คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963-2964/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้จากบริษัทเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย และอายุความค่าจ้างแรงงาน
สัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินทำขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2542 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ระบุให้โอนสินทรัพย์และหนี้สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 โอนสินทรัพย์และหนี้สินให้แก่จำเลยที่ 3 โดยกำหนดว่าหนี้สินได้แก่เงินฝาก เงินกู้ยืม ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ หนี้ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีรวมดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายให้โจทก์ทั้งสองเป็นหนี้สามัญตามสัญญาดังกล่าว จึงโอนไปเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ จำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวต้องรับผิดในหนี้ข้างต้นต่อโจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นต้นไป
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 มีความหมายชัดแจ้งว่าบุคคลที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นต้องมีลักษณะเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงจะมีหน้าที่ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสองได้โอนไปยังจำเลยที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2545 จำเลยที่ 1 ไม่อยู่ในลักษณะเป็นลูกหนี้ของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองย่อมไม่มีหน้าที่ตามบทมาตรา 91 ที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การที่โจทก์ทั้งสองไม่ยื่นขอรับชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิในการได้รับชำระหนี้ดังกล่าวของโจทก์ทั้งสอง
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นสินจ้าง มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15779/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และสิทธิในการยกข้อต่อสู้
บทบัญญัติตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 ทวิ วรรคสอง เป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นเฉพาะการโอนหนี้ที่ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะต้องยินยอมด้วยในการโอนเท่านั้น โดยการโอนหนี้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก แต่มิได้บัญญัติยกเว้นให้ถือว่าลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมโดยมิได้อิดเอื้อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 ทั้งหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเป็นเพียงการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ อ. จำกัด (มหาชน) ให้แก่โจทก์แล้ว ดังนั้น จำเลยย่อมยกข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอนขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนว่าจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมโจทก์ตามคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้สิทธิเรียกร้องไปยัง บสท. ทำให้ศาลต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม พรบ. บสท. 2544
หลังจากธนาคารโจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์ได้โอนสินทรัพย์ด้วยคุณภาพจำเลยร่วมให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท) ดังนั้น เมื่อได้มีการโอนหนี้สินรายนี้ซึ่งเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท) ไปแล้ว ก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะได้มีคำพิพากษา และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท) มิได้ยื่นคำร้องขอเป็นอย่างอื่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ตาม พรก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 วรรคหนึ่งและวรรคหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8501/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทำให้ผู้ฟ้องเดิมไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลต้องจำหน่ายคดี
ก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำพิพากษา บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ได้โอนหนี้รายนี้ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. ไปแล้ว สิทธิเรียกร้องที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ในฐานะผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสี่จึงโอนไปเป็นของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ผู้เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีนี้อีกต่อไป และปรากฏว่าบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. มิได้ยื่นคำร้องขอเป็นอย่างอื่น มาตรา 30 วรรคหก ศาลฎีกาให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ต่อไป
of 4