พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าถูกฉ้อฉลจริง พยานหลักฐานต้องน่าเชื่อถือ
โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าถูกจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลให้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แต่พยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง โจทก์ย่อมต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9062/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้าง, ค่าแห่งการงาน, การชดใช้ค่าเสียหาย, และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนกันในการสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการสร้างอาคาร ต่อมาสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกโดยปริยาย คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ต้องคืนที่ดินแก่โจทก์ ส่วนเงินค่าก่อสร้างบ้านที่โจทก์เป็นผู้ชำระมิใช่ค่าการงานที่จำเลยที่ 1 ได้ทำให้แก่โจทก์อันโจทก์จะต้องรับผิด กับค่าตอกเสาเข็มที่จำเลยที่ 1 กระทำไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ในการที่โจทก์จะสร้างอาคารใหม่ จึงไม่ใช่การงานที่ควรค่าอันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้เงินเป็นค่าแห่งการงานตอกเสาเข็มแก่จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ทางค้าหรือหากำไรจากสัญญาเช่าและการโอนกรรมสิทธิ์อาคารเข้าข่ายต้องเสียภาษี
โจทก์เช่าที่ดินจาก ร.โดยร. ตกลงให้โจทก์สร้างอาคารบนที่ดินที่เช่าและให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ร. ทันทีที่ลงมือปลูกสร้างแล้วโจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปให้เช่าจนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า23 ปี การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิตามสัญญาเช่าปลูกสร้างอาคารไว้ในที่ดินที่เช่า บรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆจึงมิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 146 ร. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามมาตรา 144 วรรคสอง แต่ ร. ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นเนื่องจากสัญญาเช่าที่ตกลงกันไว้ซึ่งหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์มาก่อนโจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้ทรัพย์นั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ทันทีได้ จึงถือได้ว่าโจทก์จำหน่ายจ่ายโอนอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่ ร. อันเข้าบทนิยาม คำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/1(4)
โจทก์สร้างอาคารลงบนที่ดินที่เช่าจาก ร. โดยตกลงให้บรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ทันทีที่ลงมือปลูกสร้างแล้ว โจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปให้เช่าหาประโยชน์ได้จนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า 23 ปี เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการให้ ร. อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 91/2(6) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3(5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์สร้างอาคารลงบนที่ดินที่เช่าจาก ร. โดยตกลงให้บรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ทันทีที่ลงมือปลูกสร้างแล้ว โจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปให้เช่าหาประโยชน์ได้จนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า 23 ปี เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการให้ ร. อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 91/2(6) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3(5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ทางค้าหรือหากำไร กรณีโอนกรรมสิทธิ์อาคารให้การรถไฟฯ ตามสัญญาเช่า
โจทก์ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามโครงการจัดสรรประโยชน์กับการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยโจทก์ในฐานะผู้เช่าจะปลูกสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างและส่วนควบต่าง ๆ และให้บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในพื้นที่เช่าที่ปลูกสร้างต่อเติม ดัดแปลง หรือติดตั้งขึ้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยทันทีที่ลงมือปลูกสร้างหรือติดตั้งแล้วโจทก์มีสิทธินำอาคารดังกล่าวไปประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ได้จนกว่าจะครบอายุสัญญาเช่า 23 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นไว้ในที่ดินที่เช่า บรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดหาได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์เช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ไม่ การรถไฟแห่งประเทศไทยย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 วรรคสอง แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาอาคาร สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตรึงอาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเนื่องมาจากข้อสัญญาเช่าฯ ที่โจทก์ตกลงให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร สิ่งปลูกสร้างและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆดังกล่าว เพราะหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์แล้วโจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้อาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินในทันทีได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่ายจ่ายโอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวอันเข้าบทนิยามคำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 91/1(4) แล้ว จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ อันเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2(6) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3(5) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8153/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างตอบแทน: สิทธิหน้าที่ในการชำระราคาและโอนกรรมสิทธิ์ต้องควบคู่กัน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายบ้านกับโจทก์ สัญญาจะซื้อขายบ้านเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระราคาค่าบ้านให้แก่โจทก์ ส่วนโจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านแก่จำเลยด้วยเช่นกัน การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระราคาค่าบ้านส่วนที่เหลือตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันโดยที่โจทก์มิได้กำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านให้แก่จำเลยตามหน้าที่แล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะไม่ชำระราคาค่าบ้านส่วนที่เหลือแก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะกำหนดเวลาที่โจทก์จะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ได้ จะถือว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 389 หาได้ไม่ สัญญาดังกล่าวยังมีผลผูกพันอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: ฝ่ายใดผิดสัญญาเมื่อไม่ปฏิบัติตามกำหนดเวลาโอนกรรมสิทธิ์
