนาจฟ้องเพิกถอนโฉนด: ศาลฎีกาตัดสินคดีที่ดินพิพาท โดยพิจารณาประเด็นฟ้องซ้ำและความชอบด้วยกฎหมายในการเพิกถอนโฉนด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดิน เลขที่ 8430ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตามแต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัด ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61(2) การเพิกถอน โฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะ พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเพิกถอนโฉนดที่ดินทับซ้อน & อำนาจศาลในการพิพากษาห้ามเกี่ยวข้อง
ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างมิได้เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาทต่างถือสิทธิโดยอ้างเพียงเอกสารสิทธิตาม น.ส.3 และโฉนดที่ดินที่ตนมีชื่ออยู่เป็นสำคัญคดีจึงไม่มีปัญหาไปถึงเรื่องการแย่งการครอบครอง ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยย่อมมีอยู่ตลอดไป คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความและไม่ต้องด้วยกรณีห้ามฟ้องเกินกำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
เมื่อศาลฟังว่าโฉนดที่ดินของจำเลยออกทับที่ดินของโจทก์ อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นพิพาทที่ตั้งไว้ และให้เพิกถอนโฉนดส่วนที่ออกทับนั้น ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาห้ามจำเลยเกี่ยวข้องในที่พิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ แม้ศาลจะไม่ได้ตั้งเรื่องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ก็ตาม หาใช่การพิพากษานอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเพิกถอนโฉนดที่ดินไม่ขาดอายุความ หากไม่มีการแย่งการครอบครอง และศาลมีอำนาจพิพากษาห้ามเกี่ยวข้องได้
ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างมิได้เจ้าทำประโยชน์ในที่พิพาทต่างถือสิทธิโดยอ้างเพียงเอกสารสิทธิตาม น.ส.3 และโฉนดที่ดินที่ตนมีชื่ออยู่เป็นสำคัญคดีจึงไม่มีปัญหาไปถึงเรื่องการแย่งการครอบครอง ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยย่อมมีอยู่ตลอดไป คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความและไม่ต้องด้วยกรณีห้ามฟ้องเกินกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง
เมื่อศาลฟังว่าโฉนดที่ดินของจำเลยออกทับที่ดินของโจทก์ อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นพิพาทที่ตั้งไว้ และให้เพิกถอนโฉนดส่วนที่ออกทับนั้น ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาห้ามจำเลยเกี่ยวข้องในที่พิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ แม้ศาลจะไม่ได้ตั้งเรื่องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ก็ตาม หาใช่การพิพากษานอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท แจ้งความเท็จ-ขอคัดสำเนาโฉนดปลอม มีเจตนาเดียวกัน โทษตามบทหนักสุด
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำความผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียว มิใช่หลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนเรื่องโฉนดที่ดินสูญหาย และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสมียนประจำวันสถานีตำรวจเดียวกันจดบันทึกข้อความลงในรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารดังกล่าวสูญหาย เป็นการกระทำในวันเดียวกันและเวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันที่จะขอคัดสำเนาเอาข้อความเท็จนั้นไปแสดงอ้างอิงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อขอรับใบแทนโฉนดที่ดิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม มาตรา 267อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดกก่อนมีโฉนด: สัญญาแบ่งมรดกมีผลผูกพัน แม้มีข้อจำกัดการโอนในโฉนด
สัญญาแบ่งมรดกที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทำขึ้นก่อนมีโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสิทธิของโจทก์ก่อนมีโฉนดที่ดิน แม้ที่ดินโฉนดที่พิพาทมีข้อความระบุว่าห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะไม่ใช่กรณีที่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินแก่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริง
of 21