พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิ, การบอกล้าง/สัตยาบัน, และความรับผิดของคู่กรณี
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า การทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายเงินลงวันที่วันเดียวกับที่จดทะเบียนขายเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินแก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พร้อมทั้งระบุว่าจำเลยที่ 1 ไม่คิดจะชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์และเจตนาตั้งใจจะโกงโจทก์มาตั้งแต่ต้น และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2ทันที โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่า การแสดงเจตนาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่า โจทก์ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 โกงหรือใช้อุบายหลอกลวงโจทก์โดยปกปิดความจริงมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยเจตนาไม่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์พร้อมทั้งจัดการติดต่อขายฝากที่ดินดังกล่าวที่ซื้อจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันจดทะเบียนขายข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ปกปิดนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในคุณสมบัติของจำเลยที่ 1 และถึงขนาดที่ถ้ามิได้มีการปกปิดเช่นนั้น การทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวนั้นก็คงจะมิได้กระทำทำขึ้นฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นโมฆียะ ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว
เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรม ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง
แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้น แต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.ลักษณะ 4ว่าด้วยนิติกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริต เมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน
เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรม ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง
แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้น แต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.ลักษณะ 4ว่าด้วยนิติกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริต เมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดิน: การปกปิดเจตนาโกงและการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า การทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ได้ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายเงินลงวันที่วันเดียวกับที่จดทะเบียนขายเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินแก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พร้อมทั้งระบุว่าจำเลยที่ 1ไม่คิดจะชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์และเจตนาตั้งใจจะโกงโจทก์ มาตั้งแต่ต้น และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายฝาก ที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทันที โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่า การแสดงเจตนาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 โกงหรือใช้อุบายหลอกลวงโจทก์โดยปกปิดความจริงมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยเจตนาไม่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์พร้อมทั้งจัดการติดต่อขายฝากที่ดินดังกล่าวที่ซื้อจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันจดทะเบียนขายข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ปกปิดนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในคุณสมบัติของจำเลยที่ 1 และถึงขนาดที่ถ้ามิได้มีการปกปิดเช่นนั้น การทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวนั้นก็คงจะมิได้กระทำทำขึ้นฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นโมฆียะ ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรมถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา 456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456 ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นแต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่าง จำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริตเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีโต้แย้งสิทธิในที่ดินจากการโอนที่ดินโดยไม่ชอบ และผลกระทบต่อผู้มีสิทธิในมรดก/สินสมรส
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของ ส.และ น. ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ส.กับ น.โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทจึงมีส่วนได้เสียในที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ฟ้อง ค.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ให้โอนที่ดินหลายแปลงเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลแพ่งแล้วจำเลยที่ 1 กับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดย ค.ตกลงโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ตามฟ้องรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีนี้ด้วย และในการทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความในคดีดังกล่าว ค.มิได้แยกที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของ น.ออกก่อนน.และโจทก์ทั้งสามจึงได้ยื่นฟ้อง ค.ขอให้แบ่งสินสมรสและขอให้แบ่งมรดกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10864/2534 ของศาลแพ่ง และ น.ได้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ค.ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นสินสมรสของ น.เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16824/2534 ของศาลแพ่ง ในระหว่างดำเนินคดีดังกล่าว ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้ ค.ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ค.ไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ศาล ศาลแพ่งจึงมีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินสังกัดจำเลยที่ 10 ให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์โจทก์ทั้งสามคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าออกใบแทนไม่ได้เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์มิได้สูญหายไป แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ยังฝ่าฝืนออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง ๆ ที่ปิดประกาศไม่ครบกำหนดและไม่ได้ปิดประกาศในที่ดินพิพาททุกแปลงอันเป็นการไม่ชอบ แล้วโอนให้จำเลยที่ 1 เสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 รู้ว่าโจทก์ทั้งสามและ น.ได้ฟ้องค.ขอแบ่งสินสมรสและแบ่งมรดก และได้ฟ้องคดีขอให้มีคำพิพากษาว่าสัญญาประนี-ประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ค.ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523ของศาลแพ่ง ไม่มีผลผูกพันสินสมรสของ น. ทั้งนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 สมคบกันกระทำเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสามได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสามถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของนายสดที่โจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ในการออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 ที่สมคบกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันนั้นทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย คำพิพากษาและการบังคับคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามในคดีนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการตั้งประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิทางปกครองต้องเกิดจากผู้มีอำนาจวินิจฉัยในชั้นปกครอง และต้องผ่านกระบวนการจนถึงที่สุด
ความเห็นของ ว.เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าไม่สามารถจดทะเบียนให้แก่โจทก์และสมาชิกได้นั้น เมื่อ ว.เป็นเพียงข้าราชการในสังกัดกรมจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยในชั้นปกครอง ทั้งโจทก์ยังมิได้ยื่นคำขอเพื่อดำเนินการตามกระบวนการทางฝ่ายปกครองจนถึงที่สุด ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าฝ่ายปกครองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน - การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ - การโต้แย้งสิทธิ - อำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ มิใช่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัว และการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ในที่พิพาทมีผู้ครอบครองมาตั้งแต่ก่อนใช้ ป.ที่ดิน แต่มิได้แจ้งการครอบครอง รวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวจนถึงโจทก์โดยที่รัฐยังมิได้เข้าไปจัดที่ดิน ย่อมยังมีสิทธิครอบครองอยู่ โจทก์มีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ จำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โต้แย้งว่าที่พิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ให้งดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ จำเลยจึงชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ได้
ที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ในที่พิพาทมีผู้ครอบครองมาตั้งแต่ก่อนใช้ ป.ที่ดิน แต่มิได้แจ้งการครอบครอง รวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวจนถึงโจทก์โดยที่รัฐยังมิได้เข้าไปจัดที่ดิน ย่อมยังมีสิทธิครอบครองอยู่ โจทก์มีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ จำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โต้แย้งว่าที่พิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ให้งดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ จำเลยจึงชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน – การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ – เขตอุทยานฯ – การโต้แย้งสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มิใช่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วโจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติในที่พิพาทมีผู้ครอบครองมาตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแต่มีได้แจ้งการครอบครองรวมทั้งผู้ครอบครองต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวจนถึงโจทก์โดยที่รัฐยังมิได้เข้าไปจัดที่ดินย่อมยังมีสิทธิครอบครองอยู่โจทก์มีสิทธิขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้จำเลยเป็นนายอำเภอผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โต้แย้งว่าที่พิพาทอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติให้งดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เมื่อปรากฎว่าที่พิพาทมิได้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติจำเลยจึงชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินและการฟ้องขับไล่ ศาลควรสืบพยานเพื่อพิสูจน์สิทธิที่แท้จริง
โจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจากบิดาโจทก์ แต่จำเลยยื่นหนังสือคัดค้านโดยอ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลย แม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 60 แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินของจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือคัดค้านที่มีข้อความระบุว่าจำเลยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามเอกสารแนบท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง และโจทก์ได้ขอให้บังคับจำเลยและบริวารมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ซึ่งย่อมมีความหมายรวมถึงการที่จำเลยไปคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ด้วย ซึ่งหากโจทก์ชนะคดี ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องนั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสิทธิในที่ดิน: การคัดค้านการออกโฉนดถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ การฟ้องขับไล่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจากบิดาโจทก์แต่จำเลยยื่นหนังสือคัดค้านโดยอ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยแม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือคัดค้านที่มีข้อความระบุว่าจำเลยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามเอกสารแนบท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องและโจทก์ได้ขอให้บังคับจำเลยและบริวารมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งย่อมมีความหมายรวมถึงการที่จำเลยไปคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ด้วยซึ่งหากโจทก์ชนะคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องนั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่คลาดเคลื่อนเป็นเหตุให้สิทธิในทรัพย์สินลดลง ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์
การที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนในการซื้อขายว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ยังคงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่อีกโดยไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย เพราะทำให้กรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองในโฉนดที่ดินดังกล่าวลดลงไปจากความเป็นจริงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ดำเนินการแก้ไขการจดทะเบียนนิติกรรมที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงไม่ใช่อายุความ 1 ปี ในเรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดในการส่งมอบทรัพย์ที่ขาดตกบกพร่อง
โจทก์ฟ้องขอให้ดำเนินการแก้ไขการจดทะเบียนนิติกรรมที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงไม่ใช่อายุความ 1 ปี ในเรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดในการส่งมอบทรัพย์ที่ขาดตกบกพร่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโต้แย้งสิทธิเจ้าของทรัพย์สิน การฟ้องร้องนอกชั้นบังคับคดีไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าในคดีก่อนศาลพิพากษาให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ให้จำเลยตามส่วนที่ได้รับตามคำพิพากษาแต่มิได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของโจทก์ที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินมาขายทอดตลาดจึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์นั้นเป็นคำฟ้องที่โต้แย้งเกี่ยวกับการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีโจทก์จะอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของโจทก์และโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่โจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336หาได้ไม่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง