พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่มิได้จดทะเบียนและผลผูกพันต่อผู้รับโอนทรัพย์ สิทธิเช่ามีผลแค่ 3 ปี
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดอายุการเช่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่า. แม้จะเป็นการตอบแทนกับผู้ที่เช่าออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนในกรณีพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาก็ตาม. ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น. ไม่มีผลผูกพันเจ้าของผู้รับโอนตึกนั้นไปภายหลัง.
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น.
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224. แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม. เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น.
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224. แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม. เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับสัญญาเช่าและผลของการครอบครองที่ดินเกิน 3 ปี
โจทก์ฎีกาว่า แม้จะบังคับให้จำเลยต่อสัญญาเช่าที่ดินให้โจทก์ 10 ปีไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 แต่ศาลน่าจะบังคับให้จำเลยต่อสัญญาเช่าให้โจทก์ 3 ปีได้ เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่านับแต่สัญญาเช่าเดิมสิ้นอายุโจทก์ได้ครอบครองที่ดินที่เช่ามาจนถึงเวลานี้เกิน 3 ปี แล้วฎีกาของโจทก์จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน ผลบังคับใช้ 3 ปี ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ทำสัญญาเช่ากันมีกำหนด 5 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียน จึงมีผลบังคับเพียง 3 ปี เมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกการเช่าก็ต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 สัญญาเช่าจึงจะระงับ
แต่ในปัญหาดังนี้ ถ้าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องบอกกล่าว และสั่งงดสืบพยานในข้อนี้ การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ(เพราะคดียังมีประเด็นข้ออื่นอีกด้วย) แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งไว้เสียแต่ศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3)
แต่ในปัญหาดังนี้ ถ้าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องบอกกล่าว และสั่งงดสืบพยานในข้อนี้ การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ(เพราะคดียังมีประเด็นข้ออื่นอีกด้วย) แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งไว้เสียแต่ศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียนมีผลบังคับใช้ 3 ปี การฟ้องขับไล่ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหากเหตุต่างกัน
คดีแรกโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอาศัยเหตุที่คณะกรรมการควบคุมค่าเช่าลงมติให้โจทก์เข้าอยู่ในห้องพิพาทได้ ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องไปแล้ว คดีหลังโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอีก แต่อาศัยเหตุที่สัญญาเช่าหมดอายุแล้ว เช่นนี้ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะอาศัยเหตุที่ฟ้องต่างกัน
เมื่อฟังว่าจำเลยเช่าเพื่อประกอบการค้าโดยตรง ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ
ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กันไว้ 5 ปี แต่ไม่มีการจดทะเบียนการเช่า ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อครบ 3 ปีแล้วผู้ให้เช่าก็มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าได้
ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กันไว้ 5 ปี แต่เมื่อไม่ปรากฎในหนังสือสัญญาเช่าว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าในภายหลัง ย่อมไม่ผูกพันผู้รับโอนทรัพย์ที่ให้เช่า ให้จำต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้เช่า.
เมื่อฟังว่าจำเลยเช่าเพื่อประกอบการค้าโดยตรง ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ
ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กันไว้ 5 ปี แต่ไม่มีการจดทะเบียนการเช่า ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อครบ 3 ปีแล้วผู้ให้เช่าก็มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าได้
ทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กันไว้ 5 ปี แต่เมื่อไม่ปรากฎในหนังสือสัญญาเช่าว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าในภายหลัง ย่อมไม่ผูกพันผู้รับโอนทรัพย์ที่ให้เช่า ให้จำต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้เช่า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน: สัญญาใช้ได้แค่ 3 ปี
จำเลยเช่าห้องมีเวลาเกิน 3 ปี(6 ปี2 เดือน) หากไม่ไปจดทะเบียนการเช่าไว้ต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว สัญญาเช่าใช้ได้เพียง 3 ปี เกิน 3 ปีไปเมื่อจำเลยถูกฟ้องจะยกขึ้นต่อสู้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน: สิทธิเช่ามีผลบังคับใช้แค่ 3 ปี
จำเลยเช่าห้องมีเวลาเกิน 3 ปี (6 ปี 2 เดือน) หากไม่ไปจดทะเบียนการเช่าไว้ต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว สัญญาเช่าใช้ได้เพียง 3 ปี เกิน 3 ปีไปเมื่อจำเลยถูกฟ้องจะยกขึ้นต่อสู้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพื่อค้า ไม่คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า สัญญาเกิน 3 ปีใช้ได้แค่ 3 ปี
สัญญาเช่าที่ดินมีข้อความว่า เช่าเพื่อจะใช้เป็นแหล่งการค้าเสาไม้กระดาน และเครื่องอุปกรณ์และอื่นๆ หาปรากฏว่าจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยไม่และผู้เช่าซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ได้ใช้ที่นี้เป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทของผู้เช่าดังนี้ เป็นการเช่าเพื่อประโยชน์ในการค้าโดยตรง ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ(อ้างฎีกาที่ 11/2492)
นิติบุคคลเช่าห้องแถว ให้คนงานของตนอยู่อาศัยในบริเวณที่ดินซึ่งนิติบุคคลนั้นเช่าตั้งสำนักงานประกอบการค้าขายนั้น ถือว่าเป็นการเช่าเพื่อประโยชน์แก่การค้าของนิติบุคคลนั้นเอง. ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ
สัญญาเช่าทำกันเองในฉบับเดียวกันแบ่งเวลาเช่าเป็น 2 งวดงวดแรก3 ปี งวดหลัง 2 ปี ดังนี้ มีผลเท่ากับทำคราวเดียวกำหนด 5 ปี ฉะนั้นตามกฎหมายย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปีเท่านั้น
นิติบุคคลเช่าห้องแถว ให้คนงานของตนอยู่อาศัยในบริเวณที่ดินซึ่งนิติบุคคลนั้นเช่าตั้งสำนักงานประกอบการค้าขายนั้น ถือว่าเป็นการเช่าเพื่อประโยชน์แก่การค้าของนิติบุคคลนั้นเอง. ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ
สัญญาเช่าทำกันเองในฉบับเดียวกันแบ่งเวลาเช่าเป็น 2 งวดงวดแรก3 ปี งวดหลัง 2 ปี ดังนี้ มีผลเท่ากับทำคราวเดียวกำหนด 5 ปี ฉะนั้นตามกฎหมายย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่านาโดยผู้ปกครองเด็กเกิน 3 ปี: ศาลบังคับใช้ได้เฉพาะส่วนที่เกิน 3 ปีไม่ได้ คืนค่าเช่าและค่าเสียหาย
บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ปกครองเด็กทำหนังสือสัญญาให้ผู้อื่นเช่านาของเด็กมีกำหนดเวลากว่า 3 ปี การเช่านั้นย่อมสมบูรณ์ที่จะฟ้องร้องบังคับกันได้เพียง 3 ปี แม้การทำสัญญานั้นไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญานั้นก็ย่อมผูกพันเด็ก
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ส่งทรัพย์ที่ เช่าหรือคืนค่าเช่าล่วงหน้าและเรียกค่าเสียหายแต่มายื่นฟ้องเมื่อจวนครบสิ้นสัญญาเช่า ศาลย่อมไม่บังคับให้ส่งทรัพย์ที่เช่าคงให้คืนค่าเช่าล่วงหน้ากับใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ส่งทรัพย์ที่ เช่าหรือคืนค่าเช่าล่วงหน้าและเรียกค่าเสียหายแต่มายื่นฟ้องเมื่อจวนครบสิ้นสัญญาเช่า ศาลย่อมไม่บังคับให้ส่งทรัพย์ที่เช่าคงให้คืนค่าเช่าล่วงหน้ากับใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเกิน 3 ปี ต้องทำตามแบบ หากไม่ทำบังคับได้แค่ 3 ปี
ทำสัญญาเช่าที่ดินวันเดียวกัน 2 ฉบับมีกำหนดการเช่าฉบับละ 3 ปีอันเป็นเวลาต่อกันไปเป็น 6 ปีนั้น ถือว่าการเช่าที่เกิน 3 ปีขัดต่อมาตรา 538 จึงบังคับคดีได้เพียง 3 ปี
ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้าง หรือมิได้ให้การถึง ต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้น ๆ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องสืบอีกและในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องขาดนัดยื่นคำให้การ.
ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้าง หรือมิได้ให้การถึง ต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้น ๆ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องสืบอีกและในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องขาดนัดยื่นคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเกิน 3 ปี ต้องทำตามแบบ หากไม่ถูกต้องบังคับคดีได้แค่ 3 ปี
ทำสัญญาเช่าที่ดินวันเดียวกัน 2 ฉบับมีกำหนดการเช่าฉบับละ 3 ปีอันเป็นเวลาต่อกันไปเป็น 6 ปีนั้น ถือว่าการเช่าที่เกิน 3 ปีขัดต่อมาตรา 538 จึงบังคับคดีได้เพียง 3 ปี
ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้างหรือมิได้ให้การถึง ต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้นๆ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องสืบอีก และในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องขาดนัดยื่นคำให้การ
ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้างหรือมิได้ให้การถึง ต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้นๆ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องสืบอีก และในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องขาดนัดยื่นคำให้การ