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินข้อ 5 ระบุว่า "ทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญากันเรียบร้อยแล้ว มีกำหนดเวลาปี 2537 พร้อมดอกเบี้ยไม่มี" จึงเห็นได้ว่ามิได้กำหนดวันและเดือนที่จะไปโอนที่ดินพิพาทไว้ในสัญญา เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยต่างได้ทวงถามให้อีกฝ่ายหนึ่งไปทำการโอนและรับโอนที่ดินพิพาทหลายครั้ง จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายแต่ยังคงติดใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อกันต่อไปโดยมิได้มีเจตนาถือเอา กำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ การที่โจทก์ให้ ม. ไปบอกจำเลยให้ไปรับโอนที่ดินในวันรุ่งขึ้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้กำหนดระยะเวลา พอสมควรแล้วบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินพิพาทที่เหลือตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิ บอกเลิกสัญญา ส่วนจำเลยได้กำหนดให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าวถือเป็นกำหนดระยะเวลา พอสมควรแล้ว เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือบอกกล่าวแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติ ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6379/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมหนังสือมอบอำนาจเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะและมีอำนาจฟ้องเพิกถอนได้
จำเลยนำแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์เพียงลงลายมือชื่อไว้ไปกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของโจทก์ให้แก่จำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยหนังสือมอบอำนาจจึงเป็นเอกสารปลอม นิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์จะทำนิติกรรมนั้น นิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยดังกล่าวได้
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโดยทำหนังสือมอบอำนาจปลอมแล้วนำไปดำเนินการทำนิติกรรมโอนขายที่ดินส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยที่ 1 อันเป็นเหตุให้นิติกรรมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันโจทก์นั้น เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 142(5)
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโดยทำหนังสือมอบอำนาจปลอมแล้วนำไปดำเนินการทำนิติกรรมโอนขายที่ดินส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยที่ 1 อันเป็นเหตุให้นิติกรรมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันโจทก์นั้น เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท การพิพากษานอกฟ้อง และการพิสูจน์การยกทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว เนื่องจาก ป. ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นเรือนหอก่อนแล้ว จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ป. ซึ่งได้ยกให้จำเลยโดยได้จดทะเบียนถูกต้องและ ป. ยังทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้จำเลยเพียงผู้เดียวคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป. และไม่ได้ยกให้แก่โจทก์หรือจำเลยแล้วพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกลับคืนเป็นชื่อของ ป. ตามเดิม จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้อยู่กินร่วมกันในบ้านพิพาทมาตลอดหากเพียงแต่พักอาศัยอยู่ลักษณะเป็นการชั่วคราว ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์แยกครอบครัวไปอยู่ที่อื่นหลังจากนั้นไม่นาน ประกอบกับไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งได้ความจากปลัดอำเภอผู้จัดทำหนังสือมอบอำนาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ป. ว่า ป.ต้องการแบ่งที่ดินพิพาทส่วนที่ไม่มีบ้านให้จำเลย ส่วนที่ดินพิพาทบริเวณที่มีบ้านจะเก็บไว้ก่อน เช่นนี้พอชี้ชัดได้ว่า ป. มิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสิทธิเด็ดขาด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้อยู่กินร่วมกันในบ้านพิพาทมาตลอดหากเพียงแต่พักอาศัยอยู่ลักษณะเป็นการชั่วคราว ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์แยกครอบครัวไปอยู่ที่อื่นหลังจากนั้นไม่นาน ประกอบกับไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งได้ความจากปลัดอำเภอผู้จัดทำหนังสือมอบอำนาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ป. ว่า ป.ต้องการแบ่งที่ดินพิพาทส่วนที่ไม่มีบ้านให้จำเลย ส่วนที่ดินพิพาทบริเวณที่มีบ้านจะเก็บไว้ก่อน เช่นนี้พอชี้ชัดได้ว่า ป. มิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสิทธิเด็ดขาด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิกรรมสิทธิ์โดยบุคคลภายนอกที่มีเจตนาสุจริต
จำเลยครอบครองและได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแต่เมื่อ ส. ขอออกโฉนดที่ดินจำเลยไม่ได้คัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ ส. ที่ดินตามโฉนดที่ดินซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่วันที่ออกโฉนดที่ดินคือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 เป็นต้นไป ต่อมามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของโจทก์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2533 เนื่องจากโจทก์ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ซึ่งยังไม่ถึง 10 ปี เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง การครอบครองปรปักษ์ที่มีอยู่ก่อนนั้นจึงสิ้นไปแม้จำเลยครอบครองต่อมาก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองใหม่ตั้งแต่ปี 2533 จนถึงวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้วันที่ 7 มิถุนายน2539 ยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5358/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่สมบูรณ์ ผู้ขายผิดสัญญาเมื่อไม่ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาพิพาทเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และแม้ขณะทำสัญญาจำเลยจะยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตามแต่กำหนดระยะเวลาส่งมอบที่ดินไว้ภายหลังจำเลยบรรลุนิติภาวะแล้วโดยมารดาจำเลยลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญา จึงไม่ตกเป็นโมฆะและใช้บังคับได้ ในสัญญาดังกล่าวแม้กำหนดวันส่งมอบที่ดินไว้แน่นอนในวันที่ 14 มกราคม 2534 แต่เนื่องจากที่ดินตามสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 6792 ซึ่งต้องมีการแบ่งแยกที่ดินก่อนที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา แต่คู่สัญญาหาได้ตกลงไว้เป็นการแน่นอนในเรื่องดังกล่าวไม่ คงกล่าวไว้เพียงว่าผู้ขายได้ขายส่วนหนึ่งของโฉนดที่ดินเลขที่ 6792 เนื้อที่ดินประมาณ 20 ไร่ ตามผังที่กาเส้นสีแดงเท่านั้นจึงมิใช่กรณีกำหนดชำระหนี้กันไว้แน่นอนแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่มารับโอนที่ดินจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาหาได้ไม่ ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยไม่ไปตามกำหนด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ หากโอนไม่ได้ก็ต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์