คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไล่เบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกัน เมื่อผู้ให้กู้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการฟ้องร้อง
ตามหนังสือสัญญากู้ที่จำเลยผู้กู้ได้กู้ยืมเงินไปจาก ท.โดยมีโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้กู้ยอมรับผิดในค่าพาหนะและค่าเสียหายต่าง ๆซึ่งผู้ให้กู้ต้องเสียไปในการทวงถาม ฟ้องร้อง จำเลยยอมใช้ให้ตามที่เสียหายจนครบถ้วน ต่อมา ท.นำสัญญากู้ฉบับนี้ไปฟ้องจำเลยและโจทก์ โจทก์ได้ชำระเงินตามคำพิพากษา 89,220 บาท และค่าใช้จ่ายอย่างอื่น 2,080 บาท ให้ ท.แม้เงินส่วนนี้ ท.จะมิได้เรียกร้องไว้ในขณะฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวน2,080 บาท ให้ ท.ไปจริง จึงรวมเป็นต้นเงินทั้งหมดที่โจทก์ชำระให้ ท.ไปโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยให้จำเลยชำระเงินจำนวน 91,300 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 693

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการลากจูงรถและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ แต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสิบล้อ วิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อ ให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือ เป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่น สะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูงโดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1และที่ 2 และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4ยืนยันต่อจำเลยที่ 2 ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะ จะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้องลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตราย และเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้
การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็ก แต่ถ้าหากผูกหลายทบเข้าด้วยกันก็กลายเป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามป.พ.พ.มาตรา 226, 227, 432 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คคืนเงิน, การไล่เบี้ย, อายุความ, การสลักหลัง, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสาร เพราะไม่ทราบว่ามีค่าอ้างเอกสารค้างชำระอยู่ ครั้นเมื่อโจทก์ทราบก็รีบจัดการชำระค่าอ้างเอกสารก่อนยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับไว้ อันเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงให้ถูกต้องแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวของโจทก์เสียไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คตามฟ้องจากจำเลยทั้งสามเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์สลักหลังเช็คนั้นไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารที่รับซื้อลดเช็คนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ โจทก์ได้ใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่ธนาคารผู้ทรงเช็คเรียบร้อยแล้วและได้รับเช็คคืนมา พร้อมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์นำเงินไปชำระแก่ธนาคารและรับเช็คคืนมาเมื่อวันที่เท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทนำไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค การสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 โจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ไล่เบี้ยจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตามป.พ.พ.มาตรา 1003 ไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งหกฉบับรวมเป็นเงิน 1,757,500 บาท ชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งหกฉบับแก่โจทก์ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 670,603.56 บาท โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระไปนั้นเป็นเงินค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเป็นค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: สิทธิของผู้สลักหลังหลังรับเช็คคืนจากธนาคาร
เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วส่งมอบให้ธนาคารก.เพื่อขายลดเช็ค ย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นธนาคารก. จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และเมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจึงมิใช่การเรียกเก็บเงินในฐานะที่โจทก์ยังเป็นผู้ทรงเช็คอยู่ครั้นเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คให้ธนาคารก.และรับเช็คพิพาทคืนมาโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สลักหลังหาใช่ผู้ทรงเช็ค ขณะนั้นไม่จึงต้องฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่โจทก์เข้าถือเอาเช็คพิพาทและใช้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนและการไล่เบี้ย แม้ฐานะฟ้องผิด ศาลปรับบทกฎหมายได้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคารโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่จำเลยก็ให้การยอมรับว่า จำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงิน ทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระเงินแทนจำเลยไปจริง อันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 680 แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง
เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์ และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้น เป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลย และขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์
เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏอย่างใดแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมาย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในสังกัด และสิทธิไล่เบี้ยของนิติบุคคล
จำเลยให้การว่า จำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่า การฟ้องคดีของพันตำรวจเอก ร. เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์ เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ ดังนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่า ที่พันตำรวจเอก ร. ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้น พันตำรวจเอก ร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลย เมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอก ร. เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอก ร. เสียหาย และคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอก ร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง คดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอก ร. ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอก ร. แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อในฐานะผู้แทนของหน่วยงาน
จำเลยให้การว่าจำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าการฟ้องคดีของพันตำรวจเอกร.เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรงจำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่าที่พันตำรวจเอกร.ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้นพันตำรวจเอกร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตจำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลยเมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอกร.เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอกร.เสียหายและคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอกร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งคดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอกร.ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอกร.แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9035/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยความเสียหายจากอุบัติเหตุรถแท็กซี่: ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม และขอบเขตความรับผิดตามสัญญา
โจทก์และจำเลยในคดีนี้กับ ป.เคยถูก ช.ฟ้องเป็นจำเลยให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากรถยนต์แท็กซี่ของจำเลยซึ่งขับโดย ป.ชนรถยนต์ของ ช.เสียหาย คดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ ป.และโจทก์ร่วมกันชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่ ช.ส่วนจำเลยศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้นำรถยนต์แท็กซี่พิพาทเข้าร่วมเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้โจทก์กับจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยไม่ได้นำรถยนต์แท็กซี่พิพาทเข้าร่วมเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
แม้ในแบบพิมพ์คำร้องขอลาออกจากการเป็นสมาชิกของโจทก์ซึ่งจำเลยลงชื่อจะมีข้อความว่า หากจำเลยหรือบุคคลที่จำเลยมอบหมายให้ขับรถยนต์แท็กซี่คันพิพาทได้กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น ทำให้โจทก์ต้องร่วมรับผิด และทางโจทก์มาทราบผลละเมิดภายหลังที่จำเลยได้ลาออกจากการเป็นสมาชิก จำเลยขอรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ทั้งสิ้น และขอสละข้อต่อสู้ต่าง ๆ ทั้งหมดในการที่โจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายก็ตาม เงื่อนไขตามเอกสารดังกล่าวจะต้องเป็นกรณีละเมิดที่เกิดในระหว่างที่จำเลยเป็นสมาชิกและนำรถยนต์แท็กซี่พิพาทเข้าวิ่งร่วมกับโจทก์ตามสัญญารถร่วมด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดและผูกพันโจทก์และจำเลยว่าจำเลยไม่ได้นำรถยนต์แท็กซี่พิพาทเข้าร่วมเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อประโยชน์ร่วมกันและจำเลยไม่ต้องรับผิดร่วมกับโจทก์แล้วโจทก์จะมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันเมื่อชำระหนี้แทนลูกหนี้ และอายุความในการรับช่วงสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 696 วรรคหนึ่งผู้ค้ำประกันจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ก็ต่อเมื่อได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปโดยมิได้บอกลูกหนี้และลูกหนี้ได้ชำระหนี้ซ้ำอีกเพียงกรณีเดียวเท่านั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ป. ชำระหนี้จำนวน 390,000 บาท ให้แก่บริษัท ธ. เจ้าหนี้ของ ป. ไปแล้ว คงเหลือยังไม่ได้ชำระอยู่อีกจำนวน 43,441.43 บาท หนี้จำนวนที่ยังไม่ได้ชำระนี้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมในเวลาต่อมาถูกฟ้องและได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ให้แก่ บริษัท ธ. โดยไม่ได้ซ้ำกับยอดหนี้ส่วนที่โจทก์ได้ชำระแทนไปแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้บอกแก่จำเลยว่าโจทก์ ได้ชำระหนี้แทน ป. ให้จำเลยทราบก็ตามก็ชอบที่จะรับช่วงสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเงินจำนวน 390,000 บาทเอาแก่จำเลยได้ สิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทของป. เกิดจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้ที่ ป.เจ้ามรดกมีอยู่ต่อบริษัท ธ. ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิที่ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เพิ่งมีขึ้นในวันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ไปอันเป็นเวลาหลังจากที่เจ้ามรดกตาย เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเรื่องอายุความแห่งการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คืออายุความสิบปี จะนำอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งเป็นอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดก มาใช้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะลูกหนี้ตั๋วแลกเงิน: เจ้าหนี้ผู้รับรองมีสิทธิไล่เบี้ยหรือไม่
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 937 ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน ลูกหนี้ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามมาตรา 967 วรรคสาม เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ได้
of 13