พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองบุคคลภายนอกที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยสุจริต
บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง หมายถึง บุคคลใดๆ ก็ได้ที่มิใช่เจ้าของที่ดินเดิมซึ่งได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เมื่อธนาคาร ก. เป็นทั้งผู้รับจำนองที่ดินพิพาทจากเจ้าของที่ดินเดิมและยังเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ธนาคาร ก. จึงเป็นบุคคลภายนอกย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
เมื่อธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลโดยไม่ปรากฏว่าซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ อย่างไร ก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่ผู้ซื้อว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ถือว่าธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ผู้ร้องไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันธนาคาร ก. ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. ภายใน 10 ปี นับแต่วันรับโอนจากธนาคาร ก. และรับโอนโดยไม่สุจริตก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครองครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนคนต่อมาได้ เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ธนาคาร ก. ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตตอนแรก แม้ผู้ร้องจะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่การครอบครองในช่วงหลังที่ธนาคาร ก. และผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์มา เมื่อนับถึงวันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์ต่อผู้คัดค้านที่ 1 ครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วด้วยหาได้ไม่
เมื่อธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลโดยไม่ปรากฏว่าซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ อย่างไร ก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่ผู้ซื้อว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ถือว่าธนาคาร ก. ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ผู้ร้องไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันธนาคาร ก. ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. ภายใน 10 ปี นับแต่วันรับโอนจากธนาคาร ก. และรับโอนโดยไม่สุจริตก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครองครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนคนต่อมาได้ เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ธนาคาร ก. ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตตอนแรก แม้ผู้ร้องจะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่การครอบครองในช่วงหลังที่ธนาคาร ก. และผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์มา เมื่อนับถึงวันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์ต่อผู้คัดค้านที่ 1 ครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดตั้งเสาไฟฟ้าบนที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สำรวจสิทธิและไม่ขออนุญาต ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับการไฟฟ้านครหลวงจำเลยและบริวารระงับการกระทำละเมิดต่างๆ บนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม พร้อมทั้งให้รื้อถอนเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ซึ่งได้กระทำลงบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม จำเลยให้การว่า จำเลยดำเนินการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าตามคำขอของการเคหะแห่งชาติ ชาวบ้านผู้ใหญ่บ้านซอยชุมชนวัดพรพระร่วงประสิทธิ์ ซึ่งจำเลยตรวจสอบและเห็นว่าถูกต้องตามระเบียบแล้วจึงดำเนินการให้ตามขอ โดยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทั้งได้รับคำยืนยันจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านและสำนักงานเขตบางเขนว่า ที่ดินในซอยวัดพรพระร่วงประสิทธิ์เป็นทางสาธารณะ จำเลยไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอม คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอมก็เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากพยานนอกประเด็นข้อพิพาท และเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตามป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นทางสาธารณะ การที่การไฟฟ้านครหลวงจำเลยทำการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในที่ดินพิพาทโดยมิได้สำรวจตรวจสอบถึงสิทธิในที่ดินให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน และมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินได้รับความเสียหายย่อมเป็นการละเมิด
ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นทางสาธารณะ การที่การไฟฟ้านครหลวงจำเลยทำการปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในที่ดินพิพาทโดยมิได้สำรวจตรวจสอบถึงสิทธิในที่ดินให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน และมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินได้รับความเสียหายย่อมเป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินตามใบจองและการตกทอดทางมรดก: ที่ดินยังเป็นของรัฐ การโอนต้องตกทอดทางมรดกเท่านั้น
ใบจอง หมายถึงหนังสือแสดงการยอมให้ราษฎรเข้าครอบครองที่ดินชั่วคราวเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหากินเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามระเบียบและเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดโดยอยู่ภายใต้ข้อบังคับว่าผู้ได้รับอนุญาตให้จับจองจะโอนไม่ได้เว้นแต่จะตกทอดโดยทางมรดกตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง ที่ดินตามใบจองจึงยังเป็นของรัฐ ไม่ใช่ที่ดินที่เอกชนมีสิทธิครอบครองอันจะมีการแย่งการครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกันได้ การที่ ป. ได้รับอนุญาตจากรัฐให้เข้าครอบครองที่ดินตามใบจอง ต่อมา ป. ถึงแก่ความตายสิทธิตามใบจองย่อมตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง มาตรา 1600 มาตรา 1635 ประกอบ พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการส่วนท้องถิ่น: 'ท้องที่' คืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ไม่รวมจังหวัด การมีบ้านพักอาศัยเดิมไม่ตัดสิทธิ
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าเช่าบ้านของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2528 ข้อ 4 คำว่า "ท้องที่" จำกัดเฉพาะอำเภอ กิ่งอำเภอหรือท้องที่ของอำเภอและหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันเท่านั้น ไม่รวมถึงจังหวัดเดียวกัน การย้ายไปประจำสำนักงานต่างสำนักงาน แม้อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ก็มิใช่ท้องที่เดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการส่วนท้องถิ่น การย้ายไปประจำสำนักงานต่างท้องที่ และการเช่าซื้อบ้าน
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าเช่าบ้านของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2528 คำว่า "ท้องที่" จำกัดเฉพาะอำเภอ กิ่งอำเภอหรือท้องที่ของอำเภอและหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันเท่านั้น ไม่รวมถึงจังหวัด หากข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้ได้เช่าบ้านในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น มีสิทธินำหลักฐานในการชำระค่าเช่าซื้อมาเบิกค่าเช่าบ้านได้หากตนเองได้ทำการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อบ้านอยู่เพียงหลังเดียวในท้องที่นั้น และต่อมาหากได้รับแต่งตั้งให้รับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ก็ยังนำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนโดยทราบว่าไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวน
จำเลยทราบแล้วว่าไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ยังคงครอบครองปลูกต้นส้มต่อไป ย่อมเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เพราะทำให้กลายเป็นสวนส้ม ไม่เป็นป่าตามสภาพเดิม จำเลยไม่ได้สำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุได้ตาม ป.อ. มาตรา 62 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยหนังสือมอบอำนาจปลอมและความประมาทเลินเล่อของเจ้าของที่ดิน ทำให้บุคคลภายนอกสุจริตได้สิทธิ
โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 และมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หนังสือสำคัญที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจให้จดทะเบียนโอนของ ค. เจ้าของที่ดินเดิมและลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยที่ยังไม่กรอกข้อความให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 เป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อมาจำเลยที่ 1 ปลอมหนังสือมอบอำนาจดังวกล่าวด้วยการกรอกข้อความโดยไม่ได้รับความยินยอมและฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในที่ดินพิพาททั้งการที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์ไม่อาจยกเอาความผิดของตนดังกล่าวมาปฏิเสธความผิดต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9753/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแฟรนไชส์เป็นสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายก็มีสิทธิไม่ชำระหนี้ และไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาแฟรนไชส์มีข้อตกลงที่ให้โจทก์นำเงินมาลงทุนประกอบการร้านแฟมิลี่มาร์ทโดยใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของจำเลย โจทก์เป็นผู้ประกอบการร้านแฟมิลี่มาร์ทและรับผิดชอบต่อลูกจ้างของตนในฐานะนายจ้าง โดยโจทก์จะต้องโอนเงินรายได้จากการขายสินค้าให้จำเลยและจำเลยจะจ่ายเงินปันผลกำไรประจำเดือนและเงินส่วนแบ่งกำไรสะสมให้โจทก์ สัญญาแฟรนไชส์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
โจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งเงินรายได้จากการขายให้จำเลย โดยที่สัญญาแฟรนไชส์ที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาแก่จำเลยก่อน โจทก์จะมาขอให้จำเลยส่งร้านให้โจทก์เข้าครอบครองไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบร้าน โจทก์จะอ้างเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน
โจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งเงินรายได้จากการขายให้จำเลย โดยที่สัญญาแฟรนไชส์ที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาแก่จำเลยก่อน โจทก์จะมาขอให้จำเลยส่งร้านให้โจทก์เข้าครอบครองไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบร้าน โจทก์จะอ้างเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9075/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้เป็นการบังคับคดีโดยบุคคลเดียวกัน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองโดยขอให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ซึ่งเป็นการร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้จะถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองซึ่งผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ค) (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการฟ้องบังคับจำนองโดยวิธีทั่วไป เพราะทรัพย์จำนองดังกล่าวได้ถูกโจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ไว้แล้ว และแม้โจทก์กับผู้ร้องจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน แต่การที่ผู้ร้องร้องขอรับชำระหนี้จำนอง เป็นการร้องขอเข้ามาตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ในฐานะที่แตกต่างกัน เมื่อผู้ร้องมิได้ขอให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ผู้ร้องจึงไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องเพิกถอนการยึดทรัพย์: ผู้ร้องต้องแสดงฐานะผู้มีส่วนได้เสียที่ชัดเจน
ผู้ร้องแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทเพราะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและผู้ร้องยังไม่ยื่นขอกับส่วนเงินที่จะได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท เหตุเพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องบรรยายคำร้องเพียงว่า ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และหากให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปจะมีปัญหาโต้แย้งระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งกับผู้ซื้อ โดยไม่ปรากฏจากคำร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิใด จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาท