พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าไถ่ถอนจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิการรับชำระหนี้มีเงื่อนไข และการบังคับสิทธิแยกต่างหาก
ลูกหนี้เอาที่ดินของเจ้าหนี้ซึ่งใส่ชื่อลูกหนี้ไว้แทนไปจำนองและรับจะไถ่ถอนจำนองและโอนคืนให้เจ้าหนี้ภายใน 1 ปี แต่ก็ไม่ไถ่ถอนและโอนคืนตามที่รับรองไว้ ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังนี้มูลหนี้ที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นแก่เจ้าหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถือได้ว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะไถ่ถอนจำนองด้วยตนเองย่อมมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มูลแห่งหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองที่จะเรียกเอาจากลูกหนี้ที่ 1 จึงเกิดขึ้นแล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่เจ้าหนี้ยังมิได้ไถ่ถอนจำนองซึ่งถ้าเจ้าหนี้ได้ไถ่ถอนจำนองแล้วเมื่อใด ก็ย่อมเรียกให้ลูกหนี้ชดใช้เงินค่าไถ่ถอนจำนองได้เมื่อนั้นแต่โดยที่ขณะขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ยังไม่ได้ไถ่ถอนจำนองและไม่แน่ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิขอไถ่ถอนจำนองนั้นเมื่อใด เจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองได้ทันที แต่ถือได้ว่าหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ เจ้าหนี้จึงย่อมขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 หนี้ที่จะขอรับชำระได้ในคดีล้มละลายจะต้องเป็นหนี้เงินเท่านั้นซึ่งถ้ามี ดอกเบี้ย รวมอยู่ด้วยก็คิดดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคำขอที่มีที่ดินเป็นวัตถุแห่งหนี้ ไม่ใช่หนี้เงินแม้จะมีคำขอว่า หรือให้ใช้ราคาที่ดิน กำกับอยู่ด้วยก็เป็นเพียงคำขอสำรองสำหรับใช้เป็นสภาพบังคับในกรณีที่ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าหนี้ได้เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ เจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพื่อบังคับตามสิทธิของตนเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนอง: ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ถอนเองได้ แม้ลูกหนี้จำนองแล้วไม่ไถ่ถอน ศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าไถ่ถอนจากกองทรัพย์สิน
ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ลูกหนี้เพียงมีชื่อในโฉนดในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น แม้ลูกหนี้เอาที่พิพาทไปจำนองแล้วไม่ยอมไถ่ถอนก็ตาม ผู้ร้องก็มีสิทธิ์ที่จะไถ่ถอนเองได้เมื่อไถ่ถอนแล้วก็ชอบที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชดใช้ค่าไถ่ถอนได้การที่ผู้ร้องได้ขอรับชำระหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองไว้แล้วในสาขาคดีขอรับชำระหนี้แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาจะใช้สิทธิไถ่ถอนจำนองเองและในสาขาคดีขอรับชำระหนี้ ศาลได้พิพากษาแล้วว่า หากผู้ร้องไถ่ถอนจำนองที่พิพาทเป็นเงินเท่าใด ก็ให้ได้รับชำระหนี้เป็นเงินเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองเอง แต่ให้ได้รับชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองคืนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ จึงไม่ชอบที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลพิพากษาในคดีนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่พิพาท หรือชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนอง ศาลคงพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817-4818/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน - ไถ่ถอนจำนอง - ผลกระทบต่อสิทธิเจ้าหนี้
คำขอให้จำเลยทั้งสามจัดการไถ่ถอนจำนองเพื่อให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองปลอดจากการจำนอง ถ้าโจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วยศาลไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอส่วนนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกติดจำนอง: ทายาทรับภาระหนี้จำนองตามส่วนรับมรดก, ไม่สามารถบังคับให้ทายาทลูกหนี้ไถ่ถอนได้
เมื่อที่ดินแปลงหนึ่งของทรัพย์มรดกติดจำนองประกันหนี้ของ น. ทายาทคนหนึ่งอยู่ ทายาทผู้รับมรดกจึงต้องรับภาระในหนี้จำนองโดยรับโอนที่ดินนั้นมาโดยติดจำนองถ้ามีการบังคับจำนองโดย น. ไม่ชำระหนี้แล้ว ทายาทผู้รับมรดกคงรับผิดแต่เฉพาะทรัพย์มรดกที่ตนรับโอนมา หรือหากตนต้องชำระหนี้จำนองไปเท่าใดก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจาก น. ได้ตามสิทธิที่ได้รับโอนมาจากเจ้ามรดก ทายาทไม่มีสิทธิบังคับให้ น. ทำการไถ่ถอนจำนองหรือยกข้ออ้างในการที่ น. ไม่ทำการไถ่ถอนจำนองมาเป็นเหตุขัดข้องมิให้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้เงินกู้แทนจำเลย vs. ไถ่ถอนจำนอง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมีเจตนาให้โจทก์ชำระหนี้เงินกู้แทนจำเลยแล้วจำเลยจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์แต่เนื่องจากโจทก์จำเลยเข้าใจว่าการที่จำเลยกู้เงินโดยมอบใบน.ส.3 ก. ให้เจ้าหนี้ไว้นั้นเป็นจำนองจึงระบุในสัญญาประนีประนอมว่าให้โจทก์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ดังนี้ ตามสัญญาประนีประนอมนั้นโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้แทนจำเลย คดีในชั้นฎีกาพิพาทกันเกี่ยวกับการแปลเจตนาของคู่ความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(2) ตอนท้ายจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในอนาคต สิทธิการไถ่ถอนจำนองขึ้นอยู่กับการชำระหนี้ทั้งหมด
โจทก์จำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของโจทก์และ ก. ที่มีต่อจำเลยทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะ ต่อมาโจทก์กับพวกร่วมกันกู้เงินจำเลยไปอีก การจำนองดังกล่าวย่อมเป็นประกันหนี้ที่โจทก์กับพวกร่วมกันกู้ไปจากจำเลยด้วยการที่สัญญากู้นั้นมิได้ระบุให้เอาที่ดินตามสัญญาจำนองเป็นประกัน โดยระบุแต่ที่ดินอื่นเป็นประกัน ก็เป็นเพียงการเพิ่มเติมหลักประกันให้มั่นคงขึ้นเท่านั้น หาได้ลบล้างข้อสัญญาตามสัญญาจำนองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนองแยกจากหนี้ค้ำประกัน แม้สัญญาทำพร้อมกัน ศาลสั่งให้ไถ่ถอนได้
โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้บริษัท ภ.และหนี้ของโจทก์เองเป็นเงิน 180,000 บาทในวันเดียวกันนั้นโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ. สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจึงแยกต่างหากจากกัน จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินซึ่งจำนองในวงเงิน 180,000 บาทพร้อมทั้งค่าอุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 เท่านั้นส่วนหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ. ที่เกินกว่าจำนวนเงินที่จำนองเป็นประกันนั้นเป็นบุคคลสิทธิที่จำเลยจะต้องติดตามบังคับเอาจากโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นเจ้าหนี้สามัญโจทก์จึงมีสิทธิไถ่จำนองได้โดยไม่ต้องชำระหนี้ของบริษัท ภ. ซึ่งนอกเหนือจากหนี้จำนองเมื่อสัญญาจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไว้ และโจทก์ผู้จำนองแสดงความจำนงขอไถ่ถอนจำนองแล้วจำเลยจะไม่ยอมให้ไถ่ถอนจำนองโดยอ้างว่า โจทก์ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ค้ำประกันอยู่อีกไม่ได้เพราะเป็นความรับผิดตามสัญญาคนละฉบับซึ่งแยกต่างหากจากกันและไม่เกี่ยวข้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการโอนที่ดินพร้อมไถ่ถอนจำนองหลังชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนไม่ตกเป็นโมฆะ แม้มีปัญหาการชำระหนี้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ.แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไป โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่
ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ.จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง เมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้ว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน
ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ.จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง เมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้ว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการโอนที่ดินหลังชำระบัญชี ห้างมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ โจทก์ออกเงินไถ่ถอนจำนองได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ. แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไปโจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่ ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ. จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรมข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อ บทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองเมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วแม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนจำนอง: ศาลต้องสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงเรื่องหนี้จำนองยังไม่ยุติ การงดสืบพยานแล้วพิพากษาเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดิน จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีคำเสนอชำระหนี้จำนองแก่จำเลย เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา และตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นหนังสือจำเลยที่ตอบโจทก์เรื่องการไถ่ถอนจำนองมีข้อความว่า จำเลยกำลังรอให้สำนักงานใหญ่สั่งการมา ถ้าได้รับการสั่งการให้รับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองได้ก็จะติดต่อกับโจทก์ทันที ดังนี้ ตามเอกสารท้ายฟ้องและคำให้การจำเลย แสดงว่าจำเลยยังถือว่าหนี้จำนองยังมีอยู่ จึงชอบที่โจทก์จำเลยจะต้องนำสืบในประเด็นข้อนี้ต่อไป เพราะข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อนี้แล้วพิพากษาคดีไป ย่อมไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา