พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีแทนบริษัท: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนตัดสินว่าผู้ใดมีอำนาจชอบธรรม
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ. และ ก. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เป็นว่า ให้ ก. เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลย จึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก. ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่ง ตั้งให้ ณ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก. เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมการที่ ก. ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก. เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้ เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ. กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย การที่ ณ. แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก. แต่งตั้ง อ. เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งที่ ก. และ อ. เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่าการกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก. เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว. ซึ่ง ณ. แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว. เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ ก. และ อ. ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งย้ายภูมิลำเนา และการไต่สวนเหตุจำเป็นเมื่อไม่ทราบกำหนดนัดพิจารณาคดี
โจทก์และทนายโจทก์ระบุสำนักงานบริษัท ร.เป็นภูมิลำเนาของโจทก์ในคำฟ้องและภูมิลำเนาของทนายโจทก์ ในใบแต่งทนายความ แต่ตามคำเบิกความของโจทก์ ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและคำร้อง ของ ทนายโจทก์มิได้ระบุ ภูมิลำเนาของตนตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องและใบแต่งทนายความ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เนื่องจาก ย้ายภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นจึงควรทำการไต่สวนว่าเหตุที่ โจทก์ยกขึ้นอ้างนั้นฟังได้หรือไม่ เพียงใด ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคสอง และมาตรา 181 จะอาศัยเพียงโจทก์และทนายโจทก์ย้ายภูมิลำเนา ไม่แจ้งให้ศาลทราบมาเป็นเหตุยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวน หาสมควรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการจงใจไม่ไปศาล แม้มีทนายความแต่งตั้งแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่
การที่ทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบให้มาฟังคำสั่งศาลภายใน 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งศาลแล้ว กรณีถือได้ว่าทนายจำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้และทราบกำหนด วันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยทราบนัดด้วย เพราะทนายจำเลยทำหน้าที่แทนจำเลยตามกฎหมาย จำเลยทราบวันนัดสืบพยาน โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ นำสืบก่อนโดยชอบแล้วการที่จำเลยอ้างว่าทนายจำเลยเจ็บป่วย แพทย์ให้พักรักษาตัวนั้น หากทนายจำเลยเจ็บป่วยจริงแล้วจำเลยหรือทนายจำเลยอาจยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือ แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อ ศาลชั้นต้นได้ก่อนหรือในวันนัด หรือจะมอบหมายให้ผู้ใด มาทำการแทนก็ได้ แต่จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้กระทำไม่ แสดงว่าจำเลยรวมทั้งทนายจำเลยไม่ได้เอาใจใส่ในคดี ของตนเอง ทั้งเหตุตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย ที่อ้างว่าจำเลยต้องนำสินค้าไปจำหน่ายในต่างจังหวัด จึงไม่ทราบเรื่องวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี และว่าแม้จำเลยจะได้ตั้งทนายจำเลยให้แก้ต่างให้แล้ว แต่ทนายจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ เนื่องจากทนายจำเลยป่วยต้องผ่าตัดต้อกระจกนัยตาข้างซ้ายก็ดี ย่อมเป็นการฟังได้ชัดแจ้งในตัว คำร้องเองว่า หากเป็นจริงตามคำร้องแล้วก็ยังฟังได้ว่าจำเลย รวมทั้งทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วและจงใจไม่ไปศาลตามกำหนดนัดโดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลชั้นต้นทราบ ถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาอยู่นั่นเอง และกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ โดยหาจำเป็นต้องทำการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยก่อนมีคำสั่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมาย, จำเป็นต้องไต่สวนและรับฟังทุกฝ่าย
คำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของจำเลย อ้างว่าพนักงานของโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์สนิทสนมกับเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาขายทอดตลาดในครั้งแรก คำร้องมีข้อความครบถ้วนแสดงให้เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองแล้ว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการไม่ชอบ แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องและสำเนาให้ทุกฝ่ายคัดค้าน แล้วทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีนั้นก็ยังไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยทั้งสองไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่มิได้เรียกผู้เสียภาษีมาไต่สวนก่อน เป็นการประเมินตามมาตรา 19/20 ไม่ใช่มาตรา 18
การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 ซึ่งไม่ต้องออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนก่อนนั้น เป็นการประเมินตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามแบบแสดงรายการที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยื่นเสียภาษีอากรเท่านั้น ส่วนการประเมินตามมาตรา 19 และมาตรา 20 เป็นการประเมินหลังจากเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีต่อโจทก์โดยมิได้ออกหมายเรียก อ. ผู้ยื่นรายการ หรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ.มาไต่สวนก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้อื่นไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกผู้นั้นพร้อมทั้งสามีกับพวกมาตรวจสอบไต่สวน แล้วเชื่อว่า อ.ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง จึงได้ประเมินภาษีต่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ. เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยมิได้ประเมินจากรายการที่ปรากฏในแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2528 ของ อ.ที่ยื่นไว้ การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการประเมินตามมาตรา 19 และ 20 เมื่อมิได้มีการออกหมายเรียก อ.ผู้ยื่นรายการหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ.มาไต่สวนก่อน การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงไม่ชอบ
เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีต่อโจทก์โดยมิได้ออกหมายเรียก อ. ผู้ยื่นรายการ หรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ.มาไต่สวนก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้อื่นไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกผู้นั้นพร้อมทั้งสามีกับพวกมาตรวจสอบไต่สวน แล้วเชื่อว่า อ.ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง จึงได้ประเมินภาษีต่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ. เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยมิได้ประเมินจากรายการที่ปรากฏในแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2528 ของ อ.ที่ยื่นไว้ การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการประเมินตามมาตรา 19 และ 20 เมื่อมิได้มีการออกหมายเรียก อ.ผู้ยื่นรายการหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ.มาไต่สวนก่อน การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีมรดก: ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงการแบ่งมรดกก่อนมีคำสั่ง
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ฉ.ให้ทายาท ต่อมาโจทก์ขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปอายัดเงินฝากประจำของธนาคารซึ่งจำเลยเป็นผู้ฝาก การที่จำเลยร้องขอให้ถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกของ ฉ.คือรถยนต์ ให้แก่ทายาทของ ฉ.ไปแล้วซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกส่วนที่ทายาทของ ฉ.พึงจะได้รับโดยรวมรถยนต์คันดังกล่าวด้วยจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลย กรณีจึงจำเป็นต้องไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงดังกล่าวก่อน แม้จำเลยจะขอให้ถอนการบังคับคดีโดยมิได้ขอให้ทำการไต่สวน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ไต่สวนก่อนมีคำสั่งได้ การที่ศาลล่างทั้งสองให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังไม่ได้ทำการไต่สวนก่อนเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีมรดก: ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องการแบ่งทรัพย์สินก่อนมีคำสั่ง แม้จำเลยมิได้ขอ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ฉ. ให้ทายาท ต่อมาโจทก์ขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปอายัดเงินฝากประจำของธนาคารซึ่งจำเลยเป็นผู้ฝาก การที่จำเลยร้องขอให้ถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกของ ฉ. คือรถยนต์ให้แก่ทายาทของ ฉ. ไปแล้วซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกส่วนที่ทายาทของ ฉ.พึงจะได้รับโดยรวมรถยนต์คันดังกล่าวด้วยจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลย กรณีจึงจำเป็นต้องไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงดังกล่าวก่อน แม้จำเลยจะขอให้ถอนการบังคับคดีโดยมิได้ขอให้ทำการไต่สวน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ไต่สวนก่อนมีคำสั่งได้ การที่ศาลล่างทั้งสองให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังไม่ได้ทำการไต่สวนก่อนเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการชั่วคราว: ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม.แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 70, 73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวนคำร้องถอดถอนกรรมการชั่วคราว การส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์โดยไม่ไต่สวนไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต. เป็นกรรมการของบริษัท ม. ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต. คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70,73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟ้องซ้ำหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
ตามคำร้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันตามคำร้องเดิมโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มิได้มีเจตนาขาดนัดพิจารณาขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าของโจทก์ซึ่งคำร้องเดิมของโจทก์ก็อ้างเหตุว่าโจทก์มิได้จงใจไม่ไปศาลตามนัดขอให้มีคำสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องเดิมของโจทก์ว่า"ศาลไม่เคยมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้โจทก์ตรวจสอบคำสั่งศาลให้ดีก่อนค่อยมายื่นคำร้องใหม่ค่าคำร้องเป็นพับ"โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มาศาลล่าช้าเพราะเหตุสุดวิสัยขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดีโจทก์และให้ไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าจึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไรหรือเพราะเหตุใดเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งจึงพิพากษายกฎีกาโจทก์และยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์โดยอาศัยเหตุตามที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องแล้วการที่โจทก์มายื่นคำร้องใหม่เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องเดิมของโจทก์ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วจึงต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องกันอีกที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว