พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิค่าทดแทนเมื่อกฎหมายใหม่ใช้บังคับ & เก้าอี้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนกรณีเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายเก่า แม้ต่อมากฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกโดยกฎหมายใหม่ แต่เมื่อการเวนคืนรายนี้มีผลสำเร็จเด็ดขาดไปก่อนแก้ไขกฎหมายกฎหมายใหม่ย่อมไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่บริบูรณ์แล้วกรณีต้องบังคับตามกฎหมายเก่านั้น เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโรงภาพยนตร์โดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพในการเป็นโรงภาพยนตร์ ดังนี้ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์เป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเมื่อมี พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนและรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางที่จะสร้างนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์และโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน-ดอกเบี้ย-อำนาจฟ้อง-การครอบครองปรปักษ์
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหลวงขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ หัวหน้าแผนกพิจารณาอุทธรณ์และคำร้อง กองกฎหมายและคดี หัวหน้าแผนกสำรวจ กองรังวัดและที่ดิน ฝ่ายการโยธาเทศบาลนครหลวงหรือของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ในปัจจุบันเป็นกรรมการเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และมีประกาศของจำเลยที่ 1 ให้เจ้าของที่ดินยื่นคำขอรับเงินค่าทดแทนจากคณะกรรมการเวนคืน นอกจากนี้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ข้อ 3 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 8, 10 ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ต่อเมื่อใช้เงินหรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว แสดงความมุ่งหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ว่า การเวนคืนที่ดินพิพาทก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ.2526 จำเลยที่ 1 ได้เข้าครอบครองทำถนนโดยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ ส.เจ้าของที่ดินพิพาทขณะนั้น ตามประกาศของคณะปฏิวัติแต่อย่างใดเมื่อ ส.ทวงถาม จำเลยที่ 1 กลับมีหนังสือตอบผัดผ่อนเรื่อยมาโดยไม่ได้โต้แย้งให้ทวงถามค่าทดแทนจากบุคคลอื่น โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกจาก ส.จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเหตุที่ไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาลเป็นข้อแก้ตัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทไปให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยภายหลังก็หาทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกค่าทดแทนซึ่งมีอยู่เดิมแล้วแต่อย่างใดไม่ ทั้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่ใช่กฎหมายที่จะลบล้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายอีกด้วย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36วรรคสอง การเวนคืนและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ยังมิได้กำหนดค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 23 วรรคสอง เป็นการมิชอบและกรณีไม่ใช่เรื่องการชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม หรือการจ่ายค่าทดแทนล่าช้าตามมาตรา 28 และมาตรา 33 การคำนวณดอกเบี้ยในค่าทดแทนตามมาตราดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาปรับในค่าทดแทนในกรณีนี้ได้ และเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายโดยเฉพาะ โจทก์ก็ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยในค่าทดแทนที่ยังมิได้รับชำระในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้มีกำหนด 10 ปีนับแต่วันฟ้องย้อนขึ้นไป จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์เฉพาะในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่มีเหตุจะแก้ไข
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทไปให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยภายหลังก็หาทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกค่าทดแทนซึ่งมีอยู่เดิมแล้วแต่อย่างใดไม่ ทั้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่ใช่กฎหมายที่จะลบล้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายอีกด้วย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36วรรคสอง การเวนคืนและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ยังมิได้กำหนดค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 23 วรรคสอง เป็นการมิชอบและกรณีไม่ใช่เรื่องการชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม หรือการจ่ายค่าทดแทนล่าช้าตามมาตรา 28 และมาตรา 33 การคำนวณดอกเบี้ยในค่าทดแทนตามมาตราดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาปรับในค่าทดแทนในกรณีนี้ได้ และเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายโดยเฉพาะ โจทก์ก็ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยในค่าทดแทนที่ยังมิได้รับชำระในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้มีกำหนด 10 ปีนับแต่วันฟ้องย้อนขึ้นไป จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์เฉพาะในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่มีเหตุจะแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5993/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ ไม่ใช่ราคาซื้อขายที่ได้รับอิทธิพลจากโครงการเวนคืน
โจทก์ซื้อที่พิพาทภายหลังจากที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางใหญ่ฯ มีผลใช้บังคับถึง 7 เดือนเศษ ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับที่พิพาทจะมีราคาซื้อขายในท้องตลาดอย่างไรโจทก์หาได้นำสืบไม่ และที่โจทก์ซื้อที่พิพาทก็เพราะคาดว่าที่ดินที่เหลือจากถูกเวนคืนจะมีราคาสูงขึ้นคุ้มกับที่ลงทุนซื้อ ราคาที่โจทก์ซื้อจึงไม่ใช่ราคาของที่พิพาทที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่พิพาทให้แก่โจทก์จึงต้องถือตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5938/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: แม้ชื่อเจ้าของเปลี่ยน โจทก์ซื้อต่อจากเจ้าของเดิม ก็ยังต้องอยู่ในบังคับเวนคืน
ขณะจำเลยสำรวจที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่กิ่งอำเภอบ้านฉาง อำเภอเมืองระยอง และอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพ.ศ.2525 ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในแนวเขตที่จะถูกเวนคืนด้วยมีชื่อ บ.เป็นเจ้าของ เมื่อสำรวจเสร็จได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง และตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 ออกใช้บังคับ โดยระบุชื่อ บ.เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินพิพาทท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งที่โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก บ.ก่อนแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2526พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงมีเจตนารมณ์มุ่งบังคับเอาแก่ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นซึ่งอยู่ในแนวเขตที่จะต้องเวนคืนโดยเฉพาะ หาได้ถือเอาตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นสาระสำคัญไม่เหตุที่ให้ระบุชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายไว้ ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นแม้จะไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินพิพาทท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนดังกล่าว ก็หามีผลทำให้ที่ดินพิพาทไม่อยู่ภายใต้บังคับที่จะถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5938/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ แม้ไม่มีชื่อผู้ครอบครองในบัญชีรายชื่อ ก็เวนคืนได้ หากที่ดินอยู่ในแนวเวนคืน
