พบผลลัพธ์ทั้งหมด 133 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรั้วกีดขวางทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ร่นแนวรั้วตามกฎหมาย จำเลยต้องรื้อถอน
จำเลยก่อสร้างรั้วริมซอย อันเป็นทางสาธารณะที่มีความกว้าง ไม่ถึง 6 เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่ร่นแนวรั้วให้ห่างจาก ศูนย์กลางซอย อย่างน้อย 3 เมตร จึงเป็นการ ฝ่าฝืนข้อบังคับกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 72 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21และเป็นการฝ่าฝืนที่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 42 จำเลยจึงต้องรื้อถอนรั้วดังกล่าว ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ความผิดฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. หากแต่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครอง ประโยชน์และ ความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามกฎหมายควบคุมอาคาร ไม่ใช่ละเมิด โจทก์มีสิทธิฟ้องรื้อถอนได้เสมอ
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ ความผิด ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากแต่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การใช้เครื่องจักรในที่ดินเพื่อผลิตแร่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็นตัวการในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืนตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำว่า อาคารสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักรเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 สั่งจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่อง มีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่เกลือหินขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์อันเป็นการแปรสภาพหรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้าขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5, 8, 12, 43 วรรคหนึ่ง, 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำว่า อาคารสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักรเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 สั่งจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่อง มีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่เกลือหินขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์อันเป็นการแปรสภาพหรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้าขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5, 8, 12, 43 วรรคหนึ่ง, 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีสำนักงานหรือป้ายโฆษณา ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
จำเลยตกลงหางานให้บุตรของป. ม. และ ห. แล้ว เรียก เอา ค่าบริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และจำเลยได้ได้ ดำเนินการ ที่จะให้บุตรของบุคคลทั้งสามได้เข้าทำงานโดยพาไปสมัครสอบ ถือได้ว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่บุคคลทั้งสามแล้วการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อทำงานในประเทศ โดยเรียกเก็บค่าบริการตอบแทนในการจัดหางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ความรับผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แม้ไม่มีของกลาง
ในข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พยานโจทก์เบิกความว่าเห็นจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายและได้ความจากพนักงานสอบสวนว่า ในชั้นสอบสวนได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และสอบถามจำเลย ปรากฏว่าจำเลยไม่มีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างแต่กลับเบิกความตอบคำถามค้านเจือสมว่า จำเลยไม่เคยมีใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและไม่มีใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว จึงถือว่าโจทก์ได้นำสืบถึงข้อหานี้แล้วและแม้ไม่ได้อาวุธปืนมาเป็นของกลางยืนยัน พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวก็เพียงพอฟังลงโทษจำเลยฐานนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่า อาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีตามกฎหมายหรือไม่ จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี โดยมิได้ขออนุญาตจากจำเลยและมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะ ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความ จำเลยนำสืบว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยขออนุญาตจากจำเลยโดยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ การนำสืบดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ไม่มีน้ำหนักอันควรรับฟัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลต้องบังคับรื้อถอนตามกฎหมาย
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯข้อ 76(4) ระบุว่า การก่อสร้างอาคารตึกแถว ห้องแถวต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารไม่น้อยกว่า 2 เมตร เมื่อจำเลยต่อเติมดัดแปลงอาคารปกคลุมที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมทำให้ไม่มีที่ว่างด้านหลังอาคารเดิมเหลืออยู่ อีกทั้งจำเลยต่อเติมดัดแปลงไปโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และอาคารที่ดัดแปลงแล้วนั้นไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม กรณีการต่อเติมดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตและเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้นั้นพระราชบัญญัติคุมคุมอาคารฯ มาตรา 42 มิได้ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้รื้อถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือไม่ก็ได้เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนศาลจำต้องบังคับให้มีการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมาย
การที่ ฮ. บิดาจำเลยได้ยกโครงหลังคาอาคารด้านหลังตึกแถวจากเดิม สูง 4 เมตรเป็น 6 เมตร เปลี่ยนเสากลางจากสูง 6 เมตรเป็นสูง 7 เมตร และเปลี่ยนหลังคาสังกะสีซึ่งคลุมพื้นที่ว่างด้านหลังตึกแถวเป็นหลังคากระเบื้องโดยใช้กำแพงรั้วอิฐบล็อก เดิม และก่อสร้างรั้วอิฐบล็อก โปร่ง เสริมจากรั้วอิฐบล็อก เดิม สูงขึ้นอีก 1 เมตร และใช้สังกะสีกั้นเป็นผนังต่อจากกำแพงรั้วขึ้นไปจนถึงขอบหลังคา เป็นการขยายรูปทรงและสัดส่วนของโครงสร้างอาคารและต่อเติมส่วนต่าง ๆ ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม ถือว่าเป็นการดัด แปลงอาคารตามบทบัญญัติดังกล่าวและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 76(4) เมื่อจำเลยให้ ฮ.ดัด แปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทด้านหลังตึกแถวออกไปทั้งหมดได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนคำพิพากษาให้รื้อถอน
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ทำการต่อเติมดัดแปลงอาคารในส่วนด้านหลังของอาคารจริง แต่มิได้ทำเชื่อมปิดคลุมทางเดินด้านหลังอาคารตามฟ้องโจทก์จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เนื่องจากได้ต่อเติมอาคารของตนเองในที่ดินของตนเอง และอาคารใกล้เคียงก็ได้มีการต่อเติมไว้ก่อนแล้วเช่นกันจำเลยจึงต้องต่อเติมอาคารของตนเองด้วยเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย โดยจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า ไม่ได้ต่อเติมอาคารด้านหลังเป็นแนวไปถึงรั้วหลังอาคารทั้งสองด้าน และมุงหลังคากระเบื้องตามฟ้อง คำให้การของจำเลยมีผลเท่ากับเป็นการรับว่าได้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76 (4) แล้ว