คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่เป็นธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: โจทก์มีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรม โดยอ้างว่าโจทก์ถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และการสอบสวนฟังว่าโจทก์มีมลทินมัวหมองส่อทุจริตซึ่งความจริงโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่ถูกกล่าวหา จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายข้อบังคับฯ เพราะโจทก์มีมลทินมัวหมองในเรื่องทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้ ประเด็นที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่เสียก่อน ซึ่งข้อนี้โจทก์มีภาระหน้าที่นำสืบตามที่กล่าวอ้าง ลำพังแต่ คำฟ้อง คำให้การ คำแถลงรับของคู่ความและพยานเอกสารที่คู่ความอ้างส่งต่อศาล ข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่แต่ได้ความว่าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าโจทก์กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริง แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันแน่ชัดถึงชั้นทุจริตต่อหน้าที่อันจะไล่ออกจากงานได้ จึงมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานมีมลทินมัวหมองในเรื่องทุจริต่อหน้าที่ตามข้อบังคับฯ ฉะนั้น ที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอกสารคำให้การของ ธ.ที่ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนแต่ผู้เดียวมาวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้กระทำผิดและไม่มีมลทินมัวหมอง ทั้งๆ ที่ไม่มีการสืบพยานหักล้างข้อเท็จจริงผลการสอบสวนให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงไม่ชอบด้วยการพิจารณาว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน แม้ข้อนี้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ และโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมีหน้าที่นำสืบแถลงไม่สืบพยาน เช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีทางชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องพิสูจน์ความผิดทางวินัยของลูกจ้าง โจทก์มีหน้าที่นำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรม โดยอ้างว่าโจทก์ถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และการสอบสวนฟังว่าโจทก์มีมลทินมัวหมองส่อทุจริตซึ่งความจริงโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่ถูกกล่าวหา จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยชอบด้วยข้อบังคับฯ เพราะโจทก์มีมลทินมัวหมองในเรื่องทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังนี้ ประเด็นที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่เสียก่อน ซึ่งข้อนี้โจทก์มีภาระหน้าที่นำสืบตามที่กล่าวอ้างลำพังแต่ คำฟ้อง คำให้การ คำแถลงรับของคู่ความและพยานเอกสารที่คู่ความอ้างส่งต่อศาล ข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่ แต่ได้ความว่าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าโจทก์กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริง แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันแน่ชัดถึงขั้นทุจริตต่อหน้าที่อันจะไล่ออกจากงานได้ จึงมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานมีมลทินมัวหมองในเรื่องทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อบังคับฯ ฉะนั้น ที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเฉพาะคำให้การของ ธ.ที่ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนแต่ผู้เดียวมาวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้กระทำผิดและไม่มีมลทินมัวหมอง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการสืบพยานหักล้างข้อเท็จจริงผลการสอบสวนให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงไม่ชอบด้วยการพิจารณาว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน แม้ข้อนี้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ และโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมีหน้าที่นำสืบแถลงไม่สืบพยาน เช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีทางชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019-2022/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ยินยอมและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัทโจทก์จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจากข้อตกลงเดิมเป็นให้ลูกจ้างทำงานเป็นผลัดหรือเป็นกะโดยลูกจ้างไม่ยินยอมไม่ได้เพราะการทำงานเป็นผลัดนั้นไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างการที่ลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งประกาศระเบียบข้อบังคับการทำงานฉบับใหม่จะถือว่าลูกจ้างได้ยินยอมแล้วยังไม่ได้การไม่เข้าทำงานจึงมิใช่การหยุดงานหรือการนัดหยุดงานการเลิกจ้างจึงสืบเนื่องมาจากข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงยังมีผลบังคับอยู่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา123 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างหากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไม่เห็นด้วยก็ชอบที่จะโต้แย้งทันทีแต่ไม่อาจหยุดงานได้การหยุดงานจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายดังนี้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานกลางฟังมาและไม่มีความตอนใดที่เป็นปัญหาข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612-1636/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะขาดทุนและการจ่ายเงินชดเชย ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะเหตุประสบภาวะการขาดทุนไม่สามารถดำเนินกิจการในแผนกที่โจทก์ทำงานอยู่ต่อไปได้ ทั้งภายหลังเลิกจ้าง แล้วจำเลยยังพยายามดำเนินการเพื่อให้โจทก์เข้าทำงานใหม่ และได้จ่ายเงินชดเชยให้โจทก์ทุกคนรับไปแล้วด้วย จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612-1636/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากขาดทุนและการจ่ายเงินชดเชย ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะเหตุประสบภาวะการขาดทุน ไม่ สามารถดำเนินกิจการในแผนกที่โจทก์ทำงานอยู่ต่อไปได้ทั้งภายหลังเลิกจ้างแล้วจำเลยยังพยายามดำเนินการเพื่อให้โจทก์เข้าทำงานใหม่ และได้จ่ายเงินชดเชยให้โจทก์ทุกคนรับไปแล้วด้วย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนบังคับใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกับรัฐวิสาหกิจ
โจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลแรงงานกลางศาลแรงงานกลางสอบถามตามที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แล้วบันทึกรายการแห่งข้อหาไว้ ตามมาตรา 35แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 โดยในตอนต้นกล่าวถึงการที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม คำขอบังคับในตอนท้ายกล่าวว่า ให้จำเลยปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยจ่ายค่าชดเชยรวม 14,400บาทนั้น ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน นั่นเอง ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
การฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจด้วย จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเมื่อโจทก์เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง และงานนั้นไม่เกี่ยวกับงานบ้านไม่ว่าจำเลยจะเรียกโจทก์ว่าพนักงานหรือเรียกว่าลูกจ้างและจำเลยจะวางข้อบังคับกำหนดระเบียบปฏิบัติงาน และระเบียบการลงโทษ การแต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนชั้น เลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงาน ตลอดจนจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์แก่พนักงานไว้อย่างไร ก็ยังต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ตามบทนิยามของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การที่นายจ้างกับลูกจ้างจะทำข้อตกลงกันใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 13 แล้วดำเนินการตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 13 ด้วย นายจ้างไม่อาจกระทำได้ฝ่ายเดียว
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรกไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง โดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)
ในการชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังการยื่นข้อเรียกร้อง - การบังคับใช้ข้อตกลงสภาพการจ้างและการคุ้มครองลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยกับสภาพการจ้างที่ผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้ทำความตกลงกันทำขึ้น มิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จึงมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่ที่ตกลงกัน
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้าง แล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้างจึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ และเมื่อมีพฤติการณืฟังได้ว่านายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121 (1) อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 40, 41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังข้อเรียกร้องค่าจ้าง และผลของข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้ทำความตกลงกันทำขึ้นมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จึงมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่ที่ตกลงกัน
การที่นายจ้างเลิกกิจการไม่ทำให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลง เมื่อข้อตกลงระบุว่าในกรณีนายจ้างจำเป็นต้องยุบหรือเลิกกิจการแผนกใด นายจ้างรับจะพิจารณาหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้ลูกจ้างแล้วนายจ้างยุบเลิกแผนกโดยไม่หาตำแหน่งใหม่ให้ลูกจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเมื่อมีพฤติการณ์ฟังได้ว่า นายจ้างยุบเลิกแผนกส่งของเพื่อเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างในแผนกนี้หลายคนเป็นผู้นำในการยื่นข้อเรียกร้องให้ปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่นายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 121(1)อีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องของลูกจ้างและสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 40,41 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวหาศาลไม่เป็นธรรมในคำฟ้องอุทธรณ์ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล แม้จะคัดจากเอกสารอื่น
โจทก์ยื่นคำแถลงไปยังสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาคมีข้อความว่าศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พูดกันในขณะจดรายงานฯ เป็นการช่วยเหลือฝ่ายจำเลยซึ่งมีอิทธิพล ทำให้โจทก์เสียเปรียบในเชิงคดีและเป็นการไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยคัดข้อความดังกล่าวมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วย ข้อความดังกล่าวนี้กล่าวหาว่าศาลไม่เป็นธรรมจึงถือได้ว่าเป็นข้อความที่มุ่งกล่าวเสียดสีศาล
แม้ข้อความที่กล่าวเสียดสีศาลจะเป็นข้อความซึ่งโจทก์คัดมาจากคำแถลงของโจทก์และหาใช่ถ้อยคำที่โจทก์ใช้ในอุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่โจทก์ยกมากล่าวไว้ในอุทธรณ์โดยไม่จำเป็น จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าโจทก์มุ่งกล่าวให้เห็นในคำฟ้องอุทธรณ์ด้วย
แม้ตัวโจทก์จะเป็นผู้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็เป็นผู้เรียงข้อความที่เสียดสีเหล่านั้น ผลแห่งการยื่นจึงถือได้เท่ากับว่าทนายโจทก์เป็นผู้ยื่นเองด้วย ฉะนั้น ตัวโจทก์และทนายโจทก์ย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในฐานที่ประพฤติตนไม่เรียบร้อยอย่างหนึ่งในบริเวณศาล
of 48