คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่ความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 557 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672-673/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงระหว่างคู่ความในชั้นพิจารณาคดีมีผลผูกพันบังคับได้ และศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินไปได้
ข้อตกลงของคู่ความที่ศาลได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในระหว่างพิจารณาคดีว่า หากจำเลยชนะคดีและโจทก์ไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไปภายใน 3 วัน โจทก์ยอมใช้ค่าเสียหายให้วันละ 200 บาทนั้น เป็นเรื่องพิพาทกันในชั้นขอให้คุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างคดีก่อนมีคำพิพากษา คู่ความจึงขอให้บังคับตามข้อตกลงในคดีเดิมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264, 260(2)
ส่วนค่าเสียหายตามข้อตกลงนั้นถือว่าเป็นเบี้ยปรับ และศาลมีอำนาจลดลงได้ตามสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672-673/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงระหว่างคู่ความในชั้นพิจารณาคดีมีผลผูกพันบังคับได้ และศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินไปได้
ข้อตกลงของคู่ความที่ศาลได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในระหว่าง พิจารณาคดีว่า หากจำเลยชนะคดีและโจทก์ไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไปภายใน 3 วัน โจทก์ยอมใช้ค่าเสียหายให้วันละ 200 บาทนั้น เป็นเรื่องพิพาทกันในชั้นขอให้คุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างคดีก่อนมีคำพิพากษา คู่ความในระหว่างคดีก่อนมีคำพิพากษา คู่ความจึงขอให้บังคับตามข้อตกลงในคดีเดิมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264,260(2)
ส่วนค่าเสียหายตามข้อตกลงนั้นถือว่าเป็นเบี้ยปรับ และศาลมีอำนาจลดลงได้ตามสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองในการเป็นทายาทและคู่ความ
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ย่อมเป็นผู้สืบสันดานของบิดาเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมีสิทธิขอเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูกหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่บิดาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 โดยไม่ต้องคำนึงว่าบิดามีทรัพย์มรดกตกทอดได้แก่บุตรนั้นหรือไม่ เพราะตามมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่มีบทบัญญัติบังคับไว้ว่าทายาทที่จะเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูกหมายเรียกเข้าเป็นคู่ความแทน จะต้องเป็นทายาทที่เข้ามารับเอาทรัพย์มรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 44 ผู้คัดค้านจะมีโอกาสคัดค้านไม่ยอมเข้ามาเป็นคู่ความ ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านมิได้เป็นทายาทของคู่ความ การที่ผู้คัดค้านมิได้รับทรัพย์มรดกของคู่ความยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอจะยกขึ้นปฏิเสธได้ เพราะตามกฎหมาย ผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หรือรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองในการเป็นทายาทและคู่ความ
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ย่อมเป็นผู้สืบสันดานของบิดาเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมีสิทธิขอเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูกหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่บิดาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 โดยไม่ต้องคำนึงว่าบิดามีทรัพย์มรดกตกทอดได้แก่บุตรนั้นหรือไม่เพราะตามมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่มีบทบัญญัติบังคับไว้ว่าทายาทที่จะเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูกหมายเรียกเข้าเป็นคู่ความแทน จะต้องเป็นทายาทที่เข้ามารับเอาทรัพย์มรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 44 ผู้คัดค้านจะมีโอกาสคัดค้านไม่ยอมเข้ามาเป็นคู่ความ ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านมิได้เป็นทายาทของคู่ความ การที่ผู้คัดค้านมิได้รับทรัพย์มรดกของคู่ความยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอจะยกขึ้นปฏิเสธได้เพราะตามกฎหมายผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หรือรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ยังไม่ได้ประทับฟ้อง: จำเลยยังไม่มีฐานะคู่ความ จึงไม่มีสิทธิฎีกา
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จเป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับและควบคุมตัว และเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 จำเลยไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อหาคดีอาญาว่าคดีมีมูลศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้พิจารณาว่าคดีมีมูลหรือไม่แล้วสั่งใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 165 จำเลยยังมิเข้ามาสู่ฐานะคู่ความ ย่อมไม่มีสิทธิฎีกา (อ้างนัยฎีกาที่ 1229/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีราษฎรฟ้อง: จำเลยยังไม่เป็นคู่ความจนกว่าจะมีการประทับฟ้อง
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จเป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับและควบคุมตัว และเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 จำเลยไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อหาคดีอาญาว่าคดีมีมูล ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้พิจารณาว่าคดีมีมูลหรือไม่แล้วสั่งใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165 จำเลยยังมิเข้ามาสู่ฐานะคู่ความ ย่อมไม่มีสิทธิฎีกา(อ้างนัยฎีกาที่ 1229/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันตามคำพิพากษาเดิม: ข้อเท็จจริงในคดีก่อนย่อมผูกพันคู่ความในคดีหลังเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน
ข้อเท็จจริงในคดีก่อนซึ่งได้ว่ากันมาแล้วจนถึงที่สุดในชั้นฎีกาย่อมผูกพันคู่กรณีในคดีหลังซึ่งเคยเป็นคู่ความกันมาในคดีก่อน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปิดกั้นคูหรือลำรางพิพาท จำเลยให้การรับว่าปิดจริง แต่ปิดกั้นคูหรือลำรางในที่ดินของจำเลย ดังนี้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องสืบในข้อที่ว่าจำเลยปิดกั้นคูหรือลำรางหรือไม่
ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา จำเลยเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานเท่านั้น ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี จึงเท่ากับจำเลยขอให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ให้งดสืบพยานดำเนินการสืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ ดังนั้น ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา จำเลยจึงควรเสียเพียงศาลละ 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(อ้างฎีกาที่ 1689/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำเกี่ยวกับการแบ่งมรดก: แม้เปลี่ยนรูปคดี ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้ำหากประเด็นข้อพิพาทเหมือนเดิม
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ขอแบ่งมรดกผู้ตาย ศาลพิพากษาให้แบ่ง คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลงขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดก็ตามแต่จำเลยก็ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายซึ่งจำเลยมีสิทธิรับมรดำด้วย และทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ที่พิพาทครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อพิจารณาคำฟ้อง คำให้การและข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารราเกี่ยวกับการแบ่งมรดกนั่นเอง ถือได้ว่ามีประเด็นอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีมรดกซึ่งเป็นเรื่องพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์โดยตรง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เมื่อคดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ก็ไม่มีทางจะขอแบ่งมรดกจากจำเลยที่ 1 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตให้ร้องสอดเป็นคู่ความ ขึ้นอยู่กับเหตุสมควรและไม่กระทบต่อการพิจารณาคดี
การที่ผู้ร้องสอด ร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)(2) นั้นมิได้หมายความว่า ศาลต้องอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ทุกกรณีไป ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตหรือไม่ แล้วแต่คำร้องนั้นมีเหตุสมควรเพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอห้ามชั่วคราวเป็นคำขอฝ่ายเดียว ศาลมีอำนาจพิจารณาฟังคู่ความอีกฝ่ายก่อนได้
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเดินซึ่งเป็นภารจำยอมและได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราว คือให้จำเลยเปิดทางเดินในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดนั้นถือว่าเป็นคำขอฝ่ายเดียว กฎหมายไม่บังคับว่าต้องให้โอกาสคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนจึงอยู่ในอำนาจหรือดุลพินิจของศาลที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนก็ได้
of 56