คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8081/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าสำนักสถานที่พักต่อความเสียหายของทรัพย์สินของผู้เข้าพัก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 674
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีโดยแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธว่า การเช่าห้องพักมีข้อตกลงตามสัญญาเช่าว่า ผู้ให้เช่าจะไม่รับผิดชอบในความสูญหายแก่ทรัพย์สินของผู้เช่า จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
การที่จำเลยยินยอมออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีในนามจำเลยให้แก่ผู้มาพักอาศัยห้องพักย่อมเป็นที่แสดงให้ผู้มาใช้บริการห้องพักเข้าใจว่าจำเลยเป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ร่วมกันกับบริษัท ช. เมื่อพนักงานเป็นทั้งพนักงานของบริษัท ช. และพนักงานของจำเลย ส่วนพนักงานที่รับแจ้งเหตุรถยนต์สูญหายในวันเกิดเหตุเป็นพนักงานของจำเลย ทั้งจำเลยก็ไม่นำสืบหลักฐานความเป็นเจ้าของที่แท้จริงของห้องพักว่าเป็นของบริษัท ช. แยกต่างหากไม่ใช่ของจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นเจ้าของที่พักที่เกิดเหตุ อันมีลักษณะทำนองเดียวกับโรงแรม จำเลยจึงเป็นเจ้าสำนักสถานที่พักดังกล่าวทำนองเดียวกับโรงแรม ต้องรับผิดในการที่รถยนต์ของ พ. สูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 674

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11379/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสูงเกินควรในสัญญา, ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม, ศาลลดเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีลักษณะบังคับจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามไว้ล่วงหน้า หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับและค่าธรรมเนียมจากจำเลยที่ 2 ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน นั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันด้วยความสมัครใจและเป็นเบี้ยปรับ หากกำหนดกันไว้สูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง หาเป็นข้อสัญญาหรือข้อตกลงให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด อันจะถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ไม่ต้องได้รับความยินยอม และหนี้ที่มีข้อต่อสู้ไม่กระทบสิทธิหักกลบลบ
ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง บัญญัติ การหักกลบลบหนี้ไว้ว่า ถ้าบุคคลสองคนต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกัน โดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมจะหลุดพ้นจากหนี้ของตนด้วยการหักกลบลบกันได้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดไว้เป็นเงื่อนไขในข้อใดเลยว่าการหักกลบลบหนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อน เมื่อหนี้ทั้งสองฝ่ายต่างมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันคือ เป็นหนี้เงินและต่างถึงกำหนดที่จะชำระแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ได้โดยไม่ต้องให้โจทก์ให้ความยินยอม
ที่โจทก์อ้างว่า หนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ยังเป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้อยู่นั้น หนี้ที่มีข้อต่อสู้อยู่อันไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 นั้น หมายถึง หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้างแล้วอีกฝ่ายมีข้อโต้แย้งไม่ยอมรับในข้อสาระสำคัญ ซึ่งมีผลต่อความรับผิดในหนี้ดังกล่าวหรือจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิด แต่จากคำให้การของโจทก์ในคดีของศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์และ ส. ชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 71,243,224.63 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี ของต้นเงิน 62,788,981.59 บาท โจทก์ให้การรับว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 20,230,760.80 บาท โดยโต้แย้งเพียงการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวแสดงว่า ในยอดหนี้ที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ 670,805.64 บาท เป็นหนี้ส่วนที่โจทก์ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ แล้ว จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามจำนวนนั้นได้ ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแสวงหาผลประโยชน์จากคดีความของผู้อื่น เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
สัญญาว่าจ้างที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ของจำเลยในคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาโดยให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ค่าทนายความ และค่าขึ้นศาล ทำขึ้นโดยหวังจะได้ส่วนแบ่งจากผลประโยชน์ที่ได้จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันโดยที่โจทก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี วัตถุประสงค์แห่งสัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับมานั้นเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ โจทก์จึงไม่อาจนำสัญญาว่าจ้างดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยชำระส่วนแบ่งให้แก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเช็คและการนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินวันที่ 1 มิถุนายน 2542 การนับอายุความต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ที่มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2542 และเมื่อวันเริ่มต้นนับระยะเวลาเป็นวันที่ 2 มิถุนายน 2542 กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคหนึ่ง ที่คำนวณเดือนตามปีปฏิทิน เมื่อระยะเวลามิได้กำหนดนับตั้งแต่วันต้นแห่งเดือน กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคสอง ที่ให้ถือระยะเวลาสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น เมื่อวันเริ่มระยะเวลาคือวันที่ 2 มิถุนายน 2542 ระยะเวลาสิ้นสุดลงก่อนหน้าวันจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้นคือวันที่ 1 กันยายน 2542 ที่จำเลยอ้างว่าคดีครบกำหนดอายุความวันที่ 31 สิงหาคม 2542 จึงหาถูกต้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2553

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12518/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดินไม่ใช่ห้างหุ้นส่วน มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ชื่อสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดิน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเสมอไป เพราะการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องมีการกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการนั้น แต่ตามสัญญาพิพาทมีเนื้อหาสาระเพียงว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมลงทุนซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 637 ในราคา 2,656,000 บาท วางมัดจำไว้ 1,000,000 บาท เป็นเงินของจำเลย 500,000 บาท และเงินของโจทก์ทั้งสองคนละ 250,000 บาท โดยตกลงกันให้ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามอัตราส่วนของจำนวนเงินที่ลงหุ้นวางมัดจำไว้เท่านั้น อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด
สัญญาร่วมหุ้นซื้อที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ไม่ใช่สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนแต่เป็นสัญญารูปแบบหนึ่งซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยที่ดินสูงกว่าหนี้เดิมทำให้สัญญาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656
การกู้ยืมเงินโดยผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาที่ดินเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง บัญญัติให้หนี้เป็นอันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้นให้ต้องคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลา และ ณ สถานที่ส่งมอบในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนโอนที่ดินตีราคาที่ดิน 590,000 บาท ซึ่งเป็นราคาประเมินของกรที่ดิน แม้โจทก์จำเลยจะมิได้นำสืบถึงราคาซื้อขายในท้องตลาดที่แท้จริงซึ่งเป็นราคาที่ดินเป็นหลักในการคำนวณ ณ เวลาที่ส่งมอบ แต่ก็เห็นได้ว่าราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินในเบื้องต้นพอจะอนุมานได้ว่าน่าจะใกล้เคียงกับราคาท้องตลาดและไม่แตกต่างกันมาก เว้นแต่จะมีเหตุผลพิเศษสำหรับที่ดินบางแปลงเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น ราคาที่ดินขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จึงสูงกว่าภาระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระตามที่จำเลยอ้าง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 230,000 บาท จำเลยก็รับว่ามีส่วนต่างอยู่ประมาณ 300,000 บาท ดังนี้ ความตกลงดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้กู้และทำให้ผู้ให้กู้ได้เปรียบในทางทรัพย์สินเงินทอง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาและเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 เมื่อการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะ จำเลยจึงไม่ได้ที่ดินไปทางทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายระหว่างมหาวิทยาลัยกับเอกชน ไม่ตกตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 193/34
โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ.2533 มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการ การเรียน การสอน การวิจัยและทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก ส่วนการดำเนินภารกิจด้านฟาร์มธุรกิจเป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน และการวิจัย มิใช่เป็นการดำเนินธุรกิจเป็นเอกเทศเพื่อประโยชน์ทางการค้าเป็นสำคัญ และหากจะมีผลกำไรขึ้นมาบ้างก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า การซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) ที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี และกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็น แม้มีทางออกอื่น สิทธิยังคงอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
ป.พ.พ. มาตรา 1350 ไม่ได้กำหนดถึงการสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไว้ แม้โจทก์ใช้ที่ดินของบุคคลอื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1350 หมดไปโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยได้
of 42