คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใช้ก่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ยื่นก่อนและผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเป็นผู้ยื่นก่อนแต่ละทิ้งไป
โจทก์จำเลยต่างไม่มีสินค้าผงวุ้นเป็นของตนเอง ต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเกือบเหมือนกันเพื่อให้ห้างที่ตนถือหุ้นซึ่งประกอบการค้าผงวุ้นได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า เมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนค้าผงวุ้นและใช้เครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึง พ.ศ. 2517 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าส่วนโจทก์ยื่นคำขอภายหลังจำเลยถึง 1 ปีเศษ และห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพิ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ดังนี้จำเลยผู้ยื่นคำขอก่อนเพื่อประโยชน์ของห้าง พ. ซึ่งได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้ผู้ขอจดทะเบียนก่อน
จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนในการโฆษณาสินค้าซึ่งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายรวมทั้งสินค้าสีมาก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในการขอจดทะเบียนดีกว่าโจทก์แม้เครื่องหมายการค้านั้นเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และโจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนก่อนก็ตาม
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้จำเลยเสียหายเพราะทำให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าสีของจำเลย จึงเป็นการทำละเมิดต่อจำเลยและต้องชดใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2363/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า UMATCO มาก่อน จำเลยไม่มีสิทธิคัดค้านการที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าประเภทเดียวกัน แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเพราะละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า หรือบังคับให้ถอนสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก่อนที่โจทก์ได้จดทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าก่อนจดทะเบียนและการไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า MAX ในสินค้าจำพวก 2 โดยสุจริตมาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า max ในสินค้าจำพวก 2 ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้วินิจฉัยแต่เพียงข้อเดียวว่าเครื่องหมายการค้า MAX ที่จำเลยใช้กับเครื่องหมายการค้า max ที่โจทก์จดทะเบียนไว้เหมือนหรือคล้ายกันเท่านั้น ไม่ได้ฎีกาในเรื่องจำเลยทำละเมิด ดังนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยตามปัญหาที่โจทก์ฎีกามาก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนเป็นโจทก์ชนะขึ้นมาได้ ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลัง, การใช้ก่อน, และเจตนาสุจริตของผู้ประกอบการ
โจทก์จำเลยต่างจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" สำหรับสินค้าจำพวก 11 อันได้แก่ผ้าอนามัย แต่โจทก์ก็มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CEL"เป็นเครื่องหมายชุดของโจทก์และคำว่า "CEL" เป็นคำทั่วไปอันมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ และอาจผสมกับคำอื่นๆ ได้ ประกอบกับโจทก์เพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องการค้าคำว่า"CELIA"เมื่อพ.ศ.2516 อันเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนถึง 1 ปี และในระหว่างนั้นเป็นเวลาที่จำเลยได้ลงทุนทั้งในการผลิต การโฆษณา และจำหน่ายสินค้าที่จำเลยจดทะเบียนว่า "CELIA" จนเป็นที่แพร่หลายแก่ประชาชนทั่วประเทศแล้ว ส่วนสินค้าของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าว่า "CELIA" ยังมิได้ผลิตออกจำหน่ายเลย ดังนี้โจทก์จะมาอ้างสิทธิดังกล่าวเพื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" โดยมิให้สิทธิจำเลยจดทะเบียนนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แม้ใช้ก่อนหน้าและมีการพิมพ์เผยแพร่มาก่อน ก็ไม่ถือเป็นการละเมิด
คำว่า "เดลินิวส์" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อหนังสือพิมพ์ที่จำเลยใช้มาก่อน ได้พิมพ์ออกจำหน่ายมาราว 20 ปีก่อนที่โจทก์ได้ตั้งสำนักงานข่าวโดยใช้ชื่อเดลินิวส์ ดังนี้ แม้จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ก็เป็นชื่อที่อ่านได้ว่าเดลินิวส์ ฟังว่าจำเลยไม่ได้เอาชื่อเดลินิวส์ของโจทก์มาใช้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด (มาตรา 272(1))

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน: จำเลยใช้ชื่อ 'เดลินิวส์' ก่อนโจทก์ การกระทำไม่ถือเป็นการละเมิด
คำว่า "เดลินิวส์" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อหนังสือพิมพ์ที่จำเลยใช้มาก่อน ได้พิมพ์ออกจำหน่ายมาราว 20 ปี ก่อนที่โจทก์ได้ตั้งสำนักงานข่าวโดยใช้ชื่อเดลินิวส์ ดังนี้ แม้จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ก็เป็นชื่อที่อ่านได้ว่าเดลินิวส์ ฟังว่าจำเลยไม่ได้เอาชื่อเดลินิวส์ของโจทก์มาใช้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด(มาตรา 272(1))

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าก่อนจดทะเบียน: จำเลยใช้ก่อนโจทก์ จดทะเบียนภายหลัง ไม่ถือเป็นละเมิด
ข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยได้ปรุงยาธาตุและใช้ฉลากชื่อยาของจำเลยจำหน่ายมาก่อนที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายาธาตุของโจทก์แล้ว แม้ฉลากจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อว่าเป็นของบุคคลหรือบริษัทอื่น อันจะเป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 237 (หรือประมวล ก.ม.อาญา มาตรา 274)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าก่อนจดทะเบียน: การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าเดิมเมื่อมีการจดทะเบียนภายหลัง
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้ปรุงยาธาตุและใช้ฉลากชื่อยาของจำเลยจำหน่ายมาก่อนที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายาธาตุของโจทก์แล้ว แม้ฉลากจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อว่าเป็นของบุคคลหรือบริษัทอื่นอันจะเป็นความผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 237(หรือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17870/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน การใช้ก่อนยื่นขอจดทะเบียน และเงื่อนไขการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมภายหลังจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ชี้สองสถานแล้ว โดยที่จำเลยร่วมได้ระบุในคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมว่า จำเลยร่วมขอถือเอาคำให้การและบัญชีพยานของจำเลยเป็นคำให้การและบัญชีพยานของจำเลยร่วมส่วนหนึ่งด้วย ในระหว่างพิจารณาจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่าไม่ถูกต้องประการใด ด้วยเหตุนี้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ข้อ 1. ว่า เครื่องหมายการค้า คำขอเลขที่ 654920 ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ ตามคำขอเลขที่ 442167 และ 442168 จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ และได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวในคำพิพากษาต่อมา จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยร่วมไม่อาจโต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวได้อีกเพราะจำเลยร่วมไม่อาจใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าเป็นจำเลยร่วม และไม่อาจใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของจำเลยเดิมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) และมาตรา 58 วรรคสอง การกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบแล้ว ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวได้
ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมซึ่งได้ขอจดทะเบียนไว้ก่อนจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวทั้งหมด ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า และสำเนียงเรียกขานคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองว่าเหมือนหรือคล้ายกันเพียงใด ตลอดจนต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วมอยู่ที่คำว่า "VALENTINO" ซึ่งสะกดเหมือนกันทั้งเก้าตัวอักษร มีสำเนียงเรียกขานเหมือนกันว่า "วาเลนติโน" แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยที่ตัวอักษรซึ่งเครื่องหมายการค้าของโจทก์เขียนคำดังกล่าวเป็นลายมือเขียน ส่วนคำนี้ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และในเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "Rudy" ต่อท้าย ส่วนในเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีตัวอักษร "V" ประดิษฐ์ในวงรีบนคำว่า "VALENTINO" ซึ่งคำว่า "Rudy" กับตัวอักษร "V" ประดิษฐ์ในวงรีดังกล่าวเป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมเท่านั้น มิใช่ส่วนอันเป็นสาระสำคัญหรือเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกขานว่า "วาเลนติโน รูดี้" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมเรียกขานว่า "วี วาเลนติโน" นับว่ามีสำเนียงเรียกขานคล้ายกันมากเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 25 ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันกับที่จำเลยร่วมยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามคำขอเลขที่ 442167 และมีรายการสินค้าหลายรายการที่เหมือนกัน หากเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ซึ่งคล้ายกันมากกับเครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วม ซึ่งได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ก่อน ได้รับการจดทะเบียนและใช้กับสินค้าจำพวก 25 รายการสินค้าเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าชอบที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อน เครื่องหมายการค้า ของโจทก์ไม่อาจได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 20
ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้ขอจดทะเบียนไว้ก่อนตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอดังกล่าวได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 2 กรณี ดังนี้คือ หากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริตกรณีหนึ่ง หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรรับจดทะเบียนอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งการที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของแต่ละคนมาแล้วด้วยกันโดยสุจริตนั้น ต้องเป็นกรณีที่ต่างคนต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยมาก่อนที่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้น ส่วนกรณีมีพฤติการณ์พิเศษก็ต้องเป็นกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนกับสินค้าที่ระบุในคำขอจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นการใช้กับตัวสินค้าหรือเป็นการใช้โดยโฆษณาสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยมาก่อนที่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้นเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะการคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ต้องเป็นตามหลักดินแดน กล่าวคือ ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตนภายในอาณาเขตประเทศไทยด้วย ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นและได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อปรากฏว่า ว. เป็นผู้อนุญาตให้โจทก์นำชื่อตัวและชื่อสกุลของตนมาใช้เป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าตั้งแต่ปี 2518 การที่โจทก์นำคำว่า "VALENTINO RUDY" มาใช้เป็นเครื่องหมายการค้ากับสินค้าเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 25 จึงเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยสุจริต และปรากฏตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าว่า โจทก์ได้อนุญาตให้บริษัท บ. ในประเทศไทยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "VALENTINO RUDY" กับสินค้าในจำพวก 25 ที่โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "VALENTINO RUDY" ในลักษณะที่เป็นลายมือชื่อ โดยบริษัท บ. ได้ผลิตสินค้าเสื้อเชิ้ตบุรุษออกจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยร่วมจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ถึงประมาณ 3 ปีเศษ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าเสื้อในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยร่วมจะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กับสินค้าจำพวก 25 ชอบที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์โดยกำหนดเงื่อนไขและข้อกำจัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27
of 5