พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์: ศาลมีอำนาจสั่งแก้ไขก่อนรับคำฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามให้ยกฟ้อง
คดีแพ่ง คำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่มีลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นเพียงคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 67 (5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนด หากโจทก์ไม่ปฏิบัติก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา18 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์เมื่อแบบผลิตภัณฑ์ไม่ใหม่ คล้ายกับที่เปิดเผยก่อนหน้านี้
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า
++ โจทก์เป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำ คือ เครื่องหมายการค้า++++++++++++ มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวงไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง ปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่มรวม 3 แห่ง สลับกับพื้นเรียบตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++++ ++++++++ +++++++++
+++++++++ ++++++++ +++++++++
++
++ จำเลยเป็นเจ้าของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถมีลักษณะเป็นปลอกหุ้มทรงกลม ไส้กลางกลวง มีปุ่มนูนขอบเฉียงเป็นกลุ่มรวม 3 กลุ่ม ระยะห่างเท่า ๆ กัน ส่วนที่เหลือเป็นพื้นเรียบเจาะรูเป็นจุดขาว ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เอกสารหมาย ล.4 โดยจำเลยได้นำแบบปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังกล่าวไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 เป็นคำขอเลขที่ 019798 โดยมีข้อถือสิทธิในลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปต่อไปนี้
+++++++ ++++++++++++ ++++++++++
++ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาอนุมัติคำขอของจำเลยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538เป็นทะเบียนเลขที่ 4956
++ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลย และเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน2540 จำเลยนำร้อยตำรวจโทอภิชาติ อภิชานนท์ ไปตรวจค้นบ้านเลขที่26/82-83 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ผลิตจำนวน 3,184 เส้นพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการ โจทก์ และนางอุษา อัศวพิภพหรือลิขิตรัตนดารา ว่าร่วมกันขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรโดยไม่รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ในที่สุดพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วตามหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องเอกสารหมาย จ.39
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนั้น ได้มีการเปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ทำให้จำเลยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่โจทก์อ้างได้ เพราะการพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ต้องเกิดจากการเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นกับแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว
++ เห็นว่า ในข้อนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีดำ มีปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง พื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบมีจุดขาวทั่วไป ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เปิดเผยอยู่แล้วในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรและจำเลยได้ลอกเลียนซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์นั้นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์แต่ถูกจำเลยกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์เป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์อันไม่สมบูรณ์ของจำเลย ขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลย
++ ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยแล้วมีสีและลักษณะอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดแล้วว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีและลักษณะอย่างไร คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงให้พอเข้าใจได้แล้วว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วมีลักษณะอย่างไร ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ต่อไปว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีมูลความจริง แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์จึงสามารถให้การต่อสู้คดีได้เช่นนั้น
++ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้เปิดแผยแล้วได้เปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
++ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 และ 30 แล้ว ++
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่ 2 ว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า การพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนหรือไม่ ชอบที่จะพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบกัน มิใช่พิจารณาแต่เพียงโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์ดังนั้น ลำพังแต่ข้อเท็จจริงว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4มีโครงสร้างหลักคือการนำปุ่มยางมาใช้รวม 3 แห่ง วางสลับกับส่วนที่เป็นพื้นเรียบ ย่อมไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกันหรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นการเลียนแบบภาพสินค้าเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ที่ให้พิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์จากความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้น แต่มิใช่พิจารณาความใหม่เฉพาะจากสิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น การพิจารณารายละเอียดหรือภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาความใหม่ของผลิตภัณฑ์ เพราะภาพรวมหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างเพียงพอของแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งจะเป็นเครื่องชี้สำคัญที่ทำให้แบบผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างกัน หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดุดตาน่าสนใจกว่ากัน อันส่งผลต่อผู้บริโภคสินค้าภายใต้แบบผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และเป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง
++ เห็นว่า ปัญหานี้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 หรือ 57 บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กล่าวคือ
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรหรือที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรหรือที่เคยมีประกาศโฆษณาดังกล่าวก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และมาตรา 59 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องระบุข้อถือสิทธิโดยชัดแจ้งและภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรด้วย
++ ดังนี้การพิจารณาว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่จึงต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิในการออกแบบผลิตภัณฑ์และภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในส่วนใดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในและนอกราชอาณาจักร และแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28 มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรว่าข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ตามคำขอรับสิทธิบัตรทั้งหมดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วดังกล่าวไม่
++ คำว่า "แบบผลิตภัณฑ์"ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายความว่ารูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อันได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ลักษณะลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษตามที่ปรากฏ
++ ในข้อถือสิทธิโจทก์นำสืบว่า ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยซึ่งจำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 คือลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปดังต่อไปนี้
+++++++++ ++++++++++ +++++++++
++
ส่วนแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว ปรากฏตามภาพโฆษณาสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ในนิตยสาร "Hardwares" ประจำเดือนพฤศจิกายน 2534 เดือนเมษายน2535 เดือนกรกฎาคม 2535 เดือนตุลาคม 2535 และเดือนพฤศจิกายน2535 จำนวน 5 เล่ม เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 คือภาพ
+++++ +++++ +++++ +++++ +++++ +++++
++ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วดังกล่าว จะเห็นได้ว่า
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยอยู่ที่ปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง มีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากัน โดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำ
ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบสีเขียวมีจุดขาวหลายจุด
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเหมือนกับปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่งมีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากันโดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำตามภาพแบบผลิตภัณฑ์ในนิตยสาร"Hardwares" ที่เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าลักษณะปุ่มนูนดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะพิเศษอันเป็นสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามเอกสารหมาย จ.7ถึง จ.11 เช่นกัน
ลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อถือสิทธิของจำเลยต่างกับลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามภาพในเอกสารหมายจ.7 ถึง จ.11 เฉพาะในส่วนที่เป็นพื้นเรียบนอกจากปุ่มนูนโดยมีสีต่างกันและบางแบบผลิตภัณฑ์ไม่มีจุดสีขาวอย่างแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเท่านั้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ตามข้อถือสิทธิของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
เพราะแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยย่อมเป็นสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม" และถือว่าเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ++++++++++มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวง ไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง มีปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่ม 3 แห่งสลับกับพื้นเรียบ ตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++ ++++++++ +++++++++
++++++++ ++++++++ +++++++++
+ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ 4956 ของจำเลยจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคสอง
++ ส่วนที่จำเลยอ้างว่า แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วนั้น
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างและแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบโดยบังเอิญ จำเลยก็ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลยได้
เพราะการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ดังได้วินิจฉัยแล้ว
ดังนี้ เมื่อสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยตามสิทธิบัตรนั้งจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยย่อมไม่อาจเรียกให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์แก่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยไม่สมบูรณ์ พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว นั้นชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ. ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า
++ โจทก์เป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำ คือ เครื่องหมายการค้า++++++++++++ มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวงไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง ปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่มรวม 3 แห่ง สลับกับพื้นเรียบตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++++ ++++++++ +++++++++
+++++++++ ++++++++ +++++++++
++
++ จำเลยเป็นเจ้าของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถมีลักษณะเป็นปลอกหุ้มทรงกลม ไส้กลางกลวง มีปุ่มนูนขอบเฉียงเป็นกลุ่มรวม 3 กลุ่ม ระยะห่างเท่า ๆ กัน ส่วนที่เหลือเป็นพื้นเรียบเจาะรูเป็นจุดขาว ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เอกสารหมาย ล.4 โดยจำเลยได้นำแบบปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังกล่าวไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 เป็นคำขอเลขที่ 019798 โดยมีข้อถือสิทธิในลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปต่อไปนี้
+++++++ ++++++++++++ ++++++++++
++ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาอนุมัติคำขอของจำเลยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538เป็นทะเบียนเลขที่ 4956
++ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลย และเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน2540 จำเลยนำร้อยตำรวจโทอภิชาติ อภิชานนท์ ไปตรวจค้นบ้านเลขที่26/82-83 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ผลิตจำนวน 3,184 เส้นพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการ โจทก์ และนางอุษา อัศวพิภพหรือลิขิตรัตนดารา ว่าร่วมกันขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรโดยไม่รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ในที่สุดพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วตามหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องเอกสารหมาย จ.39
