คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่รับฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063-3073/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นรายการค่าใช้จ่ายเลือกตั้งภายในกำหนด: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว
ฎีกาโจทก์อ้างว่าจำเลยยื่นรายการค่าใช้จ่ายไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดเป็นการยื่นที่ไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายจึงต้องมีความผิดฐานไม่ยื่นรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งภายในกำหนดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ยื่นภายในกำหนดแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องและจำหน่ายคดีชั่วคราว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่รับอุทธรณ์และฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องและให้จำหน่ายคดีเป็นการชั่วคราว เพื่อรอฟังผลคดีถึงที่สุดในคดีอื่นคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ดังกล่าว และ ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่ รับอุทธรณ์แล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์นี้ให้ถือเป็นที่สุดต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา198ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต้องยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง มิใช่ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกามีอำนาจสั่งรับฎีกาโดยเฉพาะ
กรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาไม่ว่าเพราะเหตุใด หากผู้ฎีกาไม่พอใจและประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาเพื่อศาลฎีกาจะได้พิจารณาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกานั้นชอบหรือไม่นอกจากนี้ผู้ฎีกายังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรา234 ประกอบด้วยมาตรา 247 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยจะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลชั้นต้นและนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 10 วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอีกด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับฎีกาของจำเลยต่อศาลอุทธรณ์และยื่นเมื่อล่วงพ้นกำหนด 10 วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจในการสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาหรือสั่งให้รับฎีกา เป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาลฎีกาศาลอุทธรณ์หามีอำนาจสั่งเช่นนั้นไม่ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้มีคำสั่งรับฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาและการพ้นกำหนดเวลายื่นคำร้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์นั้น ชอบที่ศาลชั้นต้นจะส่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นส่งไปยังศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษาไปนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อันเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์นั้นเสีย
ฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับนั้น โจทก์จะต้องฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 การที่โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2519 และในแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" ทั้งยังปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาในวันนั้นเอง ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันนั้น โจทก์เพิ่งมายื่นฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2519 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว คำร้องอุทธรณ์คำสั่งโจทก์จึงต้องห้าม ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกาต้องยื่นภายในกำหนด และการส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์นั้น ชอบที่ศาลชั้นต้นจะส่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นส่งไปยังศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษาไปนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อันเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์นั้นเสีย
ฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับนั้น โจทก์จะต้องฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 224 การที่โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2519 และในแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" ทั้งยังปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาในวันนั้นเอง ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันนั้นโจทก์เพิ่งมายื่นฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2519 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว คำร้องอุทธรณ์คำสั่งโจทก์จึงต้องห้าม ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนาฆ่าเพราะไม่ปรากฏมูลเหตุจูงใจว่าจำเลยยิงผู้ตายเพราะเหตุใดเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1236/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต้องยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง การอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะอำนาจสั่งให้รับฎีกาหรือไม่นั้น เป็นอำนาจเฉพาะของศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252
ศาลชั้นต้นสั่งตำหนิไม่รับฎีกาฉบับแรกของผู้ร้องผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่ยอมทำฎีกาฉบับใหม่มายื่นแทน ในฎีกาชั้นนี้ผู้ร้องจะย้อนอ้างว่าฎีกาตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 อีกไม่ได้เพราะคำสั่งศาลแพ่งที่ติอุทธรณ์ของผู้ร้องขาดตอนไปแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227,228 เป็นเรื่องคำสั่งไม่รับคำคู่ความของศาลชั้นต้นในกรณีอื่นไม่ใช่กรณีไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อย จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามมาตรา 290 จำคุกจำเลยคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์คงพิพากษาว่าจำเลยผิดตามมาตรา 290 แต่ลดมาตราส่วนโทษให้นายซ้งจำเลยคนหนึ่ง 1 ใน 3 ให้จำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือน นอกนั้นวางโทษจำคุกคนละ 4 ปีและลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยคนละ 1 ใน 4 คงเหลือโทษจำคุกนายซ้ง 2 ปี จำเลยนอกนั้นคนละ 3 ปี ดังนี้ ถือว่าแก้น้อย ฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลไม่ต้องส่งฎีกาให้รับรอง การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา
การที่จำเลยขวนขวายจะให้ได้คำรับรองเพื่อฎีกา เป็นการรับอยู่ในตัวว่าจำเลยเห็นด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลย เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 ซึ่งให้ร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
เมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติให้ร้องตรงมายังศาลฎีกา อีกทั้งยังไม่มีการรับฎีกาอันจะถือได้ว่าคดีได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยก็มีแต่ทางจะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5,000 บาท และมีข้อจำกัดตามกฎหมายใหม่
คดีโจทก์เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และโจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2499 ดังนี้ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามความในมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.แพ่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2499 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2499 เป็นต้นไป.
of 7