พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงและการฟ้องเกิน 1 ปี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ด. บิดาจำเลย ต่อมาก่อน ด. จะถึงแก่ความตาย ด. ได้ขายให้โจทก์โดยการส่งมอบ โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตลอดมา จึงได้สิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ด. ไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อทำกินต่างดอกเบี้ย มิได้ครอบครองเพื่อตน หลังจาก ด. ถึงแก่ความตายโจทก์จำเลยฟ้องร้องกันเป็นคดีอาญาและต่างฝ่ายต่างถอนฟ้องไปแล้วจำเลยได้กลับเข้าครอบครองที่ดินพิพาท เพราะเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้นไม่เคยตกเป็นของโจทก์ กรณีจึงไม่อาจมีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยที่ 2 ไม่ยกประเด็นความประมาทเลินเล่อในคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 มิได้ยกประเด็นที่ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของตน คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นดังกล่าวมาแต่ต้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างมาในฎีกาว่าพยานเอกสารบางฉบับเข้าสู่สำนวนโดยมิชอบ ก็ถือว่าเป็นปัญหาในเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การ ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6126/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลต้องยกขึ้นต่อสู้ตั้งแต่ชั้นต้น หากไม่ทำ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงต้องนำคดีไปฟ้องยัง ศาลแรงงานนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกเรื่องอำนาจศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งปัญหาเรื่องอำนาจของศาลชำนัญพิเศษกับอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชั้นเดียวกันจะต้องยุติใน ศาลชั้นต้นเพื่อไม่ให้เป็นช่องทางแก่คู่ความประวิงคดี หากคู่ความไม่โต้แย้งหรือศาลชั้นต้นไม่ยกปัญหาขึ้นจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แสดงว่าคู่ความยอมรับอำนาจศาล ปัญหาตามฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5957/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งกันเองทำให้ไม่มีประเด็นครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยมิได้ปลูกโรงเรือนรุกล้ำ หากจำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 และหากที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ดังนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญากันโดยปริยาย และผลกระทบต่อการคืนเงินมัดจำ จำเลยฎีกาไม่ครบถ้วน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์บอกเลิกสัญญาไม่ชอบ สัญญาจะซื้อขายยังมีผลบังคับอยู่ ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานดังที่เป็นอยู่เดิม พิพากษาให้จำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยฎีกาแต่เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา โดยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า โจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายในภายหลังด้วย ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อโต้แย้งเรื่องพยานหลักฐานในข้อหาพรากผู้เยาว์ และยืนยันอำนาจฟ้อง
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามประกอบด้วยมาตรา 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน คดีสำหรับข้อหานี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามฟ้องนั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การจับและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน เพราะการจับเป็นวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำผิด ส่วนการสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ไม่ปรากฏว่าคดีนี้ไม่ได้มีการสอบสวนหรือการสอบสวนไม่ชอบอย่างไร ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การจับและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน เพราะการจับเป็นวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำผิด ส่วนการสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ไม่ปรากฏว่าคดีนี้ไม่ได้มีการสอบสวนหรือการสอบสวนไม่ชอบอย่างไร ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. กับ ศ. มีสินสมรสคือ ที่ดินตาม น.ส. 3 ก. ต่อมา ป. ตาย ที่ดินจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ต่อมา ศ. โอนที่ดินให้จำเลย จำเลยได้ไปขอออกโฉนด ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยให้การไว้ว่า ศ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำให้การของจำเลยจึงขัดแย้งกันเอง เพราะการที่ ศ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเห็นได้ในเบื้องต้นว่าเป็นการให้โดยเสน่หาซึ่งไม่มีค่าตอบแทน หากจำเลยเสียค่าตอบแทนอย่างไรก็ต้องกล่าวไว้ในคำให้การให้ชัดแจ้ง คำให้การเช่นนี้จึงไม่มีประเด็นในเรื่องการรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ไม่ครบถ้วน การที่จำเลยยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า ที่ดินพิพาทติดจำนอง จำเลยไถ่ถอนจำนองเอง ซึ่งเป็นการได้ที่ดินโดยเสียค่าตอบแทนและโจทก์ได้รับมรดกส่วนของตนไปแล้วนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า ที่ดินพิพาทติดจำนอง จำเลยไถ่ถอนจำนองเอง ซึ่งเป็นการได้ที่ดินโดยเสียค่าตอบแทนและโจทก์ได้รับมรดกส่วนของตนไปแล้วนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7175/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการแต่งทนายความ ทำให้ฎีกาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องฎีกาของจำเลยมี ส.ทนายความ เป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา ผู้เรียงและผู้พิมพ์ โดย ส.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้ ส.ยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาให้ถูกต้องเสียก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 232 และมาตรา 18 กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยทิ้งฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174จึงเป็นการล่วงเลยเวลา ที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ข้อเรียกร้องที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ไม่สามารถนำมาวินิจฉัยได้
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้ร้องทั้งสองไม่เหมาะสมจะเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องทั้งสองและแต่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก โดยมิได้มีคำขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องทั้งสองด้วย ปัญหาว่าผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องทั้งสองหรือไม่ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาล่าช้า: การยื่นฎีกาหลังหมดกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในวันที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมฎีกา โดยระบุขอให้ ถ. แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นลงนามรับรองฎีกาของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221นั้นยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้ แต่ ถ. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเพราะไม่ได้เป็นผู้พิจารณาคดีนี้ การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 อีกครั้งหนึ่ง เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยมาโดยอ้างว่าผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้