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนั้น ได้มีการเปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ทำให้จำเลยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่โจทก์อ้างได้ เพราะการพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ต้องเกิดจากการเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นกับแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว
++ เห็นว่า ในข้อนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีดำ มีปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง พื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบมีจุดขาวทั่วไป ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เปิดเผยอยู่แล้วในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรและจำเลยได้ลอกเลียนซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์นั้นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์แต่ถูกจำเลยกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์เป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์อันไม่สมบูรณ์ของจำเลย ขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลย
++ ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยแล้วมีสีและลักษณะอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดแล้วว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีและลักษณะอย่างไร คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงให้พอเข้าใจได้แล้วว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วมีลักษณะอย่างไร ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ต่อไปว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีมูลความจริง แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์จึงสามารถให้การต่อสู้คดีได้เช่นนั้น
++ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้เปิดแผยแล้วได้เปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
++ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 และ 30 แล้ว ++
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่ 2 ว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า การพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนหรือไม่ ชอบที่จะพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบกัน มิใช่พิจารณาแต่เพียงโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์ดังนั้น ลำพังแต่ข้อเท็จจริงว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4มีโครงสร้างหลักคือการนำปุ่มยางมาใช้รวม 3 แห่ง วางสลับกับส่วนที่เป็นพื้นเรียบ ย่อมไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกันหรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นการเลียนแบบภาพสินค้าเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ที่ให้พิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์จากความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้น แต่มิใช่พิจารณาความใหม่เฉพาะจากสิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น การพิจารณารายละเอียดหรือภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาความใหม่ของผลิตภัณฑ์ เพราะภาพรวมหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างเพียงพอของแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งจะเป็นเครื่องชี้สำคัญที่ทำให้แบบผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างกัน หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดุดตาน่าสนใจกว่ากัน อันส่งผลต่อผู้บริโภคสินค้าภายใต้แบบผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และเป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง
++ เห็นว่า ปัญหานี้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 หรือ 57 บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กล่าวคือ
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรหรือที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรหรือที่เคยมีประกาศโฆษณาดังกล่าวก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และมาตรา 59 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องระบุข้อถือสิทธิโดยชัดแจ้งและภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรด้วย
++ ดังนี้การพิจารณาว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่จึงต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิในการออกแบบผลิตภัณฑ์และภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในส่วนใดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในและนอกราชอาณาจักร และแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28 มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรว่าข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ตามคำขอรับสิทธิบัตรทั้งหมดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วดังกล่าวไม่
++ คำว่า "แบบผลิตภัณฑ์"ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายความว่ารูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อันได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ลักษณะลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษตามที่ปรากฏ
++ ในข้อถือสิทธิโจทก์นำสืบว่า ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956 ของจำเลยซึ่งจำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 คือลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปดังต่อไปนี้
+++++++++ ++++++++++ +++++++++
++
ส่วนแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว ปรากฏตามภาพโฆษณาสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ในนิตยสาร "Hardwares" ประจำเดือนพฤศจิกายน 2534 เดือนเมษายน2535 เดือนกรกฎาคม 2535 เดือนตุลาคม 2535 และเดือนพฤศจิกายน2535 จำนวน 5 เล่ม เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 คือภาพ
+++++ +++++ +++++ +++++ +++++ +++++
++ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วดังกล่าว จะเห็นได้ว่า
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยอยู่ที่ปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง มีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากัน โดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำ
ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบสีเขียวมีจุดขาวหลายจุด
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเหมือนกับปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่งมีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากันโดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำตามภาพแบบผลิตภัณฑ์ในนิตยสาร"Hardwares" ที่เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าลักษณะปุ่มนูนดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะพิเศษอันเป็นสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามเอกสารหมาย จ.7ถึง จ.11 เช่นกัน
ลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อถือสิทธิของจำเลยต่างกับลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามภาพในเอกสารหมายจ.7 ถึง จ.11 เฉพาะในส่วนที่เป็นพื้นเรียบนอกจากปุ่มนูนโดยมีสีต่างกันและบางแบบผลิตภัณฑ์ไม่มีจุดสีขาวอย่างแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเท่านั้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ตามข้อถือสิทธิของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
เพราะแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยย่อมเป็นสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม" และถือว่าเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ++++++++++มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวง ไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง มีปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่ม 3 แห่งสลับกับพื้นเรียบ ตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++ ++++++++ +++++++++
++++++++ ++++++++ +++++++++
+ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ 4956 ของจำเลยจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคสอง
++ ส่วนที่จำเลยอ้างว่า แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วนั้น
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างและแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบโดยบังเอิญ จำเลยก็ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" ของจำเลยได้
เพราะการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ดังได้วินิจฉัยแล้ว
ดังนี้ เมื่อสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยตามสิทธิบัตรนั้งจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยย่อมไม่อาจเรียกให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์แก่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ "ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ" เลขที่ 4956ของจำเลยไม่สมบูรณ์ พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว นั้นชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ. ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่สมบูรณ์และการฟ้องขับไล่: จำเลยยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์จึงยกข้อต่อสู้ไม่ได้
เดิมจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาท ต่อมาได้ขายให้แก่ ค. และ ค.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทระหว่างพิจารณาคดีค. และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยจะซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคืนและจะชำระเงินให้ภายใน 6 เดือน ซึ่งศาลได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แต่หลังจากที่จำเลยชำระราคาบ้านและที่ดินให้แก่ ค.ครบถ้วนแล้วค. ได้ขายบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าหลังจากจำเลยชำระราคาบ้านและที่ดินให้ ค. แล้วก็ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด ทำให้บ้านพิพาทดังกล่าวยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย จำเลยจึงเป็นเพียงบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เท่านั้น ซึ่งจำเลยอาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ หากการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างโจทก์และ ค. ไม่เสียค่าตอบแทนหรือกระทำการโดยไม่สุจริต แต่เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนบ้านพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือโดยไม่สุจริตอย่างไรคดีจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบเพื่อยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ได้แม้ก่อนหน้านี้จำเลยจะเคยแถลงต่อศาลทำนองว่า โจทก์รับโอนบ้านพิพาทมาโดยไม่สุจริต แต่การตั้งประเด็นในคดีต้องตั้งด้วยคำคู่ความ จะตั้งด้วยคำแถลงของคู่ความเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนบ้านพิพาทมาจาก ค. ตามสัญญาซื้อขายที่สมบูรณ์และมีผลบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของบ้านพิพาทมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายไม่สมบูรณ์เมื่อยังไม่ได้ติดตั้งสินค้า ผู้ซื้อมีสิทธิระงับการจ่ายเช็คและเลิกสัญญาได้
ส. สั่งซื้อเครื่องเสียงจากโจทก์โดยชำระราคาให้บางส่วน ที่เหลือได้ออกเช็คให้โจทก์ไว้ ซึ่งการส่งมอบโอนกรรมสิทธิ์เครื่องเสียงซึ่งเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายจะสำเร็จครบถ้วนได้ก็ด้วยการที่โจทก์จะต้องติดตั้งให้เรียบร้อยก่อน การที่โจทก์นำเครื่องเสียงส่วนหนึ่งไปติดตั้งให้แล้วคิดเป็นเงิน 100,000 บาทเศษ ส่วนที่เหลือยังไม่ได้ติดตั้ง ส.จึงสั่งจ่ายเช็คสองฉบับ ฉบับแรกจำนวนเงิน 200,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้รับชำระเงินไปแล้ว อีกฉบับคือเช็คพิพาท ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2537 ซึ่งเห็นได้ชัดแจ้งว่าในการชำระราคานั้น ส. ชำระให้เฉพาะส่วนที่ส่งมอบด้วยการติดตั้งแล้วส่วนเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าระยะเวลานานเพราะถือว่ายังไม่ได้ติดตั้งจึงไม่เป็นการส่งมอบที่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏว่าสินค้าที่โจทก์ติดตั้งให้ในคราวแรกนั้นมีความชำรุดบกพร่อง ส. จึงมีสิทธิสั่งธนาคารให้ระงับการชำระเงินตามเช็คพิพาทได้เมื่อการซื้อขายยังไม่เสร็จสมบูรณ์แม้ต่อมาส. จะถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. ได้ตกลงเลิกสัญญากับโจทก์โดยโจทก์ยอมรับสินค้าคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระราคาสินค้า จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ออกโดยไม่ชอบ ทำให้สิทธิในที่ดินไม่สมบูรณ์ และการโอนสิทธิแก่ผู้อื่นก็ไม่สมบูรณ์ตามไปด้วย
คดีก่อนศาลได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดว่า โจทก์ยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นผู้ได้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว แม้จะมีการดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทฉะนั้น การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทดังกล่าวเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 มีสิทธิครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกไว้ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามป.ที่ดิน มาตรา 61 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 6 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ในทำนองเดียวกันจำเลยที่ 7 ผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากจำเลยที่ 6 ในที่ดินพิพาทย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้โอน
