พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางในที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของเดิม ไม่ถือเป็นการได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ
ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่มีมาอยู่แต่เดิมแล้วก่อนที่โจทก์จะใช้เป็นทางผ่านเข้าออก โจทก์เริ่มใช้ทางพิพาทเข้าออกขณะพี่ชายโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินนั้นแทนคณะพ่อค้า และโจทก์เป็นคณะกรรมการดูแลที่ดินคนหนึ่ง จึงเป็นการใช้ทางโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน ทั้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะมิใช่เป็นการใช้สิทธิปรปักษ์ แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยที่ 1 ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางโดยอาศัยสิทธิเจ้าของที่ดิน มิใช่การได้มาซึ่งภาระจำยอมตามอายุความ
ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่มีมาอยู่แต่เดิมแล้วก่อนที่โจทก์จะใช้เป็นทางผ่านเข้าออกโจทก์เริ่มใช้ทางพิพาทเข้าออกขณะพี่ชายโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินนั้นแทนคณะพ่อค้า และโจทก์เป็นคณะกรรมการดูแลที่ดินคนหนึ่ง จึงเป็นการใช้ทางโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน ทั้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะมิใช่เป็นการใช้สิทธิปรปักษ์ แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยที่ 1 ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพัน
โจทก์จำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินที่ตกลงซื้อร่วมกันเป็นส่วนสัดและทำถนนพิพาทตามที่ตกลงกันก่อนทำหนังสือซื้อขายที่ดินโดยเจ้าของที่ดินอนุญาตและโจทก์ได้ใช้ถนนพิพาทตลอดมาจนถึงวันที่จำเลยทำรั้วปิดกั้นเป็นเวลาเกิน10ปีเมื่อทางพิพาทได้ใช้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีแล้วโดยจำเลยมิได้ทักท้วงหรือห้ามปรามทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมซึ่งโจทก์ได้มาโดยอายุความจำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้น. การได้ภาระจำยอมมาโดยอายุความมิใช่ได้มาทางนิติกรรมจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องโดยเปิดเผยและเจ้าของที่ดินไม่ห้าม
โจทก์ฟ้องว่า ได้ภาระจำยอมโดยอายุความ ซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำการประมงและบรรทุกปลาจากท่าเทียบเรือและจากโรงดองเค็มจากที่ดินของโจทก์ผ่านทางพิพาท ซึ่งอยู่ในที่ดินจำเลยเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลา 5 ปีก็เลิกแล้วให้นาง บ. เช่าโรงดองเค็มนาง บ. ขนปลาจากท่าเทียบเรือและโรงดองเค็มดังกล่าวผ่านทางพิพาทไปสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลา 8 ปีก็เลิกเช่าแต่ก็ยังใช้ท่าเทียบเรือและเดินผ่านทางพิพาทอยู่ การเดินผ่านทางพิพาทดังกล่าวทั้งโจทก์และนาง บ. ไม่ได้ขออนุญาตผู้ใดและโดยที่จำเลยกับเจ้าของที่ดินเดิมที่จำเลยซื้อมาไม่เคยห้ามปรามนับแต่โจทก์และนาง บ.ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลา 13 ปีแล้วทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความ แม้เจ้าของที่ดินยังไม่ได้มีกรรมสิทธิ์นาน 10 ปี แต่ใช้ทางต่อเนื่องโดยเปิดเผย
แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์มายังไม่ถึงสิบปี แต่การที่โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกสู่ซอยและถนนสาธารณะมาตั้งแต่โจทก์ยังเป็นผู้อาศัยอยู่กับเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม จนกระทั่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งทักท้วงและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใดเมื่อนับระยะเวลาทั้งสองตอนติดต่อกันก็เกินกว่าสิบปี เส้นทางดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยทางอายุความได้สิทธิแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 แล้ว(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 113/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมอาจเกิดจากการใช้ทางโดยถือสิทธิ อายุความ และการย้ายทางที่กฎหมายอนุญาต
ภารจำยอมนั้นอาจเกิดจากการยินยอมให้ใช้ทางในเบื้องต้นก่อนครั้นเมื่อได้เริ่มใช้ทางตามที่ตกลงกันนั้นแล้ว หากผู้ใช้ใช้โดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตลอดมา ผู้ใช้ทางอาจได้ภารจำยอมมาโดยอายุความได้
บิดาโจทก์ได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของจำเลยโดยอาการที่ถือว่าตนมีสิทธิจะใช้ และได้ย้ายทางเดินดังกล่าวจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นถึงสองครั้ง เนื่องจากจำเลยปลูกบ้านทับทางเดิม การย้ายทางของบิดาโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 เมื่อคดีปรากฏว่าบิดาโจทก์เข้าใช้สิทธิผ่านที่ดินของจำเลยติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ถึง พ.ศ.2504 จึงได้เปลี่ยนไปใช้ทางพิพาทตลอดมาจนบิดาโจทก์ตายเมื่อ พ.ศ.2509 แล้ว โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมารวมเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ดินของจำเลยย่อมตกอยู่ในภารจำยอม
บิดาโจทก์ได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของจำเลยโดยอาการที่ถือว่าตนมีสิทธิจะใช้ และได้ย้ายทางเดินดังกล่าวจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นถึงสองครั้ง เนื่องจากจำเลยปลูกบ้านทับทางเดิม การย้ายทางของบิดาโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 เมื่อคดีปรากฏว่าบิดาโจทก์เข้าใช้สิทธิผ่านที่ดินของจำเลยติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ถึง พ.ศ.2504 จึงได้เปลี่ยนไปใช้ทางพิพาทตลอดมาจนบิดาโจทก์ตายเมื่อ พ.ศ.2509 แล้ว โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมารวมเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ดินของจำเลยย่อมตกอยู่ในภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมเกิดจากการใช้ทางโดยอาการเจ้าของกรรมสิทธิ์ต่อเนื่องกัน อาจได้มาโดยอายุความ แม้มีการย้ายทาง
ภารจำยอมนั้นอาจเกิดจากการยินยอมให้ใช้ทางในเบื้องต้นก่อน ครั้นเมื่อได้เริ่มใช้ทางตามที่ตกลงกันนั้นแล้ว หากผู้ใช้ใช้โดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตลอดมา ผู้ใช้ทางอาจได้ภารจำยอมมาโดยอายุความได้
บิดาโจทก์ได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของจำเลยโดยอาการที่ถือว่าตนมีสิทธิจะใช้ และได้ย้ายทางเดินดังกล่าวจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นถึงสองครั้ง เนื่องจากจำเลยปลูกบ้านทับทางเดิม การย้ายทางของบิดาโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 เมื่อคดีปรากฏว่าบิดาโจทก์เข้าใช้สิทธิผ่านที่ดินของจำเลยติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ถึง พ.ศ.2504 จึงได้เปลี่ยนไปใช้ทางพิพาทตลอดมาจนบิดาโจทก์ตายเมื่อ พ.ศ.2509 แล้ว โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมารวมเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ดินของจำเลยย่อมตกอยู่ในภารจำยอม
บิดาโจทก์ได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของจำเลยโดยอาการที่ถือว่าตนมีสิทธิจะใช้ และได้ย้ายทางเดินดังกล่าวจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นถึงสองครั้ง เนื่องจากจำเลยปลูกบ้านทับทางเดิม การย้ายทางของบิดาโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 เมื่อคดีปรากฏว่าบิดาโจทก์เข้าใช้สิทธิผ่านที่ดินของจำเลยติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ถึง พ.ศ.2504 จึงได้เปลี่ยนไปใช้ทางพิพาทตลอดมาจนบิดาโจทก์ตายเมื่อ พ.ศ.2509 แล้ว โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมารวมเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ดินของจำเลยย่อมตกอยู่ในภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วม ทางจำเป็น และการใช้ทาง: ข้อจำกัดสิทธิการใช้ทางเมื่อไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
เจ้าของรวมใช้ทางเดินผ่านที่ดินกรรมสิทธิ์รวมเป็นการใช้ตามอำนาจกรรมสิทธิ์ จะใช้ทางนั้นมาช้านานเท่าใดก็ไม่ได้ภารจำยอม
ผู้ที่จะได้สิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะนั้นต้องเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อม หากเป็นเพียงเจ้าของโรงเรือน แม้จะถูกที่ดินอื่นล้อมอยู่ก็หามีสิทธิเรียกร้องทางจำเป็นไม่
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความใช้แทนกันหรือให้เป็นพับได้ตามที่เห็นสมควรแก่รูปคดี
ผู้ที่จะได้สิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะนั้นต้องเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อม หากเป็นเพียงเจ้าของโรงเรือน แม้จะถูกที่ดินอื่นล้อมอยู่ก็หามีสิทธิเรียกร้องทางจำเป็นไม่
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความใช้แทนกันหรือให้เป็นพับได้ตามที่เห็นสมควรแก่รูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การตีความสัญญาตามเจตนาคู่สัญญาเพื่อการใช้ทางและสร้างสะพานเข้าที่ดิน
จำเลยทำสัญญาภารจำยอมไว้กับโจทก์มีความว่า (ข้อ 1) ผู้ให้สัญญา(หมายถึงจำเลย) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดเลขที่ 1244 เนื่องจากที่ดินโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญา (หมายถึงโจทก์) ไม่มีทางออกไปสู่ถนนราชวิถีโดยรถยนต์ได้ เพราะมีที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 และโรงรำของผู้ให้สัญญาขวางอยู่ก่อน ผู้ให้สัญญาจึงตกลงยินยอมให้ทางถนนเดิมของที่ดินโฉนดที่ 1244 มีขนาดกว้างประมาณ 3.00 เมตร ยาวจากคลองสามเสนถึงถนนราชวิถียาวประมาณ 68 เมตร ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดที่ 6023 เพื่อใช้เป็นทางสัญจรไปมาและให้รถยนต์ที่ผ่านเข้าออกจากที่แปลงโฉนด 6023 สู่ถนนราชวิถีได้ ผู้ให้สัญญาจะไม่ปลูกสร้างสิ่งใด ๆ คร่อมทางภารจำยอมนี้ในโอกาสต่อไปและยินยอมให้ผู้รับสัญญาสร้างสะพานบนที่ดินของผู้ให้สัญญาตรงริมคลองสามเสนทอดข้ามไปสู่ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ได้(ข้อ 2) เนื่องจากที่ดินของผู้ให้สัญญาแปลงโฉนดที่ 1244 ขณะนี้มีโรงรำและถ่านปลูกสร้างปิดช่องถนนของที่ดินส่วนที่ให้สัญญายินยอมเป็นภารจำยอม โดยที่ผู้ให้สัญญาได้ให้ จ. เช่ามีกำหนด 10 ปีเป็นเหตุให้ผู้รับสัญญายังใช้สิทธิภารจำยอมที่ตกลงกันตามสัญญานี้ทันทีไม่ได้ (ข้อ 3) เพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้ให้สัญญาที่ยินยอมให้ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญาได้สิทธิภารจำยอมบนที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 ของผู้ให้สัญญาตามข้อ 1 ผู้รับสัญญาขอให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 120,000 บาท ผู้ให้สัญญาได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงิน 20,000 บาทแล้ว ที่ค้างผู้รับสัญญาจะชำระให้เสร็จเมื่อผู้ให้สัญญาได้รื้อถอนโรงรำออกจากที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปแล้วและเมื่อผู้ให้สัญญาได้รับเงินจากผู้รับสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้ให้สัญญาจะต้องนำที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปจดทะเบียนภารจำยอมทันที ดังนี้ย่อมเห็นวัตถุประสงค์ของสัญญารายนี้ว่าที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็เพื่อให้มีถนนผ่านที่ดินจำเลยไปออกถนนราชวิถีได้โดยกว้างประมาณ 3 เมตร และยาวประมาณ 68 เมตร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้รถยนต์วิ่งเข้าออกไปยังที่ดินของโจทก์ได้โดยการสร้างสะพานบนที่ดินของจำเลยข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 6023 ได้ การที่จะแปลสัญญานี้ไปเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แปลว่าให้ทำสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของ ป. ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นการแปลความที่ขัดต่อเจตนาของคู่สัญญา ทั้งขัดกับข้อความในสัญญาด้วยการที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็ย่อมประสงค์จะให้ทำสะพานข้ามทอดเข้าที่ดินของโจทก์ไม่ต้องการให้ทำสะพานลงไปในที่ดินของ ป. ซึ่งแม้จะอยู่ติดกันก็มีคูน้ำคั่น ซึ่งมีความกว้างถึง 1 วา คำว่า'ทางถนนเดิม' ในสัญญาข้อ 1 หมายถึงถนนปูน 3 เมตร ตั้งแต่ปากทางติดถนนราชวิถีเข้ามาหน้าโรงรำและตรงเข้ามายังคลองสามเสนซึ่งเมื่อแปลเช่นนี้ ถนนเดิมจากปากทางจะตรงเข้ามาจดคลองสามเสนและย่อมจะสร้างสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินโจทก์ได้ ถนนที่เป็นภารจำยอมตามสัญญามีความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ68 เมตร โดยถือถนนปูนซึ่งเป็นถนนเดิมแล้วตรงเข้ามาถึงหน้าโรงรำและถ่าน แล้วตรงเข้ามา (โดยไม่เบนไปทางซ้าย) ทั้งนี้โดยถือแนวถนนปูนเดิม ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่ขวางช่องทางดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจำเลยต้องรื้อออกไปให้พ้นความกว้าง (ประมาณ 3 เมตร)
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทาง กว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอม ก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อ มาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทาง กว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอม ก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อ มาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเฉพาะฤดูทำนา ไม่ขาดตอน
โจทก์ใช้ทางพิพาทสำหรับนำกระบือและล้อเกวียนผ่านนาจำเลยเมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วเป็นประจำมากว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมเฉพาะเมื่อสิ้นฤดูทำนาการที่โจทก์ไม่ได้ใช้เดินในฤดูทำนาหาทำให้การใช้ทางเดินนั้นขาดตอนไม่ติดต่อกันได้ไม่