พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินดาวน์เช่าซื้อ, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การชำระด้วยเช็ค, ความเสียหายจากการใช้รถ
เงินดาวน์เป็นเงินค่าเช่าซื้อส่วนหนึ่งที่ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระในวันทำสัญญา หาใช่เงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่ ตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเงินดาวน์ด้วย ตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อห้ามการชำระค่าเช่าซื้อด้วยเช็คโจทก์ผู้ให้เช่าย่อมรับชำระเงินดาวน์ด้วยเช็คได้ เมื่อโจทก์รับเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิด
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อและใบเสร็จรับเงินจะระบุว่า โจทก์ได้รับเงินดาวน์จำนวน 25,080 บาทไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าชำระเงินดาวน์ด้วยเช็ค โจทก์ก็นำสืบได้ว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ หาเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
เมื่อจำเลยที่ 2 เอารถคันพิพาทไปใช้ชำรุดเสียหาย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถคันนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรค 3 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513)
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อและใบเสร็จรับเงินจะระบุว่า โจทก์ได้รับเงินดาวน์จำนวน 25,080 บาทไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าชำระเงินดาวน์ด้วยเช็ค โจทก์ก็นำสืบได้ว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ หาเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
เมื่อจำเลยที่ 2 เอารถคันพิพาทไปใช้ชำรุดเสียหาย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถคันนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรค 3 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อค้ำประกันไม่พ้นความรับผิด เช็คเป็นเพียงตราสารสั่งจ่ายเงิน มูลหนี้เป็นรายละเอียดที่สืบได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การว่าจำเลยออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันมิใช่จ่ายเงินตามเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้ แม้จำเลยจะนำสืบฟังได้ตามข้อต่อสู้ก็ไม่พ้นความรับผิดเพราะการออกเช็คเพื่อค้ำประกันลูกหนี้ให้โจทก์ก็เป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยลูกหนี้มีมูลหนี้ต่อโจทก์จริง
การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้จะมิได้ระบุมูลหนี้ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเช็คเป็นเพียงตราสารที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินมูลหนี้เป็นค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันได้ในชั้นพิจารณา
การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้จะมิได้ระบุมูลหนี้ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเช็คเป็นเพียงตราสารที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินมูลหนี้เป็นค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงของสัญญา, การแก้ไขแบบแปลน, สัญญาค้ำประกันที่ไม่ใช่เงินมัดจำ, และการโต้แย้งคำสั่งศาล
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยระบุอ้างพยานบุคคลภายหลังเวลาที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นไปแล้ว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างโรงเรียนเป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ตามแบบแปลนท้ายสัญญาจะแสดงว่าเป็นรูปอาคาร 4 ห้องเรียน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแบบแปลนนั้นได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงเรียนให้จำเลย โดยมีธนาคาร ก. ทำสัญญาค้ำประกันต่อจำเลยว่า เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือปฏิบัติผิดสัญญาซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากโจทก์ได้แล้ว ธนาคาร ก.จะยอมชำระเงินแทนโจทก์ให้แก่จำเลยภายในวงเงินที่ค้ำประกันทันที โดยธนาคาร ก. มิได้วางเงินสดตามสัญญาค้ำประกันไว้ต่อจำเลย สัญญาค้ำประกันนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นมัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยโจทก์ผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างโรงเรียนเป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ตามแบบแปลนท้ายสัญญาจะแสดงว่าเป็นรูปอาคาร 4 ห้องเรียน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแบบแปลนนั้นได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงเรียนให้จำเลย โดยมีธนาคาร ก. ทำสัญญาค้ำประกันต่อจำเลยว่า เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือปฏิบัติผิดสัญญาซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากโจทก์ได้แล้ว ธนาคาร ก.จะยอมชำระเงินแทนโจทก์ให้แก่จำเลยภายในวงเงินที่ค้ำประกันทันที โดยธนาคาร ก. มิได้วางเงินสดตามสัญญาค้ำประกันไว้ต่อจำเลย สัญญาค้ำประกันนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นมัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยโจทก์ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจค้ำประกันไม่เข้าข่ายนายหน้า/ตัวแทน เสียภาษีตามประเภทธุรกิจธนาคาร
