พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานประเมินและการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเกินกำหนด
วันที่ 4 กรกฎาคม 2549 โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษี (ค.10) วันที่ 2 สิงหาคม 2549 จำเลยแจ้งว่า โจทก์ยื่นคำร้องเกิน 3 ปี จึงไม่อนุมัติให้คืนภาษี วันที่ 17 สิงหาคม 2549 โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง วันที่ 21 เมษายน 2551 จำเลยแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ว่า กรณีของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 โจทก์มีหนังสือขอให้ทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร วันที่ 8 มีนาคม 2556 จำเลยมีหนังสือแจ้งว่า โจทก์ยื่นคำร้องเกิน 3 ปี คำสั่งแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรชอบแล้ว การปฏิบัติของจำเลยต่อการที่โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรเช่นนี้ มีลักษณะที่พอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยรับพิจารณาคำร้องขอทบทวนหรือขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ โดยไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์รู้ถึงเหตุที่อาจขอให้พิจารณาใหม่ แล้วยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อจำเลยเกินกว่า 90 วัน จากนั้นจำเลยก็มีคำตอบแจ้งแก่โจทก์ตามหนังสือที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2558 อันถือเป็นคำสั่งทางปกครองเช่นกัน โดยตามหนังสือของจำเลยฉบับนี้ก็มีข้อความระบุว่า ถ้าหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งหรือทราบคำสั่ง และโจทก์ก็ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองของจำเลยตามหนังสือแจ้งแก่โจทก์ฉบับนี้ โดยระบุในคำขอท้ายฟ้องว่าขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งไม่คืนภาษีแก่โจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ซึ่งเป็นคำสั่งของจำเลยคนละคำสั่งกับที่จำเลยแจ้งตอบอุทธรณ์ของโจทก์ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 ทั้งนี้ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรไว้ก่อนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 9 ประกอบมาตรา 7 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6176/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมสนามกอล์ฟ - การบังคับใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
โจทก์ทั้งหกสิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งหกสิบเป็นสมาชิกสโมสรกอล์ฟของจําเลย จําเลยดูแลรักษาและบริหารสนามกอล์ฟตลอดจนบริการอื่น ๆ ไม่ดี แต่จําเลยเพิ่มค่าบํารุงสนามรายปีโดยพลการ ทำให้โจทก์ทั้งหกสิบขายสิทธิการเป็นสมาชิกต่อได้ยากและราคาไม่ดี นอกจากนี้ยังตัดสิทธิสมาชิกตลอดชีพ คงเหลือ 30 ปี กับเพิ่มค่าโอนสิทธิให้ทายาทซึ่งเดิมไม่มีและเรียกเก็บค่ารักษาสิทธิปีละ 2,400 บาท มีกำหนด 3 ปีจากสมาชิกที่ขอระงับสิทธิชั่วคราวซึ่งเดิมไม่ได้เรียกเก็บและบังคับหากสมาชิกใดไม่จ่ายค่าบํารุงรายปีตามราคาที่จําเลยต้องการ จําเลยจะไม่ออกตั๋วให้สมาชิกใช้สนามกอล์ฟและเล่นกอล์ฟ เป็นการกล่าวอ้างว่าจําเลยในฐานผู้ให้บริการขึ้นค่าบํารุงรายปี เพิ่มค่าโอนสิทธิ หรือออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่กระทบสิทธิของโจทก์ทั้งหกสิบโดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ทั้งหกสิบเดือดร้อนจําต้องยอมจ่ายคําบํารุงโดยไม่สมัครใจ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าการกระทำของจําเลยเป็นการกระทำผิดสัญญา นับว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งหกสิบแล้ว โจทก์ทั้งหกสิบจึงมีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ทั้งหกสิบยอมรับว่าจําเลยสามารถเปลี่ยนแปลงค่าบำรุงรักษาสนามรายปี ค่าธรรมเนียมการโอนสมาชิก หรือกำหนดข้อบังคับได้ตามความเหมาะสมเพียงแต่โจทก์ทั้งหกสิบอ้างว่า จําเลยเรียกเก็บในอัตราที่ไม่เหมาะสมและเป็นการเอาเปรียบโจทก์ทั้งหกสิบซึ่งเป็นผู้บริโภคอันไม่เป็นธรรม และจําเลยไม่บำรุงรักษาสนามกอล์ฟให้มีความเหมาะสมดังที่โฆษณาไว้เท่านั้น โจทก์ทั้งหกสิบได้สิทธิการเป็นสมาชิกจากจําเลยก่อนมี พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 12 บัญญัติว่าไม่ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงไม่อาจนําพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกําหนดตามสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งหกสิบกับจําเลยได้
เมื่อพิจารณาจากค่าบํารุงสนามรายปี ค่าโอนสมาชิก ค่ารักษาสิทธิของสมาชิกของสนามกอล์ฟของจําเลย เปรียบเทียบกับสนามกอล์ฟอื่นที่อยู่ในย่านเดียวกันและมีมาตรฐานสนามระดับเดียวกัน เห็นได้ว่ามีอัตราที่ใกล้เคียงกันโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบำรุงรักษาสนามรายปีของจําเลยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายปี 2549 ค่าโอนสิทธิสมาชิกเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2546 และค่ารักษาสิทธิเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายในปี 2553 และโจทก์ทั้งหกสิบชําระเงินในอัตราที่จําเลยเรียกเก็บตลอดมา อันแสดงว่าจําเลยได้เปลี่ยนแปลงอัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สอดคล้องกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของสนามอื่นในระดับมาตรฐานสนามเดียวกัน การที่จําเลยเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงเป็นการกระทำโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 แล้ว
การที่โจทก์ทั้งหกสิบยอมรับว่าจําเลยสามารถเปลี่ยนแปลงค่าบำรุงรักษาสนามรายปี ค่าธรรมเนียมการโอนสมาชิก หรือกำหนดข้อบังคับได้ตามความเหมาะสมเพียงแต่โจทก์ทั้งหกสิบอ้างว่า จําเลยเรียกเก็บในอัตราที่ไม่เหมาะสมและเป็นการเอาเปรียบโจทก์ทั้งหกสิบซึ่งเป็นผู้บริโภคอันไม่เป็นธรรม และจําเลยไม่บำรุงรักษาสนามกอล์ฟให้มีความเหมาะสมดังที่โฆษณาไว้เท่านั้น โจทก์ทั้งหกสิบได้สิทธิการเป็นสมาชิกจากจําเลยก่อนมี พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 12 บัญญัติว่าไม่ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงไม่อาจนําพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกําหนดตามสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งหกสิบกับจําเลยได้
เมื่อพิจารณาจากค่าบํารุงสนามรายปี ค่าโอนสมาชิก ค่ารักษาสิทธิของสมาชิกของสนามกอล์ฟของจําเลย เปรียบเทียบกับสนามกอล์ฟอื่นที่อยู่ในย่านเดียวกันและมีมาตรฐานสนามระดับเดียวกัน เห็นได้ว่ามีอัตราที่ใกล้เคียงกันโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบำรุงรักษาสนามรายปีของจําเลยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายปี 2549 ค่าโอนสิทธิสมาชิกเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2546 และค่ารักษาสิทธิเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายในปี 2553 และโจทก์ทั้งหกสิบชําระเงินในอัตราที่จําเลยเรียกเก็บตลอดมา อันแสดงว่าจําเลยได้เปลี่ยนแปลงอัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สอดคล้องกับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของสนามอื่นในระดับมาตรฐานสนามเดียวกัน การที่จําเลยเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงเป็นการกระทำโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาในระหว่างพิจารณาคดี ไม่กระทบความชอบธรรมหากไม่มีการโต้แย้ง
การกำหนดให้มีวันนัดพร้อมเพื่อประชุมคดีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จำเลยได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม โดยองค์คณะที่ได้รับเลือกให้เป็นองค์คณะประชุมคดีจะได้รับเลือกจากผู้พิพากษาที่มีประสบการณ์และมีความเข้าใจในการบริหารจัดการคดีเพื่อให้การกำหนดแนวทางในการดำเนินคดีเป็นไปอย่างถูกต้อง กระชับรัดกุม ไม่ฟุ่มเฟือย และมีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แม้คดีนี้องค์คณะในวันนัดพร้อมเพื่อประชุมคดีจะเป็นคนละองค์คณะกันกับในวันนัดสืบพยานและวันนัดฟังคำพิพากษา แต่การที่ ณ. กับ อ. นั่งพิจารณาคดีในวันนัดสืบพยานและวันนัดฟังคำพิพากษานั้น เนื่องมาจากการจ่ายสำนวนคดีของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นตามมาตรา 32 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งการจ่ายสำนวนคดีดังกล่าวไม่ได้ขัดต่อหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้องค์คณะประชุมคดีและองค์คณะพิจารณาต้องเป็นองค์คณะเดียวกันเพราะเป็นการพิจารณาคดีคนละขั้นตอนกัน มีวัตถุประสงค์และวิธีการคัดเลือกองค์คณะผู้พิพากษาแตกต่างกัน นอกจากนี้กรณีดังกล่าวยังไม่ใช่การเรียกคืนสำนวนคดีจาก น. และ ป. ซึ่งเป็นองค์คณะประชุมคดี และโอนสำนวนคดีให้ ณ. กับ อ. ตามบทบัญญัติมาตรา 33 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เนื่องจากการเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงกรณีที่มีการมอบหมายให้องค์คณะผู้พิพากษารับผิดชอบพิจารณาพยานหลักฐานและพิพากษาแต่มีเหตุที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคดีของศาลเท่านั้น กรณีจึงไม่ใช่การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีโดยไม่ชอบดังที่จำเลยฎีกา ประกอบกับระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีและสืบพยานไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งหากศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็คงไม่โต้แย้งในปัญหาข้อนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมรับการดำเนินกระบวนพิจารณาของ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นไปโดยชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ณ. และ อ. จึงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้โดยชอบแล้ว