คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ฟ้องซ้อน กรณีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน และผลผูกพันจากการใช้สิทธิของทายาท
ด. ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมยื่นคำคัดค้านในคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดอำนาจเจริญขอให้มีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกเป็นการใช้สิทธิ์อันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 ผลแห่งคดีตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวซึ่งศาลจังหวัดอำนาจเจริญมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ย่อมต้องผูกพันถึงโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวมการที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับพวกหรือของจำเลยย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
ด. ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดก เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง การที่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวมฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกจึงเป็นเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4694/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่า: แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ แต่สิทธิฟ้องยังคงมีอยู่หากมีสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่า จ. ซึ่งเป็นปู่ของโจทก์เช่าที่ดินแปลงที่ปลูกห้องแถวพิพาทมาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในการปลูกห้องแถวนำออกให้เช่า จ. ได้ปลูกห้องแถวพิพาทแล้ว ต่อมา จ. ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงได้เข้าเป็นคู่สัญญาเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แทน และโจทก์มอบอำนาจให้ ส. มารดาของโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทกับจำเลยแทนโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทโดยซื้อมาจาก ค. แต่ยอมรับว่าทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทตามสัญญาเช่าที่โจทก์ระบุมาให้คำฟ้องจริง เนื่องจากที่ดินที่ปลูกห้องแถวเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยให้การปฏิเสธคำฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องแถวพิพาทหรือไม่
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทกับโจทก์และสัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปโดยชอบแล้ว จำเลยเพิกเฉย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท
จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าเหตุที่ต้องทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทกับโจทก์เนื่องมาจากไม่สามารถทำสัญญญาโอนสิทธิการเช่าได้ เพราะที่ดินเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การซื้อสินค้าไม่ใช่การโอนสิทธิ ผู้ร้องไม่มีสิทธิสอดเข้าคดี
จำเลยที่ 1 จะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของเครื่องหมายการค้า เมื่อจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้องไปแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในสินค้าที่ได้จำหน่ายไปได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไปเท่านั้น การซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้องไปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าฟ้องจำเลยทั้งสามให้ระงับหรือเลิกใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหาย จึงไม่ใช่การก่อการรบกวนสิทธิของจำเลยทั้งสามผู้ซื้อในอันจะครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุขเพราะโจทก์มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายอันผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 ที่จะเป็นเหตุให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขายสามารถสอดเข้ามาในคดีเพื่อปฏิเสธการเรียกร้องของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 478 ได้
คดีก่อนผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์โดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหาย คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษายืนให้ยกฟ้องของผู้ร้องโดยวินิจฉัยในประเด็นเรื่องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าคดีของผู้ร้องขาดอายุความ ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความเดียวกับโจทก์จะรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 148 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้รับโอนสัญญาเช่า: การรับชำระค่าเช่าและเงินประกันจากผู้เช่า
ตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 569 ที่กำหนดให้สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ระงับไป เพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า และผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยนั้น ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนมีสิทธิรับเงินค่าเช่าที่ผู้เช่าต้องชำระหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ และเงินประกันความเสียหายที่ผู้เช่าชำระให้แก่จำเลย จำเลยไม่มีสิทธิได้รับหรือยึดถือเงินดังกล่าวไว้ต้องส่งมอบให้แก่โจทก์แม้ในเวลาต่อมาโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าไปยังผู้เช่าก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอม/ทางจำเป็น: การใช้ทางโดยได้รับความยินยอม ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ, การแบ่งแยกที่ดินต้องเรียกร้องบนที่ดินเดิม
การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยตลอดมา แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใด โจทก์ก็ไม่ได้สิทธิในทางภาระจำยอมจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 เพราะการใช้ทางพิพาทของโจทก์มิได้ประสงค์จะใช้ทางพิพาทอย่างเป็นปรปักษ์ต่อสิทธิในทางพิพาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 บัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันดังนั้น การที่ที่ดินโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงเดิมของ ข. และ ห. ทำให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะฟ้องเรียกร้องทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งมิใช่ที่ดินแปลงเดิมที่ถูกแบ่งแยกหรือแบ่งโอนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี ถือเป็นการได้สิทธิภาระจำยอม
โจทก์ทั้งสามใช้ทางพิพาทมาตั้งแต่มีการขุดลำเหมืองสาธารณะเป็นทางเดินและภายหลังมีการขยายถนนให้กว้างขึ้นตั้งแต่ปี 2528 โดยสภาตำบล เพื่อให้รถอีแต๋นและรถไถนาเข้าไปในที่นาของโจทก์ทั้งสาม เมื่อนับถึงวันที่จำเลยนำเสาปูนไปปักแสดงสิทธิในที่ดินของจำเลยเมื่อเดือนกันยายน 2543 รวมระยะเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ทั้งสามจึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการลงโทษจำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม
เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายและ ส. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความต่อศาลต่อหน้าจำเลย จำเลยย่อมไม่มีโอกาสถามค้านเพื่อให้ข้อเท็จจริงเป็นที่กระจ่างแก่ศาลได้ นอกจากนี้ที่ ส. พยานโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้ ก็ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ส่งหมายเรียกให้ ส. โดยมี จ. มารดา ส. เป็นผู้รับหมายเรียกแทน พยานโจทก์ปาก ส. มีที่อยู่และสถานที่ทำงานที่แน่นอน โดยพักอาศัยกับภริยาและบุตร ทำงานเป็นคนขับรถของบริษัท ท. เชื่อว่าอยู่ในวิสัยที่จะยังติดตามพยานปากนี้มาเบิกความได้ จึงมิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (2) ทั้งปรากฏว่าศาลลงโทษ ก. ข้อหาทำร้ายร่างกาย ยกฟ้องข้อหาพยายามฆ่า ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์เกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยมาสืบเพื่อให้รับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำผู้เสียหายและ ส. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความต่อศาลได้ คงมีพันตำรวจตรี ป. พนักงานสอบสวนเพียงปากเดียวมาเบิกความโดยที่จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด พยานหลักฐานของโจทก์ย่อมไม่พอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดและการบังคับคดีตามคำพิพากษา: การวัดแนวเขตทางพิพาท
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินกับจำเลยซึ่งตกเป็นภาระจำยอมและถูกบังคับคดีในคดีนี้ เมื่อการบังคับคดีมีปัญหาอันเนื่องจากโจทก์และจำเลยแปลความคำพิพากษาแตกต่างกัน จำเลยและผู้ร้องเห็นว่าการบังคับคดีไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา ทำให้จำเลยและผู้ร้องเสียหายผู้ร้องย่อมใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: การครอบครองปรปักษ์, พินัยกรรม, และการพิสูจน์สิทธิ
ป.พ.พ. มาตรา 1373 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวว่าเป็นของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยทั้งสอง ที่จำเลยทั้งสองอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1367 ที่บัญญัติว่า บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครองนั้น มาตรา 1367 เป็นเพียงบทบัญญัติทั่วไป เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดิน ซึ่งกฎหมายต้องการให้แสดงออกซึ่งกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนยิ่งกว่าการครอบครองจึงต้องบังคับตามมาตรา 1373 ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีเพิ่มเติมหลังจดทะเบียนเสร็จสิ้น กรณีมีทรัพย์สินหลงเหลือ และสิทธิของผู้ถือหุ้น
ผู้ร้องเป็นกรรมการและผู้ชำระบัญชีของบริษัท ย. ทำการชำระบัญชีกิจการของบริษัท ย. สำเร็จลงซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนแล้วให้ถือเป็นที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามป.พ.พ. มาตรา 1270 แต่มิได้หมายความว่าหากได้จดทะเบียนแล้ว มีเหตุจำเป็นข้ดข้องจากการชำระบัญชีกิจการของบริษัทแต่เดิมแล้วจะมีการชำระบัญชีเพิ่มเติมใหม่อีกไม่ได้ การที่บริษัท ย. ยังมีที่ดินถือกรรมสิทธิ์อีก 2 แปลง ซึ่งหลงเหลืออยู่โดยมิได้มีการชำระบัญชี แต่บริษัท ย. สิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคลไปแล้วย่อมกระทบถึงสิทธิที่จะได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของผู้ถือหุ้นจากที่ดินดังกล่าว จึงมีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัท ย. ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 55
of 424