พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995-5996/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าที่ไม่มีผลผูกพันทายาทเมื่อผู้ให้คำมั่นเสียชีวิตก่อนครบกำหนด
สัญญาเช่ามีข้อความว่า"มีกำหนดเวลาการเช่า10ปีและผู้ให้เช่ายินยอมต่อสัญญาให้ผู้เช่า2ครั้งครั้งละ10ปีนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป"ข้อความตามสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นของย.ว่าจะให้โจทก์เช่าที่ดินต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญาเมื่อโจทก์ไม่ได้สนองรับก่อนย.ตายและโจทก์รู้แล้วว่าย.ตายก่อนจะครบกำหนด10ปีตามสัญญาเช่ากรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา360ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา130วรรคสอง(ที่แก้ไขใหม่มาตรา169วรรคสอง)มาใช้บังคับคำมั่นของย.ย่อมไม่มีผลบังคับแม้สัญญาเช่าข้อ3จะระบุให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันไปถึงทายาทผู้รับพินัยกรรมของย.ด้วยก็ตามแต่เมื่อคำมั่นของย.ไม่มีผลบังคับเสียแล้วก็ไม่เป็นมรดกตกทอดอันจะผูกพันจำเลยในฐานะทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995-5996/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าที่ยังไม่เกิดผลผูกพันเมื่อผู้ให้คำมั่นเสียชีวิต ไม่เป็นมรดกผูกพันทายาท
สัญญาเช่ามีข้อความว่า "มีกำหนดเวลาการเช่า10ปีและให้ผู้เช่ายินยอมต่อสัญญาให้ผู้เช่า2ครั้งครั้งละ10ปีนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป"ข้อความตามสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นของย.ว่าจะให้โจทก์เช่าที่ดินต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญาเมื่อโจทก์ไม่ได้สอนงอรับก่อนย.ตายและโจทก์รู้แล้วว่าย ตายก่อนจะครบกำหนด10ปีตามสัญญาเช่ากรณีต้องบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา360ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา130วรรคสอง(ที่แก้ไขใหม่มาตรา169วรรคสอง)มาใช้บังคับคำมั่นของย ย่อมไม่มีผลบังคับแม้สัญญาเช่าข้อ3จะระบุให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันไปถึงทายาทผู้รับพินัยกรรมของย. ด้วยก็ตามแต่เมื่อคำมั่นของย. ไม่มีผลบังคับเสียแล้วก็ไม่เป็นมรดกตกทอดอันจะผูกพันจำเลยในฐานะทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมและผลของคำพิพากษาที่ไม่ผูกพันคู่ความอื่น แม้มีการยอมความและโอนทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องและจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้อง
แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินบางแปลงตามบัญชีทรัพย์มรดกท้ายฟ้องให้แก่บุคคลอื่น และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวและมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นด้วย
แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินบางแปลงตามบัญชีทรัพย์มรดกท้ายฟ้องให้แก่บุคคลอื่น และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวและมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อตกลงกันไม่ได้ การรับเงินมัดจำมีเงื่อนไข สัญญาไม่ผูกพัน
จำเลยที่1เป็นมารดาของจำเลยที่2ถึงที่5เมื่อวันที่15กรกฎาคม2532โจทก์ได้ไปที่บ้านจำเลยที่1เพื่อขอซื้อที่พิพาททั้ง3แปลงพบจำเลยที่1กับจำเลยที่4เมื่อเจรจากันแล้วโจทก์ได้มอบเงินจำนวน10,000บาทให้จำเลยที่1ไว้และจำเลยที่1ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์โดยจำเลยที่4ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินโดยมีข้อตกลงว่าจะต้องปรึกษาจำเลยอื่นก่อนว่าจะขายที่พิพาทหรือไม่วันรุ่งขึ้นเมื่อจำเลยที่2กลับมาได้ปรึกษาและสอบถามแล้วเห็นว่ายังไม่ควรขายตอนเย็นวันนั้นจึงโทรศัพท์ไปบอกโจทก์โจทก์ว่ามีหุ้นส่วนหลายคนเมื่อพร้อมแล้วจะมารับเงินคืนดังนี้แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเงินจำนวน10,000บาทที่จำเลยที่1รับไว้จากโจทก์เป็นมัดจำก็เป็นการรับไว้โดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงว่าจำเลยที่1และที่4จะต้องปรึกษากับจำเลยอื่นก่อนเมื่อปรึกษาแล้วจำเลยที่1ได้แจ้งปฎิเสธการขายให้โจทก์ทราบสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังไม่เกิดขึ้นจำเลยที่1และที่4จึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ต้องมีมูลหนี้เดิม หากไม่มีมูลหนี้ เอกสารรับสภาพหนี้ก็ไม่ผูกพัน