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับโดยระบุที่ดินพิพาทอยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงมีเจตนารมณ์ มุ่งบังคับเอาแก่ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นโดยเฉพาะ หาได้ถือเอาตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นสาระสำคัญไม่ เหตุที่ให้ระบุชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายไว้ ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเท่านั้นดังนั้น แม้จะไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินพิพาทก็หามีผลทำให้ที่ดินพิพาทไม่อยู่ภายใต้บังคับที่จะถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน เริ่มนับแต่วันวางทรัพย์ต่อศาล หรือรับเงินจากเจ้าหน้าที่
การวางเงินค่าทดแทนต่อศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295ข้อ 67 วรรคแรก หมายถึงการวางเงินค่าทดแทนต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางหรือสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค 1 ถึง 9 กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม แล้วแต่กรณี เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์วางเงินค่าทดแทนไว้ให้โจทก์ ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เมื่อ วันที่ 30สิงหาคม 2528 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์ เห็นว่า ควร ได้รับเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2529 จึงขาดอายุความ 1 ปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาธรรมดาในท้องตลาด และการชดเชยค่าลดน้อยถอยราคา
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ระบุให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับ หากวันดังกล่าวไม่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณนั้น โจทก์นำสืบถึงราคาที่ซื้อขายในช่วงเวลาที่ พ.ร.ฎ. ใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณาได้ จะอาศัยราคาตามราคาตลาดที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ราคาที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด โจทก์เพียงนำเอาค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากถูกเวนคืนแต่ลดน้อยถอย ราคาลง ไปเปรียบเทียบกับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน เพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ลดลงเท่านั้นหาทำให้ค่าทดแทนส่วนนี้ซ้ำซ้อน กับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนไม่ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องจะไม่มี พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ใช้บังคับ แต่โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี หากยอดเงินที่ต้องชำระเพิ่มขึ้น นับแต่วันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์ราคาซื้อขายที่ดินจริง และค่าลดหย่อนที่ดินที่เหลือ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน2515 ข้อ 76 กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนใช้บังคับหากในวันดังกล่าวไม่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนโจทก์ก็นำสืบถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันในช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณาได้ จะอาศัยราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นเกณฑ์กำหนดหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่ราคาที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด โจทก์เพียงแต่นำเอาค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากถูกเวนคืนแต่ลดน้อยถอยราคาลงไปเปรียบเทียบกับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนเพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ลดน้อยถอยราคาลงเท่านั้น จึงหาได้ทำให้ค่าทดแทนส่วนนี้ซ้ำซ้อนกับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนไม่เดิมที่ดินโจทก์ส่วนที่ติดซอยยาวประมาณ85 เมตร เมื่อถูกเวนคืนทำให้ที่ดินส่วนนี้เหลือกว้างเพียง10 เมตร ย่อมทำให้ใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนที่เหลือได้น้อยลง ที่ดินโจทก์ส่วนที่เหลือจากถูกเวนคืนจึงลดน้อยถอยราคาลง แม้จะยังไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนใช้บังคับโดยเฉพาะ แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 67 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินที่จะต้องชำระเพิ่มขึ้นนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: ราคาซื้อขายจริง vs. ราคาตลาด, ดอกเบี้ย, และค่าลดน้อยถอยราคา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 76 กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนใช้บังคับ หากในวันดังกล่าวไม่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืน โจทก์ก็นำสืบถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันในช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณาได้ จะอาศัยราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นเกณฑ์กำหนดหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่ราคาที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด แม้จะยังไม่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนใช้บังคับโดยเฉพาะ แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 67 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากยอดเงินที่จะต้องชำระเพิ่มขึ้นนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินถูกเวนคืนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และการคิดดอกเบี้ย
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76(2) บัญญัติว่าเงินค่าทดแทนนั้น ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ เมื่อพ.ร.ฎ. ดังกล่าวออกใช้บังคับในวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การกำหนดค่าทดแทนให้กับโจทก์ต้องถือเอาราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันดังกล่าว แต่เมื่อในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันในบริเวณที่ถูกเวนคืนก็มิใช่ว่าจะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนแต่เพียงอย่างเดียว ในกรณีเช่นนี้ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจ กำหนดราคาซื้อขายที่ดินของโจทก์ตามราคาธรรมดาในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. ใช้บังคับได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับเมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินให้แก่โจทก์เลย ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จำเลยกำหนดให้ หรือที่ศาลพิพากษาให้เพิ่มขึ้น จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่โจทก์สมควรจะได้รับนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ.