คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 567 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความต้องใช้ลายมือชื่อจริงในเอกสาร การปิดลายเซ็นที่ตัดต่อมาไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่จะแต่งตั้งทนายความนั้นผู้ที่จะแต่งตั้งจะต้องเซ็นชื่อของตนเองไว้ในช่องผู้แต่งตั้งทนายความด้วยตนเอง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,67) การแต่งตั้งทนายความนั้นจึงจะสมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย การที่ตัดเอาลายเซ็นชื่อของผู้แต่งตั้งทนายความจากที่อื่นมาปิดลงไว้ในช่องผู้แต่งตั้งทนายความ จึงมีผลเท่ากับผู้แต่งตั้งทนายความมิได้เซ็นชื่อในใบแต่งทนาย แม้ผู้แต่งตั้งทนายความจะรับรองหรือให้สัตยาบัน ก็ไม่ทำให้มีลายมือชื่อของผู้แต่งตั้งทนายความในใบแต่งทนายโดยถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 ขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมหนังสือและการถอนฟ้องคดีอาญา การกระทำไม่ถึงขั้นปลอมแปลงเอกสาร และการถอนฟ้องแล้วสิทธิระงับ
จำเลยเป็นผู้จัดการร้านขายรถจักรยานได้เขียนใบส่งสิ่งของขึ้นเองหรือสั่งให้คนในร้านทำขึ้นตามหน้าที่ของผู้จัดการไม่มีการปลอมลายมือชื่อของผู้ใด เพียงแต่จำเลยทำเป็นหนังสือของจำเลยเอง อันมีข้อความเป็นเท็จเท่านั้น ไม่ได้ปลอมเป็นหนังสือของผู้อื่นใดเลย จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานปลอมหนังสือ (อ้างฎีกาที่ 399/2485,1411/2494)
ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวผู้เสียหายได้ขอถอนคำร้องทุกข์แล้วเพราะผู้ต้องหาจะยอมใช้เงิน ภายหลังผู้เสียหายจะกลับมาแจ้งความในเรื่องนั้นอีกหาได้ไม่สิทธินำคดีมาฟ้องของผู้เสียหายย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบคดีให้พนักงานอัยการฟ้องร้อง ไม่จำต้องมีเอกสารแสดงอำนาจ
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ความชัดตามฟ้องและชั้นพิจารณาว่า เจ้าทุกข์ผู้เสียหายได้แจ้งความมอบคดีต่อเจ้าพนักงานให้จัดการฟ้องร้องจำเลยได้ ก็เป็นการปฏิบัติชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) แล้ว ไม่จำต้องแสดงต่อศาลถึงเอกสารการมอบอำนาจหรือมอบคดีให้อัยการฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจในการร้องทุกข์อาญา: หลักเกณฑ์และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจที่ใช้ได้
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่องให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5 มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า (กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์ เจ้าหน้าที่ของธนาคาร เป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่า ไม่ใช่คำร้องทุกข์ โดยตนเองตามป.วิ.อ. มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่า ให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดีฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสาร ศาลฎีกาพิจารณาบทลงโทษที่เหมาะสมตามประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 306 (4) กฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งเป็นความผิดฐานฉ้อโกง โดยใช้อุบายพิเศษ แต่ประมวลกฎหมายอาญา ได้ยกเลิกการใช้อุบายพิเศษในลักษณะเช่นนี้แล้ว ศาลจะลงโทษตาม มาตรา 306(4) ไม่ได้ และจะใช้ มาตรา 304 เป็นบทลงโทษก็ไม่ได้ เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีโทษเบากว่า ต้องใช้มาตรา 341 เป็นบทลงโทษ
หนังสือมอบอำนาจให้จัดการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนเจ้าของที่ดินนั้น เป็นเอกสารที่บุคคลธรรมดาทำขึ้น จึงมิใช่เป็นหนังสือราชการหรือหนังสือซึ่งเป็นสำคัญแก่การตั้งกรรมสิทธิ์หรือเป็นหลักฐานแห่งการเปลี่ยนแก้หรือเลิกล้างโอนกรรมสิทธิแต่อย่างใด
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 มีอัตราโทษเบากว่ากฎหมายลักษณะ อาญา มาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขการชำระเงินตามการเวนคืนที่ดิน การนำสืบพยานนอกเหนือเอกสาร
สัญญาซื้อขายมีข้อความว่าถ้าไม่ถูกตัดถนนต้องนำเงินมาชำระจำนวนหนึ่ง ถ้าถูกตัดถนนไม่ต้องใช้เงินจำนวนนี้โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่ายังมีข้อตกลงในเรื่องการตัดถนนในระยะเวลา1 ปี ด้วย นำสืบไม่ได้ ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ & ข้อห้ามสืบพยานเพิ่มเติมเอกสาร
ผู้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจ และมีบุคคล 2 คนลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้น แม้มิได้มีข้อความไว้ด้วยว่ารับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้มอบอำนาจ ก็นับว่าเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นด้วย
(อ้างฏีกาที่ 521/2496) ผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะขอนำสืบพยานบุคคลว่า ได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าเมื่อหมดสัญญาเช่าแล้วก็ต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่ โดยในหนังสือสัญญาเช่าไม่มีข้อความเช่นว่านั้นเลย หาได้ไม่เพราะเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ & ข้อตกลงนอกสัญญาเช่า: ข้อห้ามการสืบพยานเพิ่มเติมเอกสาร
ผู้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจและมีบุคคล 2 คนลงลายมือชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้นแม้มิได้มีข้อความไว้ด้วยว่ารับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้มอบอำนาจก็นับว่าเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นด้วย (อ้างฎีกาที่ 521/2496)
ผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะขอนำสืบพยานบุคคลว่าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าเมื่อหมดสัญญาเช่าแล้วก็ต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยในหนังสือสัญญาเช่าไม่มีข้อความเช่นว่านั้นเลย หาได้ไม่เพราะเป็นการขอสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อพิพาทที่ดินจากพยานร่วมและเอกสาร การพิพากษาตามคำท้าที่ตกลงกันไว้
คู่ความตกลงให้สืบพยานร่วม และถ้าพยานเบิกความอย่างหนึ่งโจทก์ยอมแพ้ ถ้าเบิกความอีกอย่างหนึ่งจำเลยยอมแพ้ ศาลย่อมวินิจฉัยคำพยานได้ว่าเบิกความสมข้างฝ่ายใด และพิพากษาคดีไปตามคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารให้ทรัพย์สินไม่มีผลเป็นพินัยกรรม หากไม่ได้กำหนดการเผื่อตายและจดทะเบียน
แม้ในหนังสือที่จำเลยอ้างจะมีข้อความว่าเป็นใบแทนพินัยกรรมก็ดี แต่ข้อความที่บรรยายไว้ ผู้ทำหาได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินเพื่อให้มีผลบังคับเมื่อตนตายอย่างไรไม่ ฉะนั้นจึงไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 คงมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเท่านั้น เมื่อไม่ได้จดทะเบียนจึงไม่สมบูรณ์
of 57