การรับสภาพหนี้หรือแปลงหนี้ใหม่ต้องมีมูลหนี้เดิมก่อนเมื่อ ท. ไม่มีหนี้ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้จำเลยทำบันทึกยอมใช้หนี้โจทก์แทน ท. ก็หาทำให้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้หรือแปลงหนี้ใหม่ไม่ ทั้งไม่ก่อให้เกิดมูลหนี้จึงไม่ผูกพันจำเลย การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องเป็นการนำสืบในลักษณะที่อ้างว่ายังมีข้อเท็จจริงอย่างอื่นเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความที่ปรากฏอยู่ในเอกสาร การที่จำเลยนำสืบถึงเหตุผลที่จำเลยต้องลงชื่อในเอกสารเพื่อแสดงว่าไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด จึงมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง: ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาใช้ไม่ได้หากศาลสูงยังไม่ได้วินิจฉัย
ในคดีอาญาพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ที่ 1 ว่าบุกรุกที่ดินของจำเลย ผู้เสียหายในคดีคือจำเลย โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญา การพิพากษาข้อพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยในคดีส่วนแพ่งจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คำพิพากษาคดีส่วนอาญาหมายถึงคำพิพากษาของศาลสูงที่ถึงที่สุดแล้ว เมื่อคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุดมิได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 ในการที่จะนำมารับฟังในคดีส่วนแพ่ง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คำพิพากษาคดีส่วนอาญาหมายถึงคำพิพากษาของศาลสูงที่ถึงที่สุดแล้ว เมื่อคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุดมิได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 ในการที่จะนำมารับฟังในคดีส่วนแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันเจ้าของรวมอื่น การครอบครองปรปักษ์นอกประเด็น
ตามคำฟ้องโจทก์ยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์มาแต่เดิมขอให้จำเลยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ตามสัญญา มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะครอบครองมากว่า 10 ปี ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่า ที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7 (ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น
โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่า ที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7 (ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของเดิมกับผู้เช่า ไม่ผูกพันผู้ซื้อทรัพย์สิน
เดิมตึกแถวตามฟ้องเป็นของ ด. ด. ให้จำเลยเช่า ต่อมาด. โอนตึกแถวให้ อ. แล้ว อ. โอนขายให้โจทก์ แม้ ด. จะให้คำมั่นแก่จำเลยว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ด. จะให้จำเลยเช่าตึกแถวต่ออีก 3 ปีคำมั่นดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6565/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลฎีกาไม่ผูกพันข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาที่ยังไม่ถึงที่สุด
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้
คดีส่วนอาญา ศาลแขวงพระนครใต้พิพากษาลงโทษจำเลยศาลอุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้อง โจทก์ยังสามารถฎีกาได้อีก จำเลยมิได้ระบุว่าคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุด จึงฟังไม่ได้ว่าคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว ในคดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว
คดีส่วนอาญา ศาลแขวงพระนครใต้พิพากษาลงโทษจำเลยศาลอุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้อง โจทก์ยังสามารถฎีกาได้อีก จำเลยมิได้ระบุว่าคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุด จึงฟังไม่ได้ว่าคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว ในคดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลอาญา: ไม่ผูกพันตามคำพิพากษาคดีอื่น, ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
การพิพากษาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคดีอื่นดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่เพราะในคดีอาญา ศาลจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง จะไม่พิพากษาลงโทษจำเลยจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น