คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12473/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังการซื้อขายในระยะเวลาห้ามโอน และการสละเจตนาครอบครอง
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสิบในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงว่า ป. ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ และ ป. กับโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ขึ้นกล่าวแก้เป็นประเด็น ปัญหาทั้งสองข้อดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำแก้ฎีกาของจำเลยทั้งสิบในส่วนนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น (เฉพาะจำเลยที่ 1) และในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสิบจึงยกขึ้นกล่าวแก้เป็นประเด็นในคำแก้ฎีกาในชั้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้แก่ ป. โดยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ป. โดยมิได้กลับเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินอีก แสดงว่าจำเลยที่ 1 สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง แล้ว แม้ ป. จะได้ซื้อที่ดินและยึดถือทำประโยชน์เพื่อตนในระยะเวลาห้ามโอน ป. ไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากถูกจำกัดสิทธิโดยบทบัญญัติแห่ง ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ แต่เมื่อ ป. และโจทก์ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. ได้ร่วมกันครอบครองที่ดินตลอดมาจนเลยเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ยังครอบครองที่ดินอยู่ จึงถือได้ว่า ป. และโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปแบ่งแยกโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จึงไม่มีสิทธิเข้าไปในที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 9 ไม่อาจนำที่ดินพิพาทบางส่วนไปจดทะเบียนจำนอง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยกับศาลล่างทั้งสองที่วินิจฉัยว่า ป. และโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 (ประเด็นนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามกฎหมายที่มิให้โอนที่ดินพิพาท การที่ ป. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นการได้ตามผลของกฎหมาย จึงหาอาจเรียกให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. ได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12168/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันและสิทธิในการไล่เบี้ยตามส่วน
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับโจทก์และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้วจำนวน 17,000,000 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ตามส่วนเท่าๆ กัน จำนวน 8,500,000 บาท ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และมาตรา 296เนื่องจากบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตราทั้งสองดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11848/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตเพื่อประวิงคดี ถือเป็นการสละสิทธิ
จำเลยที่ 2 เพิ่งมาดูแลการขายทรัพย์พิพาทในการขายทอดตลาดครั้งที่ 2 และเพิ่งคัดค้านราคาเป็นครั้งแรก แต่จำเลยที่ 2 ควรรู้ว่าจำเลยที่ 1 คัดค้านราคาในการขายทอดตลาดครั้งแรกไว้ ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อตนและเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมไว้แล้ว เท่ากับจำเลยที่ 2 สละสิทธิที่จะคัดค้านราคาสำหรับการขายทอดตลาดครั้งต่อๆ มาด้วย แต่ยังคงมีสิทธิหาผู้ที่จะเสนอซื้อทรัพย์พิพาทในราคาที่จำเลยที่ 2 ต้องการมาเสนอซื้อในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป จำเลยที่ 2 ก็หากระทำไม่หรือไม่อาจหาบุคคลเช่นว่านั้นได้ กลับมีพฤติการณ์สลับกับจำเลยที่ 1 มาคัดค้านราคา เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตประวิงการบังคับคดีให้เนิ่นช้าออกไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องเลื่อนการขายทอดตลาดออกไปอีกเพราะได้เลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่งตามคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนัย ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งกระทำโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จากสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างหย่า: สิทธิเจ้าของรวมและการคุ้มครองสิทธิ
ข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างจำเลยกับ ว. นอกจากจำเลยกับ ว. จะเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีผู้ร้องและบุตรของจำเลยและ ว. อีก 3 คน เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 การที่ผู้ร้องเข้าถือเอาประโยชน์ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งแม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาดังกล่าวย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่บ้านพิพาทตั้งอยู่บนที่สาธารณประโยชน์และผู้ร้องได้เข้าครอบครองบ้านพิพาทแล้วเพียงแต่ผู้ร้องยังมิได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้จะได้ความว่าจำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์ก็ตามแต่จำเลยเป็นมารดาของผู้ร้องจึงย่อมอยู่อาศัยกับบุตรของตนได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องดังกล่าวสิ้นไปแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบ้านพิพาทตกเป็นสิทธิของผู้ร้องร่วมกับบุตรของจำเลยอีก 3 คน และในคำร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องได้ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ด้วย การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในกรณีนี้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ในกรณีเช่นนี้ ผู้ร้องจึงสามารถร้องขอให้เพิกถอนการยึดได้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10391/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.วิทยุโทรทัศน์ เป็นการกระทำต่อรัฐ ไม่เป็นละเมิดต่อเอกชน โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ
ความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 มาตรา 5 เป็นการกระทำผิดต่อรัฐโดยตรง รัฐจึงเป็นผู้เสียหายมิใช่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำความผิดต่อรัฐมิได้เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดี: สิทธิการครอบครองที่ดินและบ้านของบริวารในสินสมรส
คดีก่อนสามีผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีโดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับผู้ร้องแต่ไม่มีพยานมาไต่สวน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าสามีผู้ร้องอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทในฐานะบริวารของจำเลยไม่ได้มีอำนาจพิเศษที่จะครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิความเป็นเจ้าของได้ การยื่นคำร้องของสามีผู้ร้องถือเป็นการจัดการทรัพย์สินบ้านพิพาทซึ่งถือว่าเป็นสินสมรสหรือกรรมสิทธิ์รวมระหว่างสามี ผู้ร้องกับผู้ร้องในนามของผู้ร้องด้วย ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันผู้ร้อง ทั้งตามคำร้องผู้ร้องก็มิได้อ้างอำนาจพิเศษนอกเหนือจากที่สามีผู้ร้องอ้าง กรณีจึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยและไม่มีสิทธิมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้บริโภค: การดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 39 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรเข้าดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค หรือเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมอัยการ หรือข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล... ในการดำเนินคดีในศาลให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ร้องขอได้ด้วย และในการนี้ให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนคดีนี้ปรากฏว่าพนักงานอัยการทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดำเนินคดีแทนโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคทั้ง 4 ราย ในการดำเนินคดีนี้ย่อมได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด กรณีมีผู้คัดค้านการขาย
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 12 ไม่ให้ใช้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวบังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ผู้ร้องทำสัญญาซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาดกับผู้คัดค้านก่อนวันที่ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกำหนดตามสัญญาที่ดินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้
ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นจะต้องปฏิบัติบังคับตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี และ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ซึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 388 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นแห่งคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 (4) ที่ว่า บุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นนั้นเป็นคู่ความ มิได้หมายความว่า ถ้าใครมาคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมด แต่คงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัท ก. คืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการฟ้องบังคับชำระหนี้กับบริษัทดังกล่าวแทนบรรดาผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่า มีเหตุผลสมควรที่จะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัทดังกล่าวคืนเข้าสู่ทะเบียนหรือไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิการเช่าอาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวเท่านั้น มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดี จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านในคดีไม่มีข้อพิพาท: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเกี่ยวข้องกับมูลคดีโดยตรง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ที่ว่าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นนั้นเป็นคู่ความ มิได้หมายความว่า ถ้าใครมาคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมด แต่คงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัท ก. คืนเข้าสู่ทะเบียนเพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการฟ้องบังคับชำระหนี้กับบริษัทดังกล่าวแทนบรรดาผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่า มีเหตุสมควรที่จะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกลับจดชื่อบริษัทดังกล่าวคืนเข้าสู่ทะเบียนหรือไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิการเช่าอาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวเท่านั้น หาได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีไม่ จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาในคดี ที่ศาลชั้นต้นรับคำคัดค้านไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้าน
of 424