พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อยจากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงที่มีลักษณะเป็นการโทรม เป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงทั่วไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ลงโทษจำคุก 25 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) ลงโทษจำคุก 1 ปี 8 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้จากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง เป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง จึงเป็นการแก้ฐานความผิดเดิมโดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ ความผิดทั้งสองวรรคเป็นความผิดในมาตราเดียวกัน และต่างก็เป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ ไม่ถือเป็นการแก้บท แม้จะแก้โทษด้วย ก็เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13598/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องจากจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการฎีกา และศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษค่าปรับเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 57, 66, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ด้วย ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว บัญญัติว่า "ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" เมื่อจำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังจำเลยแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังไม่เกิน 2 ปี โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ถือว่าเป็นการเพิ่มโทษจำเลย ซึ่งเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังจำเลยแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังไม่เกิน 2 ปี โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ถือว่าเป็นการเพิ่มโทษจำเลย ซึ่งเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9844/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษพยายามปล้นทรัพย์: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสมกับกรอบกฎหมาย
โทษตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 340 ตรี เมื่อเป็นความผิดฐานพยายาม ศาลอาจกำหนดโทษจำเลยได้ 33 ปี 4 เดือน หรือกำหนดจากกรอบระวางโทษได้ตั้งแต่ 15 ถึง 20 ปี ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำคุกจำเลย 30 ปีนั้น ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขและกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7917/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุบรรเทาโทษทางอาญา: การขาดความระมัดระวังของผู้เสียหายกับการข่มขืน, การพิจารณาข้อเท็จจริงและขอบเขตการแก้ไขโทษ
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการขาดความระมัดระวังของผู้เสียหายซึ่งถือว่ามีเหตุอื่นอันเป็นเหตุบรรเทาโทษ จึงลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนมานั้น เห็นว่า การที่ผู้เสียหายเป็นพนักงานธนาคาร จำต้องทำยอดลูกค้าบัตรเครดิตให้ได้ตามที่ธนาคารกำหนด จึงยอมไปเที่ยวและร่วมรับประทานอาหารกับจำเลยเพราะผู้เสียหายเคยรับปากจำเลยไว้ จึงไม่อยากเสียคำพูดกับลูกค้า และในที่สุดยอมขึ้นไปที่ห้องพักบนอพาร์ตเมนต์ที่เกิดเหตุตามคำคะยั้นคะยอของจำเลยเป็นเหตุให้ถูกจำเลยใช้อาวุธปืนพูดขู่เข็ญและใช้กำลังบังคับข่มขืนกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่นั้น พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าว หาใช่กรณีที่จะถือได้ว่าสาเหตุแห่งการกระทำความผิดของจำเลยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการขาดความระมัดระวังตัวของผู้เสียหาย อันจะถือว่ามีเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีเหตุอันควรปรานีลักษณะทำนองเดียวกับเหตุอื่น ๆ ที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 78 ไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาแก้เป็นไม่ลดโทษให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ไม่มีบทแก้ไขโทษ แต่ศาลอุทธรณ์แก้โทษจำคุกและปรับ ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ไม่อาจฎีกาได้
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหก, 65 วรรคหนึ่ง, 70 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 69 ด้วย ซึ่งเป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ อันเป็นเหตุฉกรรจ์ หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพียงแต่แก้จำนวนโทษ โดยมิได้แก้บทลงโทษจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคหกของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีจุดมุ่งหมายห้ามมิให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารในระหว่างอุทธรณ์ในทันทีที่มีการยื่นอุทธรณ์เพื่อรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพอาคารมิให้ถูกก่อสร้างเพิ่มเติม เพราะถ้าหากปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารต่อไปอาจทำให้อาคารมีสภาพเปลี่ยนแปลงยากแก่การแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนั้นข้อห้ามกระทำการใดแก่อาคารจึงเริ่มตั้งแต่วันที่มีการยื่นอุทธรณ์ หาใช่นับแต่วันที่ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคหกของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีจุดมุ่งหมายห้ามมิให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารในระหว่างอุทธรณ์ในทันทีที่มีการยื่นอุทธรณ์เพื่อรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งนี้เพื่อรักษาสภาพอาคารมิให้ถูกก่อสร้างเพิ่มเติม เพราะถ้าหากปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารต่อไปอาจทำให้อาคารมีสภาพเปลี่ยนแปลงยากแก่การแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนั้นข้อห้ามกระทำการใดแก่อาคารจึงเริ่มตั้งแต่วันที่มีการยื่นอุทธรณ์ หาใช่นับแต่วันที่ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7662/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนและการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการแก้ไขโทษเล็กน้อย
ที่จำเลยฎีกาว่า สถานที่เกิดเหตุอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลโชคชัยจึงมิใช่พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนการสอบสวนจึงมิชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าสถานที่เกิดเหตุอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษปรับที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้ไม่มีการอุทธรณ์
การคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22020/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดแจ้งข้อมูลเท็จในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และการแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยมาตรา 14 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดหรือผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด... เป็นเจ้าพนักงานออกบัตร เจ้าพนักงานตรวจบัตร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องระวางโทษ..." ต่างจากมาตรา 14 วรรคสาม เดิม ที่บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดหรือผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิด... เป็นเจ้าพนักงาน ไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษ..." จึงถือว่าจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ใหญ่บ้านเป็นเพียงเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ไม่ใช่เจ้าพนักงานออกบัตร เจ้าพนักงานตรวจบัตร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 4 อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ กฎหมายใหม่ส่วนนี้จึงเป็นคุณมากกว่า และนอกจากนั้นความผิดฐานแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ตามกฎหมายที่ใช้บังคับใหม่เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (2) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีระวางโทษน้อยกว่ามาตรา 14 (1) เดิม ที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องรวมทั้งกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20130/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา และการแก้ไขโทษจำคุกในความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง, 67 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 6 ปี ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 7 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 6 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 6 ปี รวมจำคุก 12 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 8 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีน 17 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและแก้โทษด้วย อันเป็นการแก้ไขมาก จึงไม่ต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์นายจ้าง-ปลอมแปลงเอกสาร: กรรมเดียว-ลงโทษฐานลักทรัพย์-แก้ไขโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2550 และร่วมกันปลอมใบส่งของ เล่มที่ 3/3 เลขที่ 18 ลงวันที่ 16 เมษายน 2550 อันเป็นเอกสารสิทธิของผู้เสียหาย แล้วนำใบส่งของที่ทำปลอมขึ้นไปแสดงต่อ ส. กรรมการผู้จัดการของผู้เสียหายในวันเดียวกัน แม้การปลอมเอกสารดังกล่าวจะกระทำภายหลังจากจำเลยทั้งสองลักทรัพย์สำเร็จ แต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะใช้เอกสารปลอมที่ทำขึ้นเป็นหลักฐานเพื่อปกปิดการกระทำของตนที่ได้ลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป ความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมกับความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225