คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เครื่องจักรโอนแล้ว สัญญาประกันภัยจึงสิ้นผล
เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงเลื่อยจักร โดยสภาพแล้วเป็นสังหาริมทรัพย์มิใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นโรงเลื่อย อันจะเป็นส่วนควบของโรงเลื่อยและเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องจักรที่เอาประกันภัยไว้ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514 การซื้อขายเครื่องจักรจึงสมบูรณ์เมื่อโจทก์กับ น.ได้ตกลงซื้อขายกัน กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ขายย่อมโอนไปยัง น.ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ.มาตรา458 แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายจะกำหนดให้การซื้อขายจะต้องไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้ออีก ก็หาทำให้การซื้อขายเครื่องจักรซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไม่
เมื่อกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้ตกไปเป็นของ น.แล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 863

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา 3,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทมาโดยตลอดเป็นการครอบครองเพื่อตน จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกที่เป็นโมฆะและการฟ้องเอาคืนทรัพย์สินจากผู้รับโอนที่ไม่มีสิทธิ
การห้ามฟ้องบุพการีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1562 เป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์ทั้งสามผู้เป็นบุตรกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบิดาเท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ปัญหาเรื่องโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกเรื่องห้ามฟ้องจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมของ ห.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ ตามมาตรา1722 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.โอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัว โดยจำเลยที่ 1 มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมของ ห.เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ห.ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามมาตรา 1722 จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำนิติกรรม ต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นกองมรดกของ ห.อยู่ หาตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวไม่ สำหรับบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ย่อมตกได้แก่โจทก์ทั้งสามผู้รับพินัยกรรมด้วย
จำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากและรับโอนชื่อทางทะเบียนในที่ดินพิพาทพร้อมบ้านไว้จากจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิจะขายฝากได้ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมขายฝาก
โจทก์ทั้งสามฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จะนำอายุความตามมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ที่ดินที่โอนชื่อแต่ยังเป็นของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องได้
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวแต่ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือสิทธิในที่ดินแทน ต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา109 (1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจรวบรวมที่ดินดังกล่าวไว้ในกองทรัพย์สินของผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินมิให้จำหน่ายโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ใดจนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเป็นวิธีการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์วิธีหนึ่งตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ หากผู้มีชื่อถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ทำการโอนที่ดินนั้นไปยังบุคคลอื่นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22, 24 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483การโอนย่อมตกเป็นโมฆะและใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การอายัดที่ดินที่ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือครองอยู่
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว แต่ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือสิทธิในที่ดินแทนที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 109(1)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินมิให้จำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ใดจนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้โดยไม่จำต้องทำการเพิกถอนการโอนก่อน หากผู้มีชื่อถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ทำการโอนที่ดินนั้นไปยังบุคคลอื่นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22,24แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ การโอนย่อมตกเป็นโมฆะและใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยอำพรางนิติกรรมและข้อยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร
ที่พิพาทเป็นของมารดาโจทก์ แต่ใส่ชื่อ ก. พี่ชายโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมายกให้โจทก์โดยเสน่หาด้วยการจดทะเบียนโอนเป็นซื้อขายอำพรางนิติกรรมการให้เพื่อหลบเลี่ยงเจ้าหนี้ของผู้โอน อันมิใช่เป็นการทำโดยมุ่งค้าหากำไร การที่โจทก์นำไปจำนองหรือได้เสนอขายหน่วยราชการต่าง ๆ ก่อนขายให้การเคหะแห่งชาติล้วนเป็นการกระทำภายหลังจากได้ที่พิพาทแล้วจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อได้มาโดยมุ่งค้าหากำไร เมื่อโจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และการที่โจทก์ขายที่พิพาทให้การเคหะแห่งชาติเป็นการขายทั้งแปลงเพราะต้องการขายทั้งหมดก็มิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 การนำสืบพยานบุคคลในเรื่องการจดทะเบียนซื้อที่พิพาทว่าเป็นการถือกรรมสิทธิแทน และการจดทะเบียนซื้อขายเป็นการให้โดยเสน่หา ทั้งสองกรณีเป็นเรื่องที่นำสืบว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง อุทธรณ์จำเลยที่ว่า โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีเงินได้เพราะโจทก์นำเงินได้จากการขายที่ดินไปหาส่วนเฉลี่ยแล้วนำไปขอยกเว้นเป็นรายบุคคล ซึ่งตามประมวลรัษฎากรจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดไปขอยกเว้นโดยไม่แบ่งเฉลี่ย เป็นข้อที่จำเลยมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว เพราะจำเลยให้การต่อสู้ในศาลชั้นต้นเพียงว่า เงินได้ของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น อันหมายถึงว่าไม่ได้รับยกเว้นเพราะโจทก์ได้ทรัพย์สินมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าโจทก์มิได้ยื่นขอยกเว้นโดยถูกต้อง จึงไม่ได้รับยกเว้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการโอนที่ดินตามมาตรา 31 ประมวลกฎหมายที่ดิน: การโอนหลังบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
การใดที่เป็นเหตุให้ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497มาตรา 31 วรรคหนึ่ง จะต้องโอนไปและการนั้นมิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ย่อมไม่อาจโอนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยการนั้นได้ในทุกกรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินที่บังคับคดีได้ แม้มีข้อจำกัดในการโอน หากผู้ให้เช่ายินยอม
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน แม้ตามสัญญาระหว่างจำเลยผู้เช่ากับวัดผู้ใช้เช่า จะห้ามมิให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าไปยังบุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจากวัด ก็ไม่ใช่ทรัพย์สิน ที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย เพราะหากวัดผู้ให้เช่ายินยอมก็สามารถ โอนกันได้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าเป็นทรัพย์ที่ไม่อยู่ ในความรับผิดแห่งการบังคดีดังนั้น สิทธิการเช่าของจำเลยจึงมิใช่ ทรัพย์ที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้ยังมิได้จดทะเบียน สัญญาครอบคลุมถึงผู้รับโอน
จำเลยทำสัญญายอมให้ น. ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ แม้จะยังไม่มีการจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ตาม แต่เมื่อสัญญามิได้ระบุไว้ว่าให้เกิดเป็นประโยชน์ทางภาระจำยอมเฉพาะ น. เท่านั้นแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการก่อให้เกิดภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของ น.อันเป็นสามยทรัพย์ เมื่อ น. ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์แก่โจทก์แล้วภาระจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1393 วรรคแรกโจทก์ผู้รับโอนสามยทรัพย์ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่จาก น.ดังนั้นเมื่อจำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์ และในฐานะเป็นคู่สัญญาโดยตรงให้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดของผู้รับอาวัล
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บ. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดเปลี่ยนมือไม่ได้ให้แก่บริษัท ส. จำเลยลงชื่อเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต่อมาบริษัท ส. ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ออกตั๋วแล้วเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก มาตรา 917 วรรคสองประกอบมาตรา 985 วรรคแรก โจทก์จึงเป็นผู้รับโอนโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยซึ่งเป็นผู้รับอาวัลตั๋วจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
of 14