พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.ผูกพันตามอำนาจหน้าที่ผู้ว่าฯ ในการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกพ.ศ.2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานครเป็นจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมาย และผูกพัน กทม. ในการชดเชยค่าทดแทน
พระราชบัญญัติ ญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่ง ของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการ ทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะ เจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจ หน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดส่วนตัวในการเวนคืนที่ดิน หากดำเนินการตามหน้าที่ในนามจำเลยที่ 1 และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยค่าทดแทน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กระทำการกำหนดค่าทดแทนที่ดินในนามจำเลยที่ 1โดยไม่ปรากฏว่ากระทำไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนต้องอ้างอิงราคาปานกลางในวันเวนคืนและสภาพที่ดิน การใช้ราคาซื้อขายภายหลังวันเวนคืนเป็นหลักไม่ได้
การกำหนดค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 14กำหนดตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืนต้องถือตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเก็บภาษีบำรุงท้องที่กับสภาพและทำเลของทรัพย์สินมาประกอบกัน การที่อนุญาโตตุลาการนำราคาซื้อขายที่ดินใกล้เคียงแต่อยู่คนละหน่วยและเป็นการซื้อขายเพียงรายเดียว หลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืน กับนำราคาตามหนังสือของโจทก์เป็นหลักในการพิจารณาเป็นการขัดต่อกฎหมายศาลไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่บังคับให้จำเลยชำระเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละหนึ่งของทุนทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตามประกาศคณะปฏิวัติ โดยเริ่มนับจากวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
การคิดคำนวณดอกเบี้ยของค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับเป็นต้นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน แม้ พ.ร.บ.เวนคืนไม่ได้ระบุพื้นที่ แต่มี พ.ร.ก.กำหนดเขตเวนคืน และโจทก์เห็นว่าค่าทดแทนไม่เป็นธรรม
ที่ดินโจทก์ซึ่งตัวแทนจำเลยทำการสร้างถนนผ่านอยู่ในแนวเขตที่จะถูกเวนคืนโดยอยู่ในท้องที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร แม้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกในท้องที่แขวงวัดท่าพระฯจะไม่ได้กำหนดรวมเอาท้องที่ดังกล่าวไว้ด้วยก็ตาม แต่ก็มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ระบุท้องที่เขตยานนาวาไว้ด้วยแล้ว หาใช่ว่าที่ดินของโจทก์จะไม่ได้ถูกเวนคืนตามกฎหมายฉบับอื่นด้วยไม่ เมื่อโจทก์เห็นว่าค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดยังไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมตามส่วนที่ควรจะได้รับ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินในส่วนนี้เพิ่มจากจำเลยได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ฯ เป็นการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวง จึงต้องตกอยู่ในบังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และการกำหนดค่าทดแทนจะต้องถือตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 (2) ไม่ใช่ถือตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 ใช้บังคับ เพราะพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวออกมาใช้บังคับแทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 ซึ่งหมดอายุบังคับใช้ และมิได้ถือตามราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันที่ประกาศพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ เป็นการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวง จึงต้องตกอยู่ในบังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และการกำหนดค่าทดแทนจะต้องถือตามราคาธรรมดาซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 76(2) ไม่ใช่ถือตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 ใช้บังคับ เพราะพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวออกมาใช้บังคับแทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 ซึ่งหมดอายุบังคับใช้ และมิได้ถือตามราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนที่ดินต้องพิจารณาตามราคาซื้อขายจริงในตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายพระประแดง-บางแคฯ พ.ศ. 2521 ใช้บังคับที่ดินที่อยู่ใกล้กับที่ดินของโจทก์ซื้อขายกันตารางวาละ900 บาทเศษ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติพิเศษไว้ในเรื่องเงินค่าทดแทน การกำหนดเงินค่าทดแทนให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ ตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ดังนั้น ราคาที่ดินของโจทก์จะต้องมีราคาตามธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดไม่ต่ำกว่าตารางวาละ 900 บาท จำเลยกำหนดราคาตารางวาละ 400 บาท ตามราคา ประเมินที่ดินเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2519ถึง 2521 ซึ่งกำหนดตั้งแต่ พ.ศ. 2518 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจริงของผู้เช่า แม้ไม่ระบุในสัญญาเช่า & อำนาจฟ้อง กทพ.
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้เช่าที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ถูกเวนคืนไว้ว่าเงินค่าทดแทนในการเช่านี้พึงกำหนดให้เฉพาะที่ผู้เช่าได้เสียหายจริงโดยเหตุที่ต้องออกจากที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างก่อนสัญญาเช่าระงับ การที่คณะกรรมการปรองดองซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนวางหลักเกณฑ์ว่าเงินกินเปล่าที่ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่แท้จริงจะต้องระบุไว้ในสัญญาเช่าเท่านั้น การวางหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนเท่านั้น มิได้ถือเป็นยุติ เมื่อตกลงกันไม่ได้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนส่วนที่ตนจะได้รับจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 ฉะนั้น เมื่อโจทก์เสียเงินกินเปล่าไปจริง โจทก์จึงได้รับความเสียหายจริง ย่อมมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนนี้ด้วย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการทางพิเศษฯ และเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษฯ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่ากระทำในฐานะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย.