พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องคดียาเสพติด: ไม่ต้องระบุข้อยกเว้น หรือคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ในฟ้องก็สมบูรณ์ และศาลหยิบยกมาตรา 91 มาปรับโทษได้
การฟ้องคดีฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 66 ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความที่ว่า "ซึ่งไม่ใช่กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะอนุญาตเป็นหนังสือ" ไว้ในฟ้อง หรือคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายไว้ในฟ้อง ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
โจทก์ระบุในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน ซึ่งตรงกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91แม้โจทก์มิได้ระบุมาตราดังกล่าวไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นบทมาตราที่ยกขึ้นปรับเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรมซึ่งมิใช่บทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติถึงฐานความผิดหรือองค์ประกอบแห่งการกระทำความผิดที่จะลงโทษจำเลยตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)บัญญัติให้โจทก์ต้องอ้างถึง
โจทก์ระบุในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน ซึ่งตรงกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91แม้โจทก์มิได้ระบุมาตราดังกล่าวไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นบทมาตราที่ยกขึ้นปรับเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรมซึ่งมิใช่บทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติถึงฐานความผิดหรือองค์ประกอบแห่งการกระทำความผิดที่จะลงโทษจำเลยตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)บัญญัติให้โจทก์ต้องอ้างถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการคุมความประพฤติและการเปลี่ยนแปลงโทษ กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วถือเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่ใส่ใจในการปฏิบัติตามข้อกำหนด อันเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขการคุมความประพฤติ จึงให้ยกเลิกการคุมความประพฤติและเปลี่ยนโทษจากการรอการลงโทษจำคุกเป็นไม่รอการลงโทษ เมื่อจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคสอง จำเลยจะฎีกาไม่ได้ ทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ดังเช่นคดีอาญาทั่ว ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้อาวุธเทียม การพิจารณาโทษตามมาตรา 276 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยและผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุเกินสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีโดยจำเลยขับรถพาผู้เสียหายไป เมื่อจำเลยจอดรถแล้วบังคับให้ผู้เสียหายถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอดจำเลยบอกว่าหากไม่ถอดจะยัดเยียดข้อหายาบ้าให้และต่อมาจำเลยหยิบอาวุธปืนมาขู่ ผู้เสียหายเกิดความกลัวจึงยอมให้จำเลยกระทำชำเรา แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายไม่ให้ขัดขืนจนผู้เสียหายเกิดความกลัวเท่านั้น ส่วนอาวุธปืนที่ใช้ขู่ โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเป็นอาวุธปืนตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ หรือไม่ และตามผลการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่าอาวุธปืนของกลางเป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนพกอัดลมชนิดใช้ยิงกับลูกกระสุนพลาสติกทรงกลมขนาด 6 มม. ซึ่งใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุไม่ได้ มิใช่อาวุธปืนตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคหนึ่ง มิใช่วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาและการริบยาเสพติดให้โทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 8 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 13 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 6 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้โทษเฉพาะในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจากโทษ จำคุก 8 ปี เป็นจำคุก 5 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน เป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อย ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ความผิดแต่ละกระทงดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 หนักขึ้นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาโต้แย้ง ดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 มิได้บัญญัติให้ริบยาเสพติดให้โทษให้แก่กระทรวงสาธารณสุขการริบบรรดายาเสพติดให้โทษตามมาตรา 102 ศาลจึงกล่าวแต่เพียงว่าให้ริบยาเสพติดให้โทษเท่านั้น โดยไม่ต้องกล่าวว่า ริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุข
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 มิได้บัญญัติให้ริบยาเสพติดให้โทษให้แก่กระทรวงสาธารณสุขการริบบรรดายาเสพติดให้โทษตามมาตรา 102 ศาลจึงกล่าวแต่เพียงว่าให้ริบยาเสพติดให้โทษเท่านั้น โดยไม่ต้องกล่าวว่า ริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีอาญา: ผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมและความร้ายแรงของโทษ
จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จซึ่งเป็นข้อสำคัญในคดีในการพิจารณาคดีอาญา การกระทำของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ผู้กระทำความผิดในคดีอาญาหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาได้ นับเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายและทำให้เกิดความเสียหายแก่กระบวนการยุติธรรมของรัฐเป็นอย่างยิ่ง พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบและมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลที่คิดจะกระทำการเช่นจำเลยสมควรลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายและการกระทำโดยบันดาลโทสะ ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและเหตุผลในการทำร้ายร่างกายเพื่อตัดสินโทษ
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยใช้มือตบหน้าเพียง 2 ครั้งส่วนการที่กระดูกต้นแขนซ้ายของผู้เสียหายหักอาจเกิดจากผู้เสียหายวิ่งล้มลง มิได้เกิดจากจำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของจำเลยดังกล่าวมากน้อยเพียงใด จึงฟังได้เพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 และการที่ผู้เสียหายตะโกนด่าถึงมารดาจำเลยว่ามารดาจำเลยเป็นโสเภณีและถึงแก่กรรมด้วยโรคเอดส์ เป็นการกล่าวหาว่ามารดาจำเลยสำส่อนทางเพศ ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม การที่จำเลยตบหน้าผู้เสียหาย 2ครั้ง ในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ซึ่งศาลฎีกาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการลงโทษจำเลยในคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การพิจารณาโทษที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
จำเลยซึ่งมีอายุกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี มีถิ่นที่อยู่ปกติตามสำเนาทะเบียนบ้านและในท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดอยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ซึ่งไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ดังกล่าว ดังนั้นคดีนี้จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จึงไม่อาจนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 107 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ.มาตรา 29 , 30 จึงชอบแล้ว
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จึงไม่อาจนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 107 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ.มาตรา 29 , 30 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความประมาทในการขับรถจักรยานยนต์ และการพิจารณาโทษที่เหมาะสมตามพฤติการณ์
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยมาเหมาะสมแก่พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยแล้วหรือไม่ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษ จำเลยตามสภาพความผิด ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์อายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำให้ไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277
ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย บัญญัติว่า "...และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกันผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำผิดนั้นไป" หมายความว่า ชายหรือหญิงมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะสมรสกันจึงจะต้องขออนุญาตต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 แต่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ได้จดทะเบียนสมรสกันในเวลาต่อมา ย่อมเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ต้องขออนุญาตต่อศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือตักเตือนต้องระบุความผิดและโทษ หากไม่ชัดเจนถือไม่ได้ว่าเป็นการเตือนตามกฎหมาย และการเลิกจ้างแม้จะเป็นเพราะไม่ผ่านทดลองงาน ก็ถือเป็นการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)ไม่ได้กำหนดแบบของหนังสือตักเตือนไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบและข้อความเป็นอย่างไร แต่หนังสือตักเตือนก็จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างมิให้กระทำผิดซ้ำอีก หากกระทำจะถูกลงโทษแต่หนังสือของจำเลยปรากฏหัวข้อหนังสือว่าเป็นเรื่องการทดลองงานกล่าวถึงผลการทดลองงานว่าโจทก์มีความบกพร่องในการทำงาน เช่น ลากิจลาป่วย และมาสายบ่อยในระหว่างทดลองงานซึ่งเป็นลักษณะตำหนิการทำงาน แล้วจำเลยให้ทดลองงานต่ออีก 2 เดือน มิได้มีข้อความกล่าวถึงว่าการกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นการกระทำผิดใดซึ่งหากกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกจะถูกลงโทษอย่างไรจึงมิใช่หนังสือตักเตือนตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสองบัญญัติว่า การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างพ้นจากการเป็นพนักงานแม้จะเป็นเพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสองบัญญัติว่า การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างพ้นจากการเป็นพนักงานแม้จะเป็นเพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง