คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนาทุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 431 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตสำคัญกว่าการผิดสัญญา: คดีฉ้อโกงซื้อขายรถ
จำเลยกับพวกติดต่อขอซื้อรถกระบะจากผู้เสียหายในราคา 430,000 บาท ชำระเงินดาวน์ในวันทำสัญญา 150,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยจะทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัทเงินทุน จ. ในวันดังกล่าวจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ไม่ได้กรอกข้อความไว้พร้อมมอบสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการและสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้เสียหาย แล้วพนักงานของบริษัทเงินทุน จ. นำสัญญาเช่าซื้อที่ยังไม่ได้กรอกรายละเอียดให้จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้เช่าซื้อไว้ จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์มาตั้งแต่ต้น การที่บริษัทเงินทุน จ. ยกเลิกการเช่าซื้อในเวลาต่อมาเนื่องจากจำเลยไม่นำรถไปตรวจสภาพ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้เสียหายส่งมอบรถกระบะแล้ว มิได้เกิดจากการหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ การที่จำเลยมิได้ชำระราคาเช่าซื้อส่วนที่เหลือก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2708/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ vs. ข่มขืนใจโดยใช้กำลัง: การพิจารณาความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยทั้งสามมิได้มีเจตนาทุจริตที่จะร่วมกันลักเงินของผู้เสียหาย เนื่องจากสนิทสนมกันเป็นญาติและเป็นเพื่อนกัน ทั้งเกิดความคึกคะนองตามประสาของวัยรุ่นและขณะนั้นก็นั่งดื่มสุราอยู่ด้วยกันจนหมด จึงน่าจะช่วยกันออกเงินค่าสุราบ้างเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 พูดขอเงินหลายครั้งแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่ให้ จึงได้ถือวิสาสะเข้าค้นตัวผู้เสียหายเพื่อค้นเอาเงิน จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงแต่จับแขนขาของผู้เสียหายไว้แน่นเท่านั้น ไม่ได้ทำร้าย ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่เข้ายึดแขนขาของผู้เสียหายเป็นเพียงการยึดตัวผู้เสียหายให้อยู่นิ่งเพื่อให้จำเลยที่ 1 ค้นตัวได้สะดวกเท่านั้นการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้เสียหายต้องจำยอมให้จำเลยทั้งสามค้นตัวและเอาเงินไป มิใช่ความผิดฐานปล้นทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ไม่มีเจตนาวิ่งราวทรัพย์ แต่การโยนโทรศัพท์ทำเสียหายถือเป็นพยายามทำให้เสียทรัพย์ ศาลลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ แต่พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไปโดยเจตนาทุจริตคงได้ความว่าจำเลยเอาโทรศัพท์ผู้เสียหายไปเพราะอารมณ์โกรธที่มีผู้ชายโทรศัพท์มาหาผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์แต่การที่จำเลยโยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายลงไปที่ชานพักบันได จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายอาจจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายได้รับความเสียหายอย่างไร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ก็ตาม แต่ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ก็มีความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์รวมอยู่ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรค 3 การต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ และมิถือว่าเป็นเรื่องเกินคำขอหรือโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหลงต่อสู้ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความ ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7910/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อวัสดุของรัฐ: การจัดซื้อที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ, เจตนาทุจริต, และผลกระทบต่อผลประโยชน์ของรัฐ
องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการทำสัญญาสั่งซื้อฉลากโอพีพีฟิล์มจากโจทก์เป็นจำนวนมากเกินจำนวนที่จะต้องใช้อย่างเห็นได้ชัดโดยจำเลยที่ 2 ไม่คำนึงถึงว่าจำเลยที่ 1 จะสามารถใช้วัสดุได้คุ้มกับราคาที่ต้องจ่ายไปหรือไม่ ส่อแสดงว่าประสงค์ได้อามิสสินจ้างในการทำสัญญาครั้งนี้จึงมีเจตนาทุจริต ซึ่งย่อมกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐที่อาจต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากการซื้อวัสดุในราคาที่ขาดการแข่งขันตามความเป็นธรรมและความเหมาะสมแห่งสภาพวัสดุนั้น เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยชัดแจ้งอีกโสดหนึ่ง และถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ร่วมกันเอาเปรียบต่อองค์การของรัฐส่อไปในทางแทรกแซงการบริหารในองค์การของรัฐจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7910/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายฉลากสินค้าขององค์การของรัฐที่ขัดต่อกฎหมายงบประมาณและส่อเจตนาทุจริต เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทองค์การของรัฐบาล โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ผู้ลงนามในสัญญา และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ผู้ลงนามขยายอายุสัญญา ทำสัญญาซื้อขายฉลากสินค้าประเภทนมเปรี้ยว ซึ่งกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องซื้อฉลากสินค้าจำนวน 57,600,000 ชิ้น ภายในกำหนดเวลา 7 ปี ปีละไม่น้อยกว่า 400,000 ชิ้น เป็นการทำสัญญาผูกพันซื้อสินค้าจากโจทก์ยาวนานต่อเนื่องถึง 7 ปี โดยไม่ใช้วิธีการพิเศษอันเป็นการไม่ดำเนินการตามข้อบังคับ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ทำให้เกิดความขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่างเอกชนอื่นกับจำเลยที่ 1 และทำให้ไม่มีการเสนอราคาแข่งขัน ทั้งจำนวนฉลากที่สั่งซื้อก็มากกว่าจำนวนสินค้านมเปรี้ยวที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายได้อยู่มาก ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตประสงค์อามิสสินจ้างในการทำสัญญา ย่อมกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐ ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์: การกระทำที่แสดงเจตนาตั้งแต่แรกเพื่อเอาทรัพย์ผู้อื่นไปโดยทุจริต มิใช่ฉ้อโกง
จำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น การที่จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ในลังน้ำปลาแล้วนำไปชำระเงินกับพนักงานแคชเชียร์ของผู้เสียหายเท่ากับราคาน้ำปลา เป็นเพียงกลอุบายของจำเลยเพื่อเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น โดยพนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้มีเจตนาส่งมอบการครอบครองสุราต่างประเทศให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตสั่งห้ามจ่ายเช็ค-อำนาจศาลแขวง-การรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ร่วมตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 โดยจำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวบางส่วนให้แก่โจทก์ร่วม ทั้งนี้โจทก์ร่วมยินยอมให้จำเลยเข้าครอบครองใช้สอยประโยชน์ในทรัพย์สินที่ตกลงจะซื้อจะขายนับแต่วันทำสัญญา ซึ่งจำเลยได้ออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.9 เพื่อชำระหนี้ค่าใช้สอยดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วม การที่โจทก์ร่วมปกปิดข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ร่วมถูกธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ฟ้องและศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ 115 ล้านบาทเศษเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2539 และสัญญาจะซื้อจะขายในคดีนี้ตามเอกสารหมาย จ.1 ทำกันเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาให้โจทก์ร่วมชำระหนี้เพียง 12 วัน น่าเชื่อได้ว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวจำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้และยึดทรัพย์ซึ่งรวมถึงที่ดินที่จะขายให้แก่จำเลยด้วย อันเป็นเหตุที่ทำให้โจทก์ร่วมไม่สามารถโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะขายตามสัญญาให้แก่จำเลยได้ ทั้งในวันที่ตกลงจะจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญานั้น โจทก์ร่วมและเจ้าของร่วมคนอื่นก็มิได้ไปทำการโอนให้จำเลย เมื่อจำเลยทราบเหตุที่โจทก์ร่วมถูกศาลพิพากษาให้โจทก์ร่วมชำระหนี้และโจทก์ร่วมไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยตามกำหนด การที่จำเลยเห็นว่าการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 นั้น มีปัญหาที่อาจจะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ดังนั้น การที่จำเลยไปแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งเป็นการสั่งจ่ายในการที่จำเลยได้ครอบครองหรือใช้สอยทรัพย์สินที่จะซื้อขายกันจึงเป็นการระงับการสั่งจ่ายโดยสุจริต แม้ว่าตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 ข้อ 10 วรรคสองจะระบุว่าสำหรับเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นรายเดือนเดือนละ 300,000 บาท ตามความในข้อ 6 นั้นไม่อยู่ในข้อบังคับของวรรคแรกคงปล่อยให้ตกเป็นของผู้จะขายตลอดไป เพราะถือว่าเป็นค่าตอบแทนของการเข้าครอบครองและใช้สอยประโยชน์แล้ว ก็หาทำให้จำเลยมีความผิดเพราะแจ้งธนาคารระงับการจ่ายเงินโดยสุจริตไม่
อนึ่ง คดีความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17, 25 และต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวงพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22, 22 ทวิ ซึ่งใช้บังคับแก่ศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการด้วยตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ความว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริตเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการเขต 2 รักษาการในตำแหน่งอัยการพิเศษประจำเขต 2 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไม่มีผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งอนุญาตให้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมาด้วยเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ vs. ชิงทรัพย์: การแย่งกระเป๋าและโทรศัพท์มือถือ
การที่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นกรรมหนึ่งต่างหากและขาดตอนไปแล้ว ต่อมาผู้เสียหายจะหยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกระเป๋าถือเพื่อโทรศัพท์ติดต่อสามี จำเลยแย่งกระเป๋าถือแล้วเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่กับเงิน 9,000 บาท ในกระเป๋าถือไป และทิ้งกระเป๋าถือไว้ใต้ถุนบ้าน พฤติการณ์แห่งคดีอาจเป็นไปได้ว่าจำเลยกระทำไปเพียงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายใช้โทรศัพท์ติดต่อกับสามี คดีจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตในการเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานลักหรือชิงโทรศัพท์มือถือ ส่วนเงิน 9,000 บาท เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ จำเลยจึงคืนให้ 8,000 บาท ส่วนอีก 1,000 บาท จำเลยไม่ยอมคืนจนกว่าผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ทั้ง ๆ ที่จำเลยไม่มีสิทธิเอาเงินไปและไม่มีเหตุผลให้รับฟังได้ว่าจำเลยเอาเงินไปเพียงเพราะโกรธผู้เสียหาย กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาให้รับฟังได้ว่า จำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง จำเลยจึงมีเจตนาทุจริตอันเข้าองค์ประกอบความผิดฐานลักเงินดังกล่าวแล้ว แต่การที่จำเลยดึงกระเป๋าถือโดยยื้อแย่งกันจนสายกระเป๋าขาดติดมือผู้เสียหายโดยไม่ได้ผลักผู้เสียหาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหาย จำเลยไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองรวมอยู่ในข้อหาชิงทรัพย์ แม้โจทก์ฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์มาศาลย่อมลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินรายได้ของสาขา การมอบหมายหน้าที่ดูแลการเงิน และเจตนาทุจริต
โจทก์มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดูแลการเงินของร้านทรงสมัยพิษณุโลก สาขาของโจทก์ เงินรายได้ของร้านที่จำเลยรับไว้โดยผู้จัดการสาขาดังกล่าวนำฝากเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้จำเลยนำส่งไปที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์จึงตกเป็นของโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินรายได้ดังกล่าวให้แก่โจทก์แต่ไม่นำส่ง กลับเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความร้องทุกข์ฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้เจตนาทุจริต ไม่ใช่เมื่อแน่ใจ
โจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงตนในวันใดอายุความร้องทุกข์ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น การที่โจทก์ร่วมพยายามโทรศัพท์ถึงจำเลยอีกหลายครั้งหลายหนในเวลาต่อมาทั้งๆ ที่จำเลยรับบ้างไม่รับบ้าง หรือบางครั้งรับปากว่าจะนำเงินไปชำระแต่แล้วก็ผิดนัดเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมผ่อนผันหรือให้โอกาสแก่จำเลย ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบถึงการกระทำความผิดของจำเลย
of 44