พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีแบ่งสินสมรส: ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษา ทำให้คำบังคับเดิมสิ้นผล จำเลยมีสิทธิขอออกคำบังคับใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งกรรมสิทธิ์รวมบ้าน 2 หลัง และรถยนต์ 1 คัน ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากแบ่งไม่ได้ให้นำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันกันคนละครึ่ง เป็นเรื่องการแบ่งสินสมรสเกี่ยวเนื่องกับสิทธิในครอบครัว โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการขอออกคำบังคับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความย่อมมีสิทธิร้องขอให้ออกคำบังคับได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นอันสิ้นผลไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไปได้ รวมถึงกรณีที่หากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีเดิมและผลแห่งคำพิพากษาจำต้องมีการบังคับคดีให้แบ่งสินสมรสระหว่างกันอีก จำเลยที่ 1 หรือโจทก์ย่อมสิทธิขอออกคำบังคับใหม่เพื่อให้มีการบังคับคดีต่อไปได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นอันสิ้นผลไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไปได้ รวมถึงกรณีที่หากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีเดิมและผลแห่งคำพิพากษาจำต้องมีการบังคับคดีให้แบ่งสินสมรสระหว่างกันอีก จำเลยที่ 1 หรือโจทก์ย่อมสิทธิขอออกคำบังคับใหม่เพื่อให้มีการบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8311-8312/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากจากทรัพย์มรดก: สิทธิทายาท & การแบ่งทรัพย์สิน
ผู้ร้องทั้งสองไม่มีหลักฐานเอกสารแสดงการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้ตาย ถึงแม้ผู้ร้องที่ 1 จะได้โอนที่ดินพร้อมบ้านไม้สองชั้น 2 คูหา ให้ผู้ร้องที่ 2 ไปแล้วก็เป็นเพียงการโอนไปซึ่งทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ในทรัพย์มรดกอื่นกลับไม่ปรากฏว่าผู้ร้องที่ 1 ได้จัดการประการใดหรือโอนให้จำเลยไป ดังนี้ เมื่อเงินฝากในบัญชีเงินฝากกึ่งหนึ่งยังเป็นของผู้ตาย ย่อมตกทอดไปยังจำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้ตาย จำเลยจึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในเงินฝากดังกล่าว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการอายัดเงินดังกล่าวของพนักงานบังคับคดี
ตามคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของผู้ร้องทั้งสองซึ่งอ้างว่าเงินฝากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการอายัดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ผู้ร้องทั้งสอง ขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝากดังกล่าวนั้น เป็นกรณีมีปัญหาว่า จะอายัดเงินฝากดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมีคำขอให้คืนเงินฝากดังกล่าวแก่ผู้ร้องทั้งสองด้วยแต่หากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้เงินฝากดังกล่าวกลับคืนไปตามเดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ผู้ร้องทั้งสองจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลสำนวนละ 200 บาท ในแต่ละชั้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้ร้องทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลแต่ละสำนวนในส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง
ตามคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของผู้ร้องทั้งสองซึ่งอ้างว่าเงินฝากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการอายัดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ผู้ร้องทั้งสอง ขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝากดังกล่าวนั้น เป็นกรณีมีปัญหาว่า จะอายัดเงินฝากดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมีคำขอให้คืนเงินฝากดังกล่าวแก่ผู้ร้องทั้งสองด้วยแต่หากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้เงินฝากดังกล่าวกลับคืนไปตามเดิมเท่านั้น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ผู้ร้องทั้งสองจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลสำนวนละ 200 บาท ในแต่ละชั้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้ร้องทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลแต่ละสำนวนในส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับพินัยกรรม vs. ผู้ปลูกสร้างบนที่ดินมรดก: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเหนือกว่า
ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่มีสิทธิรับมรดกของ ป. แต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกที่ผู้คัดค้านที่ 2 ขอเป็นผู้จัดการมรดก ป. ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกดังกล่าว การที่ ป. อนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกไม่มีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7667/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนพิพากษาจำกัดเฉพาะคู่ความที่ศาลรับฟ้องแล้ว
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อต่อสู้คดีกับผู้ร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำคัดค้านซึ่งมีผลเป็นการไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความ แม้ผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำคัดค้านดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ดังนั้นในขณะยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ผู้คัดค้านมิใช่คู่ความ จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพสงวนสำหรับทายาทตามกฎหมายประกันสังคมเท่านั้น น้องร่วมบิดามารดาไม่มีสิทธิ
ส. จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน แล้วสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2548 ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 38 (2) ส. มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามมาตรา 77 ทวิ วรรคสอง ส. ตายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 ก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ เมื่อตามมาตรา 77 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ทายาทของ ส. มีสิทธิได้รับเงินชราภาพ และตามมาตรา 77 จัตวา วรรคสอง ระบุว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพได้แก่ (1) บุตรชอบด้วยกฎหมาย (2) สามีหรือภริยา (3) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ โจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดา ส. แม้จะเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) แต่ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามมาตรา 77 จัตวา วรรคสอง จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6476/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีลูกหนี้ชั้นต้น - บังคับจำนองทรัพย์สิน - การยึดทรัพย์สินเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3,719,572.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อปีของต้นเงิน 3,355,338.18 บาท นับแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 จนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ โจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้โดยบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ถ้ายังไม่พอชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะครบถ้วนได้ ไม่จำเป็นต้องระบุในคำพิพากษาว่าหากบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 แล้วได้เงินไปพอชำระหนี้ ให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: สิทธิเจ้าหนี้ vs. ข้อโต้แย้งการเพิกถอน
การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดี การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งของคู่ความโดยคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ดีเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการขายทอดตลอดของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมทั้งคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขัอต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยได้
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้ขายซึ่งต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 512
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้ขายซึ่งต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 512
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6042/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกทอดสิทธิเช่าซื้อที่ดินหลังผู้เช่าซื้อเสียชีวิต ตามระเบียบปฏิรูปที่ดินฯ สิทธิตกแก่คู่สมรสก่อน
ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า หากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างที่เช่าซื้อ... ที่ดินที่เช่าซื้อจะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งมาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม... ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" แต่ไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าวแต่อย่างใด แต่ก็มีระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหก ของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง ได้บัญญัติว่าเมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เมื่อระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดังกล่าวใช้บังคับอยู่ก่อนที่ ฉ. ถึงแก่กรรม จึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดังกล่าวมาใช้กับที่ดินที่ ฉ. เช่าซื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อข้อ 10 การสืบสิทธิการเช่าซื้อที่ดินของ ฉ. จึงต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดังกล่าว ดังนั้นสิทธิการเช่าซื้อของ ฉ. จึงตกทอดทางมรดกแก่คู่สมรสเป็นอันดับแรกก็คือโจทก์นั่นเองตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 หมวด 2 การตกทอดทางมรดกของสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อข้อ 11 ที่กำหนดว่า "เมื่อเกษตรกรถึงแก่กรรมให้สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อตกทอดแก่คู่สมรสเป็นอันดับแรก" ดังนั้นมติของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่วินิจฉัยให้แบ่งสิทธิการเช่าซื้อของ ฉ. จึงไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการแบ่งสิทธิการเช่าซื้อของ ฉ. แก่โจทก์ทั้งหมด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินสิทธิหลังศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษา และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนนกเขาชวาสีขาวบริสุทธิ์ตาสีฟ้า จำนวน 8 ตัว แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้เงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย มิใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่าง อันจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะพึงเลือกได้ แต่การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีตามผลของคำพิพากษาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินอันเป็นหนี้ในลำดับหลังเสร็จสิ้นและไม่บังคับคดีต่อไปแล้วนั้น แสดงว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่จะบังคับคดีในหนี้ลำดับแรกแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลดจำนวนเงินที่ให้ใช้แทนทรัพย์ที่ให้คืนลง โจทก์จะกลับไปขอบังคับคดีในหนี้ลำดับแรกอีกหาได้ไม่ทั้งไม่อาจอ้างได้ว่าการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปก่อนแล้วเป็นอันยกเลิกและต้องเริ่มต้นบังคับคดีกันใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพียงแต่ลดจำนวนเงินที่ให้ใช้แทนทรัพย์ที่ให้คืนลงเท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่ต้องย้อนกลับไปบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนนกเขาชวาแก่โจทก์อันเป็นหนี้ในลำดับแรกอีก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีเพราะไม่เป็นไปตามลำดับในคำพิพากษาเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจไม่เพิกถอนการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจับกุมกรรมการของจำเลยที่ 2 มากักขังเพื่อให้ปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับแรกเป็นการไม่ชอบ เพราะศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งไปเองโดยโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้และให้โจทก์คืนเงินส่วนที่เกินจำนวนที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะเป็นหนี้เงินแก่จำเลยที่ 2 แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ทวงถามโจทก์ให้คืนเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้โจทก์คืนเงินมิใช่นับแต่วันที่โจทก์รับเงินเพราะมิใช่เป็นเรื่องละเมิด แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำเงินมาวางศาลโดยศาลชั้นต้นมิได้ให้จำเลยที่ 2 รับเงินในส่วนที่มีสิทธิได้รับคืนไป โดยให้รอไว้หักกลบลบหนี้เมื่อบังคับคดีใหม่เสร็จ ซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเพียงถึงวันที่โจทก์ได้นำเงินมาวางศาลเท่านั้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจับกุมกรรมการของจำเลยที่ 2 มากักขังเพื่อให้ปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับแรกเป็นการไม่ชอบ เพราะศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งไปเองโดยโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้และให้โจทก์คืนเงินส่วนที่เกินจำนวนที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะเป็นหนี้เงินแก่จำเลยที่ 2 แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ทวงถามโจทก์ให้คืนเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้โจทก์คืนเงินมิใช่นับแต่วันที่โจทก์รับเงินเพราะมิใช่เป็นเรื่องละเมิด แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำเงินมาวางศาลโดยศาลชั้นต้นมิได้ให้จำเลยที่ 2 รับเงินในส่วนที่มีสิทธิได้รับคืนไป โดยให้รอไว้หักกลบลบหนี้เมื่อบังคับคดีใหม่เสร็จ ซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเพียงถึงวันที่โจทก์ได้นำเงินมาวางศาลเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ และสิทธิในการขอให้ศาลมีคำพิพากษาโดยขาดนัด
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้โจทก์แก้คดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับหมาย ณ บ้านของโจทก์โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยชอบแล้ว โจทก์ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าวถือว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 และผู้ร้องต้องมีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้โจทก์ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด โดยนับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2544 ครบกำหนดสิบห้าวันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว