พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: พยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและคำซัดทอดเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ หากไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
นอกจากคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนและคำซัดทอดของจำเลยที่ 1 โดยมีสิบตำรวจโท ช. ผู้จับกุมจำเลยที่ 2 และพันตำรวจโท ม. พนักงานสอบสวนมาเบิกความสนับสนุนแล้ว โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบสนับสนุน ทั้งจำเลยที่ 2 ก็นำสืบโต้แย้งว่ามิได้ให้การรับสารภาพโดยสมัครใจ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและสอบสวน และคำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 1 โดยมีผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนมาเบิกความสนับสนุนดังกล่าว โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบสนับสนุนยังไม่สามารถนำมารับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจากคำรับสารภาพและการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดโทษที่เหมาะสม
คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพและโจทก์มิได้สืบพยาน ย่อมไม่อาจกล่าวได้ว่าโจทก์มีพยานหลักฐานเป็นอย่างไร และจำเลยจำนนต่อพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ดังนั้นคำรับสารภาพของจำเลยย่อมเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 สมควรลดโทษให้แก่จำเลย แม้ปัญหาข้อนี้ จำเลยมิได้ฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมตามความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าประกอบคำรับสารภาพพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นได้ แม้ประจักษ์พยานขัดแย้ง
ม.ประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตาย รับฟังเชื่อถือไม่ได้เพราะเบิกความขัดแย้งกับที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวน
โจทก์มีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ของ ล. และ ม. โดย ล. ให้ถ้อยคำว่า ขณะเกิดเหตุเห็น ม. ผู้ตาย จำเลย และ ส. นั่งดื่มสุราแล้วโต้เถียงกัน มี ว. เข้าไปด่าพวกที่ทะเลาะกัน ม. ลุกขึ้นเดินไปทางหน้าบ้าน ผู้ตายเดินตามไปแล้วเดินเข้าป่าละเมาะข้างบ้าน จำเลยลุกจากโต๊ะไล่ตามผู้ตายไปติดๆ แล้วออกมาในมือถือมีดปลายแหลมด้วยอาการรีบร้อนเดินไปทางทิศเหนือ ล. เข้าใจว่าผู้ตายถูกทำร้ายจึงเข้าไปดูพบว่าได้รับบาดเจ็บ จึงเรียกคนช่วยกันนำผู้ตายส่งโรงพยาบาล ต่อมาทราบว่าถึงแก่ความตาย ม. ให้ถ้อยคำว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อมีการโต้เถียงกันจำเลยมีท่าทางจะทำร้ายผู้ตาย จึงชวนผู้ตายออกไป จำเลยไล่ตามผู้ตายไป ส่วนตนไปหลบในสวนยางพารา เห็นจำเลยถือมีดปลายแหลมออกจากป่าละเมาะ โจทก์ไม่ได้ตัว ล. มาเบิกความเพราะ ล. ออกจากบ้านอันเป็นภูมิลำเนาไปนานแล้ว แต่ ล. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนสอดคล้องกับบันทึกถ้อยคำของ ช. พี่ชายจำเลย และของ ม. ส่วน ม. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนในวันเกิดเหตุยังไม่มีเวลาจะแต่งเติมเรื่องราวเชื่อว่าได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนตามจริงตามที่รู้เห็นมา แม้คำให้การของ ล. และ ม. จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ห้ามมิให้รับฟังเป็นข้อสำคัญ เมื่อรับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นรับมอบตัวและชั้นสอบสวน พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้
โจทก์มีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ของ ล. และ ม. โดย ล. ให้ถ้อยคำว่า ขณะเกิดเหตุเห็น ม. ผู้ตาย จำเลย และ ส. นั่งดื่มสุราแล้วโต้เถียงกัน มี ว. เข้าไปด่าพวกที่ทะเลาะกัน ม. ลุกขึ้นเดินไปทางหน้าบ้าน ผู้ตายเดินตามไปแล้วเดินเข้าป่าละเมาะข้างบ้าน จำเลยลุกจากโต๊ะไล่ตามผู้ตายไปติดๆ แล้วออกมาในมือถือมีดปลายแหลมด้วยอาการรีบร้อนเดินไปทางทิศเหนือ ล. เข้าใจว่าผู้ตายถูกทำร้ายจึงเข้าไปดูพบว่าได้รับบาดเจ็บ จึงเรียกคนช่วยกันนำผู้ตายส่งโรงพยาบาล ต่อมาทราบว่าถึงแก่ความตาย ม. ให้ถ้อยคำว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อมีการโต้เถียงกันจำเลยมีท่าทางจะทำร้ายผู้ตาย จึงชวนผู้ตายออกไป จำเลยไล่ตามผู้ตายไป ส่วนตนไปหลบในสวนยางพารา เห็นจำเลยถือมีดปลายแหลมออกจากป่าละเมาะ โจทก์ไม่ได้ตัว ล. มาเบิกความเพราะ ล. ออกจากบ้านอันเป็นภูมิลำเนาไปนานแล้ว แต่ ล. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนสอดคล้องกับบันทึกถ้อยคำของ ช. พี่ชายจำเลย และของ ม. ส่วน ม. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนในวันเกิดเหตุยังไม่มีเวลาจะแต่งเติมเรื่องราวเชื่อว่าได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนตามจริงตามที่รู้เห็นมา แม้คำให้การของ ล. และ ม. จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ห้ามมิให้รับฟังเป็นข้อสำคัญ เมื่อรับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นรับมอบตัวและชั้นสอบสวน พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8148/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากการจับกุม: การแจ้งสิทธิผู้ถูกจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง และผลกระทบต่อการรับฟังคำรับสารภาพ
เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จับจำเลยมิใช่ราษฎรเป็นผู้จับจึงไม่มีกรณีที่จะต้องแจ้งสิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคหนึ่ง แต่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งสิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง เมื่อบันทึกการจับกุมมีข้อความว่าจำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับมารับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสี่ และเมื่อบันทึกการจับกุมไม่มีข้อความใดที่บันทึกการแจ้งสิทธิแก่จำเลยผู้ถูกจับตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติเลย ทั้งพยานโจทก์ที่ร่วมจับกุมก็ไม่ได้เบิกความถึงเรื่องการแจ้งสิทธิแต่อย่างใด แม้โจทก์จะส่งบันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับมาพร้อมกับบันทึกการจับกุมในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ แต่บันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์เติมข้อความในช่องว่างด้วยน้ำหมึกเขียนโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้บันทึกเป็นคนละคนกับที่เขียนบันทึกการจับกุม ทั้งใช้ปากกาคนละด้ามและไม่มีข้อความว่าผู้ถูกจับมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ กับไม่มีข้อความว่าถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้แต่อย่างใด แม้จะมีข้อความแจ้งสิทธิเรื่องทนายความก็เป็นการแจ้งสิทธิไม่ครบถ้วนตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติ ฉะนั้นถ้อยคำอื่นของจำเลยตามบันทึกการจับกุมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น บันทึกการจับกุมจึงไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7942/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานซัดทอดร่วมกับคำรับสารภาพและพยานหลักฐานอื่นประกอบกันเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยกับพวกร่วมกันลักทรัพย์เครื่องยนต์ซึ่งติดตั้งอยู่บนรถไถนาอันเป็นเครื่องกลของผู้เสียหายที่มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมทำนาในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) (8) (12) วรรคสาม ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) (10) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ จึงเป็นการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ขนยาเสพติด: ศาลฎีกาชี้ว่าคำรับสารภาพจำเลยเป็นหลักฐานสำคัญในการพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีพืชกระท่อมอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 บรรจุกระสอบพลาสติก 3 กระสอบ และกระเป๋าหิ้ว 1 ใบ น้ำหนัก 38.90 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบรรยายฟ้องในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยกับพวกได้พร้อมยึดพืชกระท่อมและรถยนต์กระบะซึ่งเป็นยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ในการกระทำความผิดบรรทุกขนพืชกระท่อมเป็นของกลาง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยไม่ได้โต้เถียงว่ารถยนต์กระบะของกลางที่ยึดได้นั้นจำเลยมิได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางที่ยึดได้เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางมิใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษโดยตรงอันจะพึงริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากคำรับสารภาพของจำเลยเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพคดีอาญา และการพิจารณาโทษกรรมต่างกัน ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นความชัดเจนคำรับสารภาพและโทษกรรม
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และฐานรับของโจรซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และรับของโจร แต่ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ตามคำให้การของจำเลยก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลย และตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ คำให้การฉบับนี้ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานรับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ จึงฟังลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหาความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 อีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแต่เพียงกรรมเดียวนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎ หมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และรับของโจร แต่ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ตามคำให้การของจำเลยก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลย และตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ คำให้การฉบับนี้ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานรับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ จึงฟังลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหาความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 อีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแต่เพียงกรรมเดียวนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎ หมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า, พาอาวุธปืน, และการลดโทษจากคำรับสารภาพในคดีอาญา
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแต่ไม่ถูกผู้ใด เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 หลบหนีจำเลยทั้งสามติดตามไปไล่ยิงผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 จนถึงหน้าโรงแรม อันเป็นการส่อให้เห็นเจตนามุ่งมั่นที่จะฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 ให้ได้ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันจากที่เกิดเหตุจุดแรกไปยังที่เกิดเหตุจุดที่สอง เมื่อกระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้รับบาดเจ็บสาหัสไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 กระทงหนึ่ง หลังจากนั้นจำเลยทั้งสามยังย้อนกลับไปยิงพวกของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โรงแรมอีกจนกระสุนปืนพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 4 ได้รับบาดเจ็บไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 4 โดยพลาดอีกกระทงหนึ่ง รวมเป็นความผิด 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพประกอบพยานแวดล้อมเพียงพอลงโทษจำเลยในคดีชิงทรัพย์จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ แม้ไม่มีประจักษ์พยาน
ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในคดีที่มีอัตราโทษขั้นต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษที่หนักกว่านั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลว่ากระทำความผิดตามฟ้อง ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับนั้นได้ แต่ต้องฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพให้เป็นที่พอใจก่อนว่าจำเลยกระทำความผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ส่วนปัญหาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับเช่นว่านี้ต้องมีน้ำหนักมั่นคงเพียงใดนั้น เห็นได้ว่า ในกรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องนำสืบให้ได้ความชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยดังเช่นคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เพียงแต่มีพยานมาสืบให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามคำรับก็เป็นการเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยโดยอาศัยพยานหลักฐานนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันลักทรัพย์: พยานหลักฐานประกอบแวดล้อม คำเบิกความผู้เสียหาย และคำรับสารภาพผู้ร่วมกระทำความผิด เพียงพอพิสูจน์ความผิดจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรและยกฟ้องฐานลักทรัพย์ โจทก์ไม่อุทธรณ์แต่จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาฐานความผิดฐานใดฐานหนึ่งระหว่างฐานรับของโจรกับฐานลักทรัพย์ไปตามพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม เพียงแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่มีสิทธิที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมไปจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาเท่านั้น