การได้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ ดังนี้ คดีนี้จำเลยที่ 7 จะอ้างสิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่
คดีก่อนศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมาย ดังนี้โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์ในคดีก่อน แต่โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ในคดีนี้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้และการที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 7 ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในทะเบียนหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทน จะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลจะยกคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ดังกล่าวเสีย
คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา และพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ย่อมไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษาว่าสำหรับค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์
การได้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ ดังนี้ คดีนี้จำเลยที่ 7 จะอ้างสิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่
คดีก่อนศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมาย ดังนี้โจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์ในคดีก่อน แต่โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ในคดีนี้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้และการที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 7 ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในทะเบียนหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทน จะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลจะยกคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ดังกล่าวเสีย
คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา และพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ย่อมไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษาว่าสำหรับค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความโดยลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่สมบูรณ์ และผลต่อคำฟ้อง
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่ง ทนายความ ในใบแต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ย่อมไม่เสมอกับลงลายมือชื่อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสองมีผลเท่ากับการแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ทนายความผู้นั้นจึงยังไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องแทนโจทก์ได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสองและการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจกระทำได้หลายประการ เช่นให้โจทก์มาลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ หรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาลแต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่ โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนิน กระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้น โดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และ 67(5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความไม่สมบูรณ์ และผลต่อคำฟ้อง การแก้ไขข้อบกพร่องโดยผู้รับมอบอำนาจ
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ การแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ ทนายความผู้นั้นจึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ซึ่งเท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18วรรคสองคดีนี้เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้วบุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย เมื่อได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกัน ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และ 67(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์ (ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง) ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานได้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อนที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง
เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร โดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาทจึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่าปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อนที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง
เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร โดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาทจึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่าปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อ ในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อ ประกันหนี้ค่าหวยเถื่อน ที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลย ไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็น ตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ประมวลรัษฎากรโดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาท จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่า ปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งดังนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สมบูรณ์หากมิได้จดทะเบียน และสิทธิจำเป็นต้องมีข้อจำกัด
แม้ ท.เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคหนึ่ง และคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับ ท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ท.ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภาระจำยอมหรือเปิดทางพิพาทแก่โจทก์
การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะเมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าวกีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎรใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำเนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก
การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะเมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าวกีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎรใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำเนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก