พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, สิทธิโบนัส, และอัตราดอกเบี้ยค่าเสียหายตามกฎหมายแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่ง
ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานเพราะเป็นการเลิกจ้างตามมติที่ประชุมคณะกรรมการของจำเลยเนื่องจากโจทก์มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการพนักงานของจำเลยเพราะโจทก์สร้างความขัดแย้งแตกแยกในหมู่พนักงาน จึงไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้น ตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว อ้างว่าสาเหตุที่เลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบว่าด้วยการพนักงานของจำเลยดังกล่าวแต่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่มีความผิดในการปฏิบัติหน้าที่หรือมีความประพฤติเสียหายอันจะถือได้ว่ามีเหตุผลสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้เช่นนี้ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ในปี 2536 โจทก์ทำงานกับจำเลยเต็มปีทางบัญชี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามระเบียบวาระการประชุมกรรมการดำเนินการซึ่งจำเลยกำหนดจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปี ได้รับเต็มจำนวนหมายถึง เท่ากับเงินเดือน 1 เดือน จำเลยต้องจ่ายเงินโบนัสสำหรับปี 2536 ให้แก่โจทก์จำนวน 18,140 บาท ส่วนจะได้รับเท่าใดนั้น ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การที่จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปีได้รับเต็มจำนวนคือ เงินเดือน 1 เดือน เมื่อระเบียบวาระการประชุมกรรมการดำเนินการระบุว่า พนักงานเต็มปี 53.08 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน538,273.61 บาท หมายถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปี ได้รับเต็มจำนวนคือ 53.08 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน 1 เดือน หาใช่หมายถึงได้รับเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสปี 2536 จำนวน 53.08เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือนจำนวน 1 เดือน เท่านั้น คือ 18,140 บาท คิดเป็นเงิน 9,628.71 บาท
ความในข้อ 31 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ที่กำหนดว่าถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี บทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเรื่องค่าเสียหายที่นายจ้างจะต้องจ่ายระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีไม่
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 มิได้บัญญัติกำหนดอัตราดอกเบี้ยของค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไว้ กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 224ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป ที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในส่วนค่าเสียหายได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
ในปี 2536 โจทก์ทำงานกับจำเลยเต็มปีทางบัญชี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามระเบียบวาระการประชุมกรรมการดำเนินการซึ่งจำเลยกำหนดจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปี ได้รับเต็มจำนวนหมายถึง เท่ากับเงินเดือน 1 เดือน จำเลยต้องจ่ายเงินโบนัสสำหรับปี 2536 ให้แก่โจทก์จำนวน 18,140 บาท ส่วนจะได้รับเท่าใดนั้น ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การที่จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปีได้รับเต็มจำนวนคือ เงินเดือน 1 เดือน เมื่อระเบียบวาระการประชุมกรรมการดำเนินการระบุว่า พนักงานเต็มปี 53.08 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน538,273.61 บาท หมายถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานครบ 1 ปี ได้รับเต็มจำนวนคือ 53.08 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน 1 เดือน หาใช่หมายถึงได้รับเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสปี 2536 จำนวน 53.08เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือนจำนวน 1 เดือน เท่านั้น คือ 18,140 บาท คิดเป็นเงิน 9,628.71 บาท
ความในข้อ 31 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ที่กำหนดว่าถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี บทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเรื่องค่าเสียหายที่นายจ้างจะต้องจ่ายระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีไม่
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 มิได้บัญญัติกำหนดอัตราดอกเบี้ยของค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไว้ กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 224ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป ที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในส่วนค่าเสียหายได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โบนัสพนักงาน: เหตุผลการไม่จ่ายต้องอ้างอิงช่วงเวลาประเมินผล
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสกำหนดให้การประเมินผลพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยคิดจากผลงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน2536 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2537 ซึ่งระหว่างวันเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย หรือมีเหตุอื่นอันสมควรที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับเงินโบนัส จำเลยจะนำเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดโดยเล่นการพนันเมื่อวันที่ 17พฤศจิกายน 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากการคิดประเมินผลพนักงานดังกล่าวแล้วมาอ้างเป็นเหตุว่าโจทก์ไม่ควรมีสิทธิได้รับเงินโบนัสไม่ได้
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องที่ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดต่อปี ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องที่ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดต่อปี ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายโบนัสพิจารณาจากผลงานย้อนหลัง การกระทำผิดหลังประเมินผลไม่เป็นเหตุให้ไม่จ่ายโบนัส
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสกำหนดให้การประเมินผลพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยคิดจากผลงานตั้งแต่วันที่1พฤศจิกายน2536ถึงวันที่30ตุลาคม2537ซึ่งระหว่างวันเวลาดังกล่าวไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือมีเหตุอื่นอันสมควรที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสจำเลยจะนำเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดโดยเล่นการพนันเมื่อวันที่17พฤศจิกายน2537ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากการคิดประเมินผลพนักงานดังกล่าวแล้วมาอ้างเป็นเหตุว่าโจทก์ไม่ควรมีสิทธิได้รับเงินโบนัสไม่ได้ ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องที่ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดต่อปีศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7327/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธินายจ้างกำหนดโบนัสตามผลประกอบการ และเจตนาของข้อตกลงระยะสั้น
ข้อตกลงในคำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ 39/2519ข้อ 2 ซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ทุกคนกับจำเลยทั้งสองตลอดมานับแต่ปี 2519 จนถึงปัจจุบันประกอบด้วยสาระสำคัญสองส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างปีละครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียวมีสิทธิกำหนด จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผลประกอบการของจำเลยทั้งสองเป็นรายปี การจ่ายเงินโบนัสจึงมีลักษณะเฉพาะตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในแต่ละปีไป หาได้มีบทบังคับจำเลยทั้งสองให้ต้องจ่ายเงินโบนัสเท่ากันทุกปีไม่ จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสของปีที่ผ่านมาใช้แก่การจ่ายเงินโบนัสในปีต่อไปได้เว้นแต่จำเลยทั้งสองและลูกจ้างจะตกลงให้เป็นเช่นนั้น และแต่ละปีที่ผ่านมามีการจ่ายเงินโบนัสไม่เท่ากันตามความแตกต่างของหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสของปีนั้น ๆ ที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด เมื่อปรากฏว่าผลประกอบการของจำเลยทั้งสองในปี 2536 อยู่ในระดับต่ำกว่าผลประกอบการในปี 2535 จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างในปี 2536 น้อยกว่าที่เคยจ่ายในปี 2535 ได้ ที่จำเลยทั้งสองกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 โดยจ่ายเพียงอัตราร้อยละ 50 ของการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 จึงเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้ จะถือว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดข้อตกลงที่ทำกับผู้แทนสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมผ้าห่มไทยและสิ่งทอฉบับลงวันที่ 22 มกราคม 2537ข้อ 5 ที่กำหนดว่า สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ที่ฝ่ายจำเลยทั้งสองเคยให้แก่ลูกจ้างจำเลยทั้งสองจะปฏิบัติต่อไปตามเดิมทุกประการ หาได้ไม่ เพราะข้อตกลงนี้กำหนดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ 39/2519 ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้วโดยจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 ให้แก่ลูกจ้างเช่นทุกปีที่ผ่านมาตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณที่จำเลยทั้งสองได้กำหนดขึ้น
สำหรับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดดังกล่าวในส่วนที่สองเป็นการกำหนดว่าหลังจากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิวางหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปีแล้ว จำเลยทั้งสองต้องมีหน้าที่ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวนั้นให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสไม่น้อยกว่าสองเดือน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิของตนในการรับเงินโบนัสแต่ละปีว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด การประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสจึงมีผลเพียงว่า ทำให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบถึงสิทธิในการรับเงินโบนัสของแต่ละปีเท่านั้น หามีผลกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างในการรับเงินโบนัสไม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสแต่อย่างใด ซึ่งปรากฏว่าในแต่ละปีที่ผ่านมาจำเลยทั้งสองไม่เคยประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบเลย แต่จำเลยทั้งสองก็ได้จ่ายเงินโบนัสให้ทุกปี และลูกจ้างก็ยอมรับมาโดยตลอด
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา12 วรรคสอง มีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยทั่วไปเท่านั้นหามีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงที่มีเจตนาให้ใช้บังคับชั่วระยะเวลาหนึ่งเวลาใดไม่เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสประจำปีมีลักษณะเฉพาะให้ใช้บังคับในแต่ละปีไป จึงไม่อาจนำบทกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในเรื่องการจ่ายเงินโบนัสเพื่อให้มีผลต้องนำหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 แต่ประการใด
สำหรับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดดังกล่าวในส่วนที่สองเป็นการกำหนดว่าหลังจากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิวางหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปีแล้ว จำเลยทั้งสองต้องมีหน้าที่ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวนั้นให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสไม่น้อยกว่าสองเดือน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิของตนในการรับเงินโบนัสแต่ละปีว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด การประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสจึงมีผลเพียงว่า ทำให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบถึงสิทธิในการรับเงินโบนัสของแต่ละปีเท่านั้น หามีผลกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างในการรับเงินโบนัสไม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสแต่อย่างใด ซึ่งปรากฏว่าในแต่ละปีที่ผ่านมาจำเลยทั้งสองไม่เคยประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบเลย แต่จำเลยทั้งสองก็ได้จ่ายเงินโบนัสให้ทุกปี และลูกจ้างก็ยอมรับมาโดยตลอด
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา12 วรรคสอง มีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยทั่วไปเท่านั้นหามีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงที่มีเจตนาให้ใช้บังคับชั่วระยะเวลาหนึ่งเวลาใดไม่เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสประจำปีมีลักษณะเฉพาะให้ใช้บังคับในแต่ละปีไป จึงไม่อาจนำบทกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในเรื่องการจ่ายเงินโบนัสเพื่อให้มีผลต้องนำหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10133/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญญาจ้างและข้อตกลงการจ่ายโบนัส จำเป็นต้องมีพยานบุคคลยืนยันความแท้จริงของเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษตามสัญญาว่าจ้างที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงาน โครงการก่อสร้างวางท่อก๊าซธรรมชาติที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับงานก่อสร้างมาจาก ก.จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์เป็นเพียงถูกยืมชื่อให้มาเป็นคู่สัญญากับจำเลย คู่สัญญากับจำเลยที่แท้จริงและผู้ที่ทำงานให้แก่จำเลยคือ ซ. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานและจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษให้โจทก์ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว การที่คู่ความฝ่ายใดจะอ้างอิงเอกสารใดเป็นพยานหลักฐานในคดี คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องนำพยานบุคคลมาสืบประกอบถึงความแท้จริงและความมีอยู่ซึ่งเอกสารนั้น ๆ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่า เอกสารที่อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารโต้ตอบทางโทรสารทางไกลจากต่างประเทศซึ่งทั่วโลกยอมรับฟังให้เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลมานำสืบนั้น จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกเอง vs. การเลิกจ้าง และดุลพินิจการจ่ายโบนัส
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในข้อ 46 วรรคแรกว่า "ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง..." หมายความว่า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ดังนี้ การที่โจทก์ลูกจ้างมีหนังสือถึงจำเลยนายจ้างอ้างถึงสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย และมีข้อความตอนหนึ่งว่า "ผม (หมายถึงโจทก์)จะไม่ต่อสัญญา ผมจึงพร้อมที่จะไปจากที่ทำงานในวันหมดอายุของสัญญา..."ซึ่งข้อความดังกล่าวแสดงว่า โจทก์จะไม่ทำงานให้จำเลยต่อไปเมื่อครบอายุสัญญาถือได้ว่าโจทก์ขอลาออกเอง จำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แม้ในหนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยนั้นจะได้เรียกร้องค่าชดเชยด้วย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด
เงินโบนัสมิใช่เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้ เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงาน จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว การที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปี และปี 2536 ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้น เมื่อการประเมินผลงานในปี 2537 ปีที่พิพาทกัน โจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมาก การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือน ในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
เงินโบนัสมิใช่เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้ เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงาน จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว การที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปี และปี 2536 ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้น เมื่อการประเมินผลงานในปี 2537 ปีที่พิพาทกัน โจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมาก การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือน ในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกเอง vs. การเลิกจ้าง และดุลพินิจการจ่ายโบนัส
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในข้อ46วรรคแรกว่า"ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง"หมายความว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างดังนี้การที่โจทก์ลูกจ้างมีหนังสือถึงจำเลยนายจ้างอ้างถึงสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยและมีข้อความตอนหนึ่งว่า"ผม(หมายถึงโจทก์)จะไม่ต่อสัญญาผมจึงพร้อมที่จะไปจากที่ทำงานในวันหมดอายุของสัญญา"ซึ่งข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จะไม่ทำงานให้จำเลยต่อไปเมื่อครบอายุสัญญาถือได้ว่าโจทก์ขอลาออกเองจำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์แม้ในหนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยนั้นจะได้เรียกร้องค่าชดเชยด้วยก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด เงินโบนัสมิใช้เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปีซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงานจึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวการที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปีและปี2536ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้นเมื่อการประเมินผลงานในปี2537ปีที่พิพาทกันโจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมากการที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือนในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนจึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: คำสั่งลงโทษทางวินัยชอบแล้ว การเรียกร้องค่าจ้างและโบนัสจึงเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่จำเลยสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนโจทก์โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานและกฎหมายศาลฎีกาพิพากษาว่าคำสั่งของจำเลยที่สั่งลงโทษโจทก์ชอบแล้วการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่โดยขอให้จำเลยจ่ายเงินเดือนที่ถูกลดไปตามคำสั่งดังกล่าวและเงินโบนัสที่จำเลยไม่ได้จ่ายให้โจทก์เนื่องมาจากการที่โจทก์ถูกลงโทษตามคำสั่งนั้นซึ่งโจทก์อาจเรียกร้องให้พิจารณาถึงสิทธิดังกล่าวได้ในคดีเดิมอยู่แล้วคดีนี้จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิมเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โบนัสจากการจัดหางานถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน แม้เรียกต่าง
สัญญาจ้างระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือนเงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความ-พยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2
เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนจากการจัดหางาน โบนัส ถือเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้เรียกชื่ออื่น
ตามสัญญาจ้างมีข้อตกลงว่า นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้วเมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำมาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรงแม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัสก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2