พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ: การประมาทเลินเล่อต้องเชื่อมโยงโดยตรงกับความเสียหาย
การไม่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติราชการฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของทางราชการนั้น อาจทำให้ข้าราชการต้องรับผิดในทางระเบียบวินัยก็จริง แต่เหตุเพียงเท่านี้หาอาจทำให้ข้าราชการผู้นั้นต้องรับผิดเพราะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 เสมอไปไม่ เมื่อทางราชการฟ้องให้ข้าราชการผู้นั้นร่วมรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากการละเมิด โจทก์จะต้องสืบแสดงให้ปรากฎว่า การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัยนั้น เป็นผลโดยตรงที่ทำให้โจทก์ต้องเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่: ต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างความบกพร่องกับความเสียหาย
การไม่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติราชการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของทางราชการนั้น อาจทำให้ข้าราชการต้องรับผิดในทางระเบียบวินัยก็จริง แต่เหตุเพียงเท่านี้หาอาจทำให้ข้าราชการผู้นั้นต้องรับผิดเพราะละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 เสมอไปไม่ เมื่อทางราชการฟ้องให้ข้าราชการผู้นั้นร่วมรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากการละเมิด โจทก์จะต้องสืบแสดงให้ปรากฏว่าการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัยนั้น เป็นผลโดยตรงที่ทำให้โจทก์ต้องเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าพนักงานต่อทรัพย์สูญหาย: ต้องมีเจตนาทุจริตหรือประมาทเลินเล่อ
ทรัพย์ของทางราชการหายโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ปกครองหรือรักษาทรัพย์นั้นได้มีเจตนาทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำจำเลยย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของการไฟฟ้าทำให้เกิดไฟรั่วช็อตผู้เสียหาย จำเลยต้องรับผิด
การที่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าของจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ตรวจตราดูแล ปล่อยให้ไม้คอนพาดสายไฟแรงสูงผุหักจนสายไฟแรงสูงหลุดจากคอนตกลงมาปะทะสายไปแรงต่ำกระแสไฟแรงสูงจึงรั่วไหลไปตามสายไฟแรงต่ำเข้าสู้บ้านของโจทก์ ไฟจึง+ลุกขึ้นนั้น หากโจทก์เข้าไปชะโงกดูเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ร้ายเฉพาะหน้าซึ่งเกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกไฟฟ้าช๊อตดูดเอามีบาดแผลไหม้หลายแห่งแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเกินอำนาจตัวแทน ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจ และผลกระทบต่อผู้รับจำนองโดยสุจริต
จำเลยเซ็นชื่อในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ ล.เอาทีดินของจำเลยไปจำนองไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนข้อความในใบมอบอำนาจให้ ล. กรอกเอาเอง ต่อมา ล.กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจว่า ล.เป็นผู้มีอำนาจจำนอง และจำนองโจทก์ไว้เป็นเงิน 200,000 บาทดังนี้หาทำให้การตั้งตัวแทนเป็นโมฆะไม่ แต่เป็นเรื่องที่ ล.ทำเกินอำนาจของตน ซึ่ง ล.จะต้องรับผิดต่อจำเลยเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก แต่ทางปฎิบัติของจำเลยทำให้โจทก์เชื่อว่าการที่ ล.จำนองโจทก์ถึง 200,000 บาทนั้น อยู่ในอำนาจของ ล. เพราะถ้าจำเลยจะให้บุคคลอื่นรู้ว่า ล.มีอำนาจจำนองได้เพียง 60,000 บาท ก็ชอบที่จะเขียนจำนวนเงินที่จะจำนองลงในหนังสือมอบอำนาจให้ปรากฎชัด การที่จำเลยละเลย ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับจำนองโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรทุกเกินอัตราและการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต ศาลพิจารณาความรับผิดตามมาตรา 233 และ 238
1.คดีที่ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 4 ปี ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
2.อย่างไรก็ดี ฎีกาตอนที่ว่าตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่โจทก์นำสืบ โจทก์เห็นว่ายานพาหนะของจำเลยมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะ อันเข้าเกณฑ์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงนั้นโจทก์ฎีกาไม่ได้ และ
3.จำเลยจะผิดมาตรา 238 ประมวลกฎหมายอาญานั้น ก็ต่อเมื่อ การกระทำผิดของจำเลยตามมาตรา 233 นั้น เป็นเหตุให้ผู้โดยสารถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัส แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดเสียแล้วว่า การที่รถคว่ำคนโดยสารตายและได้รับอันตรายสาหัส ไม่ใช่เนื่องจากเหตุที่บรรทุกคนโดยสารเกินจำนวน แต่เนื่องจากจำเลยขับรถเร็วอันเป็นการประมาท หรืออีกนัยหนึ่ง เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า การที่คนโดยสารตายและได้รับอันตรายสาหัสนั้น หาได้เนื่องจากเหตุที่จำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 233 นั้นไม่ จึงลงโทษตามมาตรา 238 ไม่ได้
ข้อ 2, 3 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2505
2.อย่างไรก็ดี ฎีกาตอนที่ว่าตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่โจทก์นำสืบ โจทก์เห็นว่ายานพาหนะของจำเลยมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะ อันเข้าเกณฑ์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงนั้นโจทก์ฎีกาไม่ได้ และ
3.จำเลยจะผิดมาตรา 238 ประมวลกฎหมายอาญานั้น ก็ต่อเมื่อ การกระทำผิดของจำเลยตามมาตรา 233 นั้น เป็นเหตุให้ผู้โดยสารถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัส แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดเสียแล้วว่า การที่รถคว่ำคนโดยสารตายและได้รับอันตรายสาหัส ไม่ใช่เนื่องจากเหตุที่บรรทุกคนโดยสารเกินจำนวน แต่เนื่องจากจำเลยขับรถเร็วอันเป็นการประมาท หรืออีกนัยหนึ่ง เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า การที่คนโดยสารตายและได้รับอันตรายสาหัสนั้น หาได้เนื่องจากเหตุที่จำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 233 นั้นไม่ จึงลงโทษตามมาตรา 238 ไม่ได้
ข้อ 2, 3 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ กรณีประมาทเลินเล่อในการรักษาเงินของทางราชการและการปฏิบัติตามคำสั่ง
กรณีข้าราชการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เงินของทางราชการถูกยักยอกไป อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รับทราบรายงานการสอบสวนว่าจำเลยต้องรับผิด
คำสั่งทางราชการมิให้นายอำเภอเก็บเงินไว้เกิน 8,000 บาท ถ้าเกิน ให้นายอำเภอหรือผู้รักษาการแทนนำส่งจังหวัด แต่ถ้าติดราชการจะนำส่งเองไม่ได้ ก็ให้ตั้งกรรมการอำเภออย่างน้อย 2 นาย คุมเงินไปส่งได้ จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอได้เก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนดจำเลยที่ 1 ติดราชการจึงสั่งตั้งกรมการอำเภอ 3 นายคุมเงินไปส่งจังหวัดโดยระบุไว้ชัดว่าต้องร่วมกันระวังรักษาและห้ามมิให้แยกย้ายจากกันตลอดเวลาที่เงินอยู่ในความรับผิดชอบ แต่จำเลย ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นรักษาแทนนายอำเภอได้ มอบเงินให้กรมการอำเภอเพียง 2 นาย คุมเงินไปส่งเพราะกรมการอำเภออีก 1 นาย นั้นติดราชการแต่ก็ได้ให้ตำรวจอีก 2 นายร่วมทางไปด้วย ในการส่งเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการคุมเงินไปด้วยกลับนั่งรออยุ่นอกห้องสรรพกรและห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้กรรมการอีก 1 นายเอาเข้าไปส่งแต่เพียงผู้เดียว เป็นเหตุให้กรรมการผู้นั้นทำลายในนำส่งและเขียนขึ้นมาใหม่ เป็นนำเงินส่งน้อยกว่าจำนวนที่รับมอบมา แล้วยักยอกเอาเงินที่เหลือไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2497 มาตรา 71, 72, 79 ความเสียหายจึงได้เกิดขึ้น ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะฝ่าฝืนคำสั่งเก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด แต่ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นในตอนนั้น และจำเลยที่ 1,2 ก็ได้สั่งการไปโดยชอบแล้ว ในการคุมเงินไปส่งจำเลยที่ 1, 2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำสั่งทางราชการมิให้นายอำเภอเก็บเงินไว้เกิน 8,000 บาท ถ้าเกิน ให้นายอำเภอหรือผู้รักษาการแทนนำส่งจังหวัด แต่ถ้าติดราชการจะนำส่งเองไม่ได้ ก็ให้ตั้งกรรมการอำเภออย่างน้อย 2 นาย คุมเงินไปส่งได้ จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอได้เก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนดจำเลยที่ 1 ติดราชการจึงสั่งตั้งกรมการอำเภอ 3 นายคุมเงินไปส่งจังหวัดโดยระบุไว้ชัดว่าต้องร่วมกันระวังรักษาและห้ามมิให้แยกย้ายจากกันตลอดเวลาที่เงินอยู่ในความรับผิดชอบ แต่จำเลย ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นรักษาแทนนายอำเภอได้ มอบเงินให้กรมการอำเภอเพียง 2 นาย คุมเงินไปส่งเพราะกรมการอำเภออีก 1 นาย นั้นติดราชการแต่ก็ได้ให้ตำรวจอีก 2 นายร่วมทางไปด้วย ในการส่งเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการคุมเงินไปด้วยกลับนั่งรออยุ่นอกห้องสรรพกรและห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้กรรมการอีก 1 นายเอาเข้าไปส่งแต่เพียงผู้เดียว เป็นเหตุให้กรรมการผู้นั้นทำลายในนำส่งและเขียนขึ้นมาใหม่ เป็นนำเงินส่งน้อยกว่าจำนวนที่รับมอบมา แล้วยักยอกเอาเงินที่เหลือไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2497 มาตรา 71, 72, 79 ความเสียหายจึงได้เกิดขึ้น ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะฝ่าฝืนคำสั่งเก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด แต่ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นในตอนนั้น และจำเลยที่ 1,2 ก็ได้สั่งการไปโดยชอบแล้ว ในการคุมเงินไปส่งจำเลยที่ 1, 2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถยนต์โดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องรับผิดในละเมิด หากมิได้ประมาทเลินเล่อ
ใช้หรือวานบุคคลที่ไม่ใช่ลูกจ้างให้ขับรถยนต์ไปในธุระกิจของผู้ใช้เอง โดยผู้ถูกใช้เป็นผู้ขับรถยนต์ได้ และเคยขับให้ผู้ใช้มาก่อนแล้วนั้น หากผู้ถูกใช้ขับรถยนต์ไปชนบุคคลอื่นเป็นการละเมิดขึ้น ผู้ใช้ก็หาจำต้องร่วมรับผิดด้วยไม่ เพราะมิได้ประมาทเลินเล่อในการใช้หรือวาน
การรับใช้หรือวานขับรถยนต์ให้นั้นไม่ใช่เป็นตัวแทน เพราะมิใช่เป็นกิจการที่ทำแทนตัวการต่อบุคคลที่ 3 แต่เป็นกิจการในระหว่างผู้ใช้กับผู้รับใช้ ไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลที่ 3 เลย
การรับใช้หรือวานขับรถยนต์ให้นั้นไม่ใช่เป็นตัวแทน เพราะมิใช่เป็นกิจการที่ทำแทนตัวการต่อบุคคลที่ 3 แต่เป็นกิจการในระหว่างผู้ใช้กับผู้รับใช้ ไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลที่ 3 เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำแดงรายการสินค้าเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี แม้ไม่มีเจตนาหรือประมาทเลินเล่อก็เป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากร
ใบขนสินค้าขาเข้าที่จำเลยยื่นต่อเจ้าพนักงานระบุว่าเป็นร่มทำด้วยผ้าฝ้ายล้วน 50 โหล แต่ความจริงกลับเป็นร่มทำด้วยผ้าฝ้ายล้วนเพียง26 โหลอีก24โหลเป็นร่มทำด้วยแพรเทียม ถือว่าใบขนสินค้านี้เป็นเท็จ ถ้าเจ้าพนักงานหลงเชื่อก็จะทำให้ขาดค่าภาษีไป 2,016 บาทเพราะร่มทำด้วยแพรเทียมต้องเสียภาษีสูงกว่าร่มทำด้วยผ้าฝ้ายล้วนเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรจำเลยจะอ้างว่าจำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อหรือเป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจผิดไม่ได้ทั้งสิ้นเพราะพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 16 บัญญัติไว้ชัดแจ้งให้ถือว่าการกระทำดังที่ระบุไว้ในมาตรา 27 และ 99 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 นั้น เป็นความผิดแม้ผู้กระทำมิได้มีเจตนาหรือทำโดยประมาทเลินเล่อ
ในกรณีเช่นนี้ ร่มที่ทำด้วยแพรเทียม24โหล ของกลางเป็นของที่ส่งมาให้จำเลยโดยผิดกฎหมาย จำเลยจะขอรับคืนหาได้ไม่
ในกรณีเช่นนี้ ร่มที่ทำด้วยแพรเทียม24โหล ของกลางเป็นของที่ส่งมาให้จำเลยโดยผิดกฎหมาย จำเลยจะขอรับคืนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439-440/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการจากการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจากเอกสารปลอม: ไม่ถือว่าประมาทเลินเล่อหากไม่มีหน้าที่ต้องตรวจสอบสัญญา
จำเลยทั้งสองรับราชการกรมไปรษณีย์ฯ คนหนึ่งเป็นหัวหน้าแผนกตรวจจ่าย กองบัญชี อีกคนหนึ่งรักษาราชการแทนหัวหน้าแผนกเดียวกันนี้เสมียนในแผนกนี้ได้เซ็นรับรองในใบสำคัญเอกสารขอเบิกเงินค่าเสาโทรเลขจากกรมไปรษณีย์ฯ ซึ่งเป็นเอกสารปลอม ที่เกิดการทุจริตรายนี้ก็เพราะมีการปลอมลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน ซึ่งยากที่จำเลยจะทราบได้ เมื่อมีลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน ทั้งมีตราประทับมาด้วยจำเลยก็น่าจะเชื่อว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงจำเลยจึงได้เซ็นรับรองในใบสำคัญนั้นในช่องที่มีตัวพิมพ์ไว้ว่า ตรวจถูกต้อง ทั้งนี้ โดยจำเลยเชื่อว่าลายเซ็นปลอมนั้นเป็นลายเซ็นของหัวหน้ากองช่างโทรเลขและผู้ทำการแทน จึงมิได้เรียกสัญญามาตรวจสอบและไม่มีระเบียบให้เรียกสัญญามาตรวจสอบ แล้วส่งใบสำคัญเหล่านี้ไปยังกองคลังๆ อนุมัติให้จ่ายเงินได้ เป็นเหตุให้กรมไปรษณีย์ฯ เสียหาย ดังนี้ ยังไม่ถือว่าจำเลยได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยไม่ต้องรับผิด
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)