พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยหน้า 1 ตั้งแต่ข้อ 1 และหน้า 2 มีข้อความเหมือนกับอุทธรณ์ในหน้า 1 ตั้งแต่ข้อ 1 และหน้า 2 ทุกประการ ฎีกาตั้งแต่หน้า 3ถึงหน้า 78 เป็นการถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์หน้า 3 ถึงหน้า 78 คงมีข้อความเพิ่มเติมในหน้า 78 เพียงว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยไม่เห็นด้วย จึงขอฎีกาดังต่อไปนี้ ฎีกาตั้งแต่หน้า 79 ถึงหน้า 102 ก็ถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์ตั้งแต่หน้า 100 ถึงหน้า 123 ส่วนฎีกาหน้า 103 และหน้า 104 แม้จะไม่ได้ถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์หน้า 124 และหน้า 125 โดยตรง แต่ก็มีถ้อยคำสำนวนไม่แตกต่างกัน ฎีกาของจำเลยดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องด้วยกฎหมายกับข้อเท็จจริงอย่างไร และที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชัดเจนและไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยหน้า 1 ตั้งแต่ข้อ 1 และหน้า 2 มีข้อความเหมือนกับอุทธรณ์ในหน้า 1 ตั้งแต่ข้อ 1 และหน้า 2 ทุกประการ ฎีกาตั้งแต่หน้า 3ถึงหน้า 78 เป็นการถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์หน้า 3 ถึงหน้า 78 คงมีข้อความเพิ่มเติมในหน้า 78 เพียงว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ตามฟ้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยไม่เห็นด้วย จึงขอฎีกาดังต่อไปนี้ ฎีกาตั้งแต่หน้า 79 ถึงหน้า 102 ก็ถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์ตั้งแต่หน้า 100ถึงหน้า 123 ส่วนฎีกาหน้า 103 และหน้า 104 แม้จะไม่ได้ถ่ายสำเนามาจากอุทธรณ์หน้า 124 และหน้า 125 โดยตรง แต่ก็มีถ้อยคำสำนวนไม่แตกต่างกัน ฎีกาของจำเลยดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องด้วยกฎหมายกับข้อเท็จจริงอย่างไร และที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย หากไม่โต้แย้งทันที ย่อมถูกตัดสิทธิการอุทธรณ์
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ทนายโจทก์ได้รับสำเนาแล้วแถลงคัดค้านว่าทนายจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ การแถลงคัดค้านของโจทก์ดังกล่าวเป็นการคัดค้านเพื่อประกอบดุลพินิจของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตต่อไปเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวให้ปรากฏไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา153 แต่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้แล้วไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์โจทก์จะถือเอาคำแถลงคัดค้านของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นการโต้แย้งคำสั่งโดยปริยายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลทันที ทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ทนายโจทก์ได้รับสำเนาแล้วแถลงคัดค้านว่าทนายจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ การแถลงคัดค้านของโจทก์ดังกล่าวเป็นการคัดค้านเพื่อประกอบดุลพินิจของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตต่อไปเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวให้ปรากฏไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แต่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้แล้วไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ โจทก์จะถือเอาคำแถลงคัดค้านของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นการโต้แย้งคำสั่งโดยปริยายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน: การโต้แย้งและการประวิงคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยต่อศาลชั้นต้น แต่การที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอีกนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) แล้วจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้
จำเลยขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง โดยมิได้ทำการสืบพยานจำเลยแม้แต่เพียงปากเดียว และเหตุที่ขอเลื่อนมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
จำเลยขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง โดยมิได้ทำการสืบพยานจำเลยแม้แต่เพียงปากเดียว และเหตุที่ขอเลื่อนมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เนื้อหาของฎีกาจำเลยล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัย ของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยจำเลยคัดข้อความมาจาก คำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกา พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลย มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเฉพาะส่วนที่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จึงจะฟ้องคดีได้
ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งจำเลยแต่เพียงค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 369,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้
ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งจำเลยแต่เพียงค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 369,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และประเด็นฎีกาเกินขอบเขตที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นไม่ใช่ศาลแห่งท้องที่ซึ่งพิจารณาออกหมายลดโทษให้แก่จำเลย ตามพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ของจำเลย ชอบที่จำเลยจะไปยื่นคำร้องให้ถูกทาง พิพากษา ยกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นไม่รับคำร้องของ จำเลยไว้พิจารณา การที่จำเลยฎีกาว่าคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ที่ จะได้รับพระราชทานอภัยโทษและศาลแห่งท้องที่ปรับลดโทษ ให้จำเลยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขอให้ศาลฎีกาปรับลดโทษให้ จำเลยใหม่อันเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งเลยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง ด้วยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดเจน: การโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องระบุประเด็นและเหตุผลชัดเจน
ฎีกาของจำเลยบรรยายเพียงว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเรื่องใดบ้างและพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ด้วยเหตุผลใดเนื้อหาสาระในฎีกาก็เหมือนกับที่กล่าวในอุทธรณ์เกือบทั้งหมด เมื่ออ่านฎีกาของจำเลยแล้วไม่อาจทราบได้ว่า ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่าอย่างไร จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อใดตอนใด และข้อที่จำเลยฎีกาเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดพยาน-ชี้สองสถานไม่ใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น หากโจทก์ไม่โต้แย้งทันที ย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มาตรา 24, 226 (2)
ในวันนัดชี้สองสถาน ศาลสอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถาน งดสืบพยานโจทก์จำเลย และให้นัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการสอบถามโจทก์จำเลยเมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลา1 เดือนเศษ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
ในวันนัดชี้สองสถาน ศาลสอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถาน งดสืบพยานโจทก์จำเลย และให้นัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการสอบถามโจทก์จำเลยเมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลา1 เดือนเศษ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)