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจการค้าหลายประเภทซึ่งรวมทั้งการเข้าทำสัญญาค้ำประกันต่อธนาคาร ในการประกอบธุรกิจในทางค้ำประกันโจทก์ได้ทำสัญญาต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดยโจทก์จะรับเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในบรรดาธุรกิจต่างๆ ซึ่งธนาคารจะมอบหมายให้เป็นผู้ค้ำประกันผู้เคยค้าที่จะทำนิติกรรมผูกพันกับธนาคาร ซึ่งในการนี้ธนาคารได้ช่วยค่าใช้จ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนๆ ละไม่น้อยกว่า 5,000 บาททุกเดือน และยังแบ่งผลประโยชน์ที่ธนาคารจะพึงได้รับจากดอกเบี้ยที่โจทก์เข้าค้ำประกันให้อีก ทั้งธนาคารยอมให้โจทก์เรียกผลประโยชน์ในการค้ำประกันจากลูกหนี้ตามสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคาร เพื่อประกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของโจทก์ โจทก์ได้นำหลักทรัพย์มูลค่าสิบล้านบาทมาวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารการประกอบกิจการค้าของโจทก์ดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เองโดยโจทก์ใช้ทรัพย์สินเป็นการลงทุนวางเป็นประกันต่อธนาคารและในการที่โจทก์เข้าทำสัญญาค้ำประกันลูกหนี้กับธนาคารนั้น แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ตอบแทน โจทก์ก็เสี่ยงในการที่จะได้รับความเสียหายในฐานะร่วมรับผิดต่อธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเป็นส่วนตัว การประกอบกิจการค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นนายหน้าและตัวแทน ทั้งมิใช่เป็นการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 10 แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าในประเภทการค้า 12 ธนาคาร โดยกิจการของโจทก์เข้าลักษณะกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีอายุจำกัด ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสิ้นสุดเมื่อพ้นระยะเวลาค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 จะผูกพันจำเลยที่ 2 ไว้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจะชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ในระหว่างระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายหลังระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ก็ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้และการผ่อนเวลาชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดเมื่อเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ มิใช่ผู้ค้ำประกัน
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ซึ่งกู้เงินโจทก์ ภายหลังจำเลยได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยอมใช้เงินให้โจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินตามสัญญารับสภาพหนี้นั้น จำเลยจะอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้หาเพียงพอที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ไม่และที่จำเลยต่อสู้คดีว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้จำเลย ก็มิใช่เป็นเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ที่จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15, 22 (4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15, 22 (4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและการยินยอมเปลี่ยนแปลงหนี้: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่ยินยอมล่าสุด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 150,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีอีก150,000 บาท และขอต่ออายุสัญญาอีก 2 ครั้ง จำเลยที่ 2ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญา และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ด้วย ครั้งหลังสุดจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นเงิน 1,163,475.31 บาท จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญานี้ และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์และยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อไปตามข้อกำหนดแห่งสัญญาที่ได้ทำไว้นั้นดังนี้ จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,163,475.31 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ครั้งหลังสุด ตามที่จำเลยที่ 2 ยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและการยินยอมเปลี่ยนแปลงสัญญา ก่อให้เกิดความผูกพันตามจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้น
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 150,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีอีก 150,000 บาท และขอต่ออายุสัญญาอีก 2 ครั้ง จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญา และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ด้วย ครั้งหลังสุดจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นเงิน 1,163,475.31 บาท จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญานี้ และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต่อไปตามข้อกำหนดแห่งสัญญาที่ได้ทำไว้นั้น ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,163,475.31 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ครั้งหลังสุด ตามที่จำเลยที่ 2 ยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ด้วย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันครอบคลุมหนี้เดิมและดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณี
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัทจึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้วจึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้วจึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี ความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อหนี้เดิมและหนี้ในอนาคต ข้อตกลงดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1 เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัท จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกัน แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1 ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้ว จึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกัน แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1 ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้ว จึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย