พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10078/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และโจทก์ประสงค์บังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้อง อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ และเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีเข้าสู่ศาล ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติในการที่จะวินิจฉัยและพิพากษาคดี โดยหากวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ ก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์ตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยทั้งห้าในทางแพ่ง สำหรับคดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งห้าก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งห้าในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้าหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งห้า เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้าไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้า การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องและอุทธรณ์ฎีกาในเหตุดังกล่าวโดยตรงขึ้นมายังศาลสูง ก็ชอบที่ศาลจะต้องกล่าวในคำพิพากษาให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่คู่ความและเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติให้บรรลุผลตามคำพิพากษาในเนื้อหาคดี ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาให้ครบถ้วนตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องและอุทธรณ์ฎีกาในเหตุดังกล่าวโดยตรงขึ้นมายังศาลสูง ก็ชอบที่ศาลจะต้องกล่าวในคำพิพากษาให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่คู่ความและเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติให้บรรลุผลตามคำพิพากษาในเนื้อหาคดี ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาให้ครบถ้วนตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีจากทรัพย์สินอื่น แม้มีจำนองเฉพาะบางแปลง
การจำนองเป็นสัญญาเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นการประกันหนี้โดยมีหนี้ประธานและจำนองอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้นั้น ซึ่งอาจแยกออกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ คือ บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรือจะบังคับจำนอง คือ ใช้บุริมสิทธิ์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 728 ก็ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าในกรณีซึ่งเป็นหนี้จำนองแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับลูกหนี้อย่างหนี้สามัญตามมาตรา 214 ไม่ได้ เป็นแต่เพียงกฎหมายบังคับว่า ในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบังคับจำนองสิทธิของโจทก์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 733 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้แต่เฉพาะที่ดินที่จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลคือสัญญาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์พิพาทแบบประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล รถยนต์พิพาทถูกรถคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนทำให้คนบนรถยนต์พิพาทรวม 4 คนเสียชีวิต โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิตรวม 4 คน ๆ ละ 50,000 บาท เป็นเงิน 200,000 บาท ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ในส่วนที่เป็นการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตเป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่งการใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 889 หาใช่การประกันวินาศภัยแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งบทบัญญัติว่าด้วยการประกันชีวิตไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิได้อย่างกรณีการประกันวินาศภัย ดังนั้น แม้โจทก์จะได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน 200,000 บาท ให้แก่ทายาทผู้เสียชีวิตไป โจทก์ก็หามีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเพื่อฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 กับพวกได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8630/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนประกันสังคม ไม่ตัดสิทธิหากไม่เกินกำหนด แต่เป็นเพียงการเร่งรัดการใช้สิทธิ
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนโดยเร็วเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 84 ทวิ เป็นกรณีที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามกำหนดเวลาตามมาตรา 56 ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตนที่จะต้องปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแต่ตนมิได้อยู่ในประเทศไทยหรืออยู่ในประเทศไทยแต่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลานั้นได้ จึงยื่นคำร้องขอขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตามมาตรา 56 ออกไปเพื่อรักษาประโยชน์ของลูกจ้าง มิใช่บทบัญญัติตัดสิทธิของลูกจ้าง
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 84 ทวิ เป็นกรณีที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามกำหนดเวลาตามมาตรา 56 ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตนที่จะต้องปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแต่ตนมิได้อยู่ในประเทศไทยหรืออยู่ในประเทศไทยแต่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลานั้นได้ จึงยื่นคำร้องขอขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตามมาตรา 56 ออกไปเพื่อรักษาประโยชน์ของลูกจ้าง มิใช่บทบัญญัติตัดสิทธิของลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7724-8191/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการปรับเพิ่มเงินเดือนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างก่อนวันมีมติปรับเพิ่ม
การที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเสนอขอปรับเพิ่มเงินเดือนถือว่าเป็นการยื่นข้อเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องค่าจ้าง แต่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไม่ได้ส่งสำเนาข้อเรียกร้องให้นายทะเบียนทราบ ไม่มีการระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นผู้แทนในการเจรจาของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่มีการแจ้งชื่อผู้แทนจำเลยในการเจรจาแก่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเมื่อตกลงกันได้ตามรายงานการประชุมก็ไม่มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้แทนในการเจรจาทั้งสองฝ่ายแล้วประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงาน อันเป็นกระบวนการที่กำหนดไว้ในการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 25, 26, 27 คงมีแต่รายงานการประชุมซึ่งลงชื่อผู้จดรายงานเพียงผู้เดียว การประชุมระหว่างสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับจำเลยจึงเป็นเพียงการตกลงร่วมกันเพื่อให้จำเลยพิจารณาปรับเพิ่มเงินเดือน ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6, 28 เมื่อคณะกรรมการของจำเลยเห็นชอบด้วยในการปรับเพิ่มเงินเดือน จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเห็นสมควรปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจ มาตรา 13 วรรคสาม
การพิจารณาว่ามติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีในการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานของจำเลยมีผลครอบคลุมถึงพนักงานกลุ่มใดต้องพิจารณาจากฐานการคิด เหตุผล และข้อมูลที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติโดยใช้ข้อมูลเดียวกับการพิจารณาของคณะกรรมการของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้หลักการที่จำเลยตกลงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ปรับเพิ่มเงินเดือนให้เฉพาะพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน โจทก์ทั้งสี่ร้อยหกสิบแปดซึ่งออกจากงานไปก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนและเป็นวันที่จำเลยระบุไว้ในคำสั่งปรับเงินเดือนย่อมไม่มีสภาพเป็นพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงาน ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนตามมติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
การที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนถือเป็นการให้ความเห็นชอบในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 วรรคสาม
การพิจารณาว่ามติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีในการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานของจำเลยมีผลครอบคลุมถึงพนักงานกลุ่มใดต้องพิจารณาจากฐานการคิด เหตุผล และข้อมูลที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติโดยใช้ข้อมูลเดียวกับการพิจารณาของคณะกรรมการของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้หลักการที่จำเลยตกลงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ปรับเพิ่มเงินเดือนให้เฉพาะพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน โจทก์ทั้งสี่ร้อยหกสิบแปดซึ่งออกจากงานไปก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนและเป็นวันที่จำเลยระบุไว้ในคำสั่งปรับเงินเดือนย่อมไม่มีสภาพเป็นพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงาน ณ วันที่ออกคำสั่งปรับเงินเดือน จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนตามมติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
การที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบให้จำเลยปรับเพิ่มเงินเดือนถือเป็นการให้ความเห็นชอบในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7322/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แม้มีแม่น้ำแต่ใช้สัญจรไม่ได้
แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกจะติดแม่น้ำบางปะกง แต่ก็ได้ความว่า ปัจจุบันแม่น้ำบางปะกงไม่ได้ใช้เป็นทางสัญจร คงมีแต่เรือหาปลา ไม่มีเรือโดยสาร โดยกิจการเรือโดยสารได้เลิกมาหลายสิบปีแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วก็ได้ใช้เส้นทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งเส้นทางพิพาทมีความกว้างประมาณ 3 เมตร ดังนี้ กรณีที่ดินโจทก์จึงต้องตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสอง คือ ที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ต้องข้ามสระ บึง ทะเล หรือสภาพยากลำบากในทำนองเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเพื่อขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินจำเลยทั้งสามออกสู่ทางสาธารณะได้
เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์อยู่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1638 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ไม่มีทางบนบกออกสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
สิทธิในทางจำเป็นย่อมเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายตามสภาพความเป็นจริงของที่ดินในปัจจุบัน ข้ออ้างของฝ่ายจำเลยทั้งสามที่ว่าโจทก์สมัครใจซื้อที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทำให้ซื้อในราคาถูกกว่าปกติ ส่อเจตนาว่าจะไม่ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะนั้น มิได้ทำให้สิทธิในทางจำเป็นของโจทก์ระงับสิ้นไปแต่อย่างใด
เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์อยู่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1638 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11301 ไม่มีทางบนบกออกสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
สิทธิในทางจำเป็นย่อมเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายตามสภาพความเป็นจริงของที่ดินในปัจจุบัน ข้ออ้างของฝ่ายจำเลยทั้งสามที่ว่าโจทก์สมัครใจซื้อที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทำให้ซื้อในราคาถูกกว่าปกติ ส่อเจตนาว่าจะไม่ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะนั้น มิได้ทำให้สิทธิในทางจำเป็นของโจทก์ระงับสิ้นไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6943/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างฐานประพฤติผิดวินัยร้ายแรง และสิทธิในการได้รับเงินบำเหน็จของลูกจ้าง
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ได้กำหนดบำเหน็จไว้ในหมวด 4 การสงเคราะห์เมื่อออกจากงาน ข้อ 10 ว่าพนักงานซึ่งได้ทำงานในองค์การมานับอายุงานได้สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป เมื่อออกจากงานเพราะตายหรือเพราะเหตุอื่นให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ผู้นั้นได้ทำงานในองค์การ การกำหนดดังกล่าวใช้กับพนักงานที่ออกจากงานเพราะตายหรือเพราะเหตุอื่นที่มิใช่เหตุตามข้อ 15 ซึ่งระบุว่า พนักงานไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงชีพหรือบำเหน็จถ้าถูกออกจากงานเพราะกระทำความผิดดังต่อไปนี้ 15.1 กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ 15.2 กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับระเบียบหรือคำสั่งขององค์การอันเป็นเหตุให้องค์การได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง...15.6 ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจวัตถุประสงค์ในการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์แก่ประชาชนโดยทั่วไป โจทก์ได้รับมอบหมายให้ทำงานอยู่ในห้องศูนย์บริการลูกค้าของจำเลย ได้รับโทรศัพท์ว่าจ้างงานจากบริษัท บ. แล้ว โจทก์มิได้ส่งงานต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบของจำเลย แต่กลับส่งงานที่รับไว้ดังกล่าวให้สหกรณ์เครือกระจายสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจการค้าเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกผู้ถือหุ้นและต่อมาในปี 2545 ได้เข้าเป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินการและมีประโยชน์เกี่ยวข้องรับงานนั้นไปทำ ทั้งที่โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และจำเลยมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้เกิดผลดีและควมเจริญก้าวหน้าแก่จำเลย จำเลยมีรายได้หลักจากค่าจ้างในการรับขนส่งเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการแก่พนักงานทุกคน จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนจะต้องรักษาประโยชน์ของจำเลยหากได้รับการติดต่อจากลูกค้าที่ว่าจ้างให้ทำการขนส่ง จะต้องแจ้งหรือส่งงานให้หน่วยงานของจำเลยที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรับผิดชอบต่อไป แต่โจทก์กลับลักลอบเอางานของจำเลยจากสำนักงานของจำเลยไปให้นิติบุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการดำเนินงานของจำเลยอย่างร้ายแรง ส่งผลให้จำเลยขาดประโยชน์จากการดำเนินงานหลัก และลูกค้าผู้ติดต่อจำเลยอาจเข้าใจและเชื่อว่าเป็นการรับขนส่งของจำเลย จำเลยมีโอกาสได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในด้านการให้การบริการได้ และโจทก์ทำงานประจำห้องศูนย์บริการลูกค้าของจำเลย มีโอกาสที่จะรับการติดต่อจากลูกค้าที่โทรศัพท์เข้ามาว่าจ้างใช้บริการของจำเลยได้ตลอดเวลาทุกวัน การลักลอบเอางานของจำเลยไปให้ผู้อื่นทำย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขาดรายได้จากการขนส่งรายนั้นๆ หากมีลูกจ้างเช่นโจทก์ในนิติบุคคลใดย่อมส่งผลให้การประกอบกิจการของนิติบุคคลนั้นประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายถึงกิจการล่มได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรงต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ข้อ 15.1 และข้อ 15.6 และตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุว่าด้วยวินัยพนักงาน พ.ศ.2512 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) ข้อ 15 วรรคสาม ระบุ "ห้ามมิให้พนักงานเป็นตัวแทนหรือกระทำการในนามนิติบุคคลอื่น อันมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจการค้าอย่างเดียวกับองค์การ หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ขององค์การ ทั้งนี้ ไม่ว่ากระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง" ดังนั้น เมื่อโจทก์กระทำการซึ่งขัดกับผลประโยชน์ของจำเลยจึงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับดังกล่าว และส่งผลให้จำเลยขาดประโยชน์และมีผลกระทบต่อชื่อเสียงของจำเลยดังที่วินิจฉัยมาข้างต้น โจทก์จึงกระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งขององค์การเป็นเหตุให้องค์การได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ข้อ 15.2 ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ข้อ 15 นี้
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจวัตถุประสงค์ในการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์แก่ประชาชนโดยทั่วไป โจทก์ได้รับมอบหมายให้ทำงานอยู่ในห้องศูนย์บริการลูกค้าของจำเลย ได้รับโทรศัพท์ว่าจ้างงานจากบริษัท บ. แล้ว โจทก์มิได้ส่งงานต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบของจำเลย แต่กลับส่งงานที่รับไว้ดังกล่าวให้สหกรณ์เครือกระจายสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจการค้าเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกผู้ถือหุ้นและต่อมาในปี 2545 ได้เข้าเป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินการและมีประโยชน์เกี่ยวข้องรับงานนั้นไปทำ ทั้งที่โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และจำเลยมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้เกิดผลดีและควมเจริญก้าวหน้าแก่จำเลย จำเลยมีรายได้หลักจากค่าจ้างในการรับขนส่งเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการแก่พนักงานทุกคน จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนจะต้องรักษาประโยชน์ของจำเลยหากได้รับการติดต่อจากลูกค้าที่ว่าจ้างให้ทำการขนส่ง จะต้องแจ้งหรือส่งงานให้หน่วยงานของจำเลยที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรับผิดชอบต่อไป แต่โจทก์กลับลักลอบเอางานของจำเลยจากสำนักงานของจำเลยไปให้นิติบุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการดำเนินงานของจำเลยอย่างร้ายแรง ส่งผลให้จำเลยขาดประโยชน์จากการดำเนินงานหลัก และลูกค้าผู้ติดต่อจำเลยอาจเข้าใจและเชื่อว่าเป็นการรับขนส่งของจำเลย จำเลยมีโอกาสได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในด้านการให้การบริการได้ และโจทก์ทำงานประจำห้องศูนย์บริการลูกค้าของจำเลย มีโอกาสที่จะรับการติดต่อจากลูกค้าที่โทรศัพท์เข้ามาว่าจ้างใช้บริการของจำเลยได้ตลอดเวลาทุกวัน การลักลอบเอางานของจำเลยไปให้ผู้อื่นทำย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขาดรายได้จากการขนส่งรายนั้นๆ หากมีลูกจ้างเช่นโจทก์ในนิติบุคคลใดย่อมส่งผลให้การประกอบกิจการของนิติบุคคลนั้นประสบปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายถึงกิจการล่มได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรงต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ข้อ 15.1 และข้อ 15.6 และตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุว่าด้วยวินัยพนักงาน พ.ศ.2512 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) ข้อ 15 วรรคสาม ระบุ "ห้ามมิให้พนักงานเป็นตัวแทนหรือกระทำการในนามนิติบุคคลอื่น อันมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจการค้าอย่างเดียวกับองค์การ หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ขององค์การ ทั้งนี้ ไม่ว่ากระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง" ดังนั้น เมื่อโจทก์กระทำการซึ่งขัดกับผลประโยชน์ของจำเลยจึงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับดังกล่าว และส่งผลให้จำเลยขาดประโยชน์และมีผลกระทบต่อชื่อเสียงของจำเลยดังที่วินิจฉัยมาข้างต้น โจทก์จึงกระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งขององค์การเป็นเหตุให้องค์การได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ข้อ 15.2 ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 (ฉบับประมวลแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 9) ข้อ 15 นี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดของภริยาในทรัพย์สินร่วม กรณีจำนองโดยไม่ยินยอม ศาลไม่อาจบังคับแบ่งทรัพย์สินโดยตรง
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยที่ 2 มิได้ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ยืนจากโจทก์ ดังนี้ หากเป็นดังที่ผู้ร้องอ้าง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามกฎหมาย ต้องถือว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้ แต่ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้ศาลบังคับให้โจทก์แบ่งที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง และที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้มีการแบ่งแยกการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด คำขอบังคับของผู้ร้องดังกล่าวโดยสภาพไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำร้องนั้นได้ คำร้องมีลักษณะเป็นเรื่องร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 287 ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้กันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสนั้น ไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาขอให้บังคับโจทก์แบ่งที่ดินพิพาทในส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องให้แก่ผู้ร้องตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการระบายน้ำในที่ดินของผู้อื่น และหน้าที่ของเจ้าของที่ดินในการยอมรับน้ำจากที่สูงกว่า
ตามสำเนาโฉนดที่ดินระบุว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองทุกด้านติดต่อกับที่ดินแปลงอื่นไม่ปรากฏว่ามีลำรางสารธารณะติดที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าลำรางร่องเหมืองหรือร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะ แต่เป็นร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสอง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินสูง ส่วนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินต่ำตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองไปสู่ลำน้ำเสียวจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องยอมรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และ 1340 วรรคหนึ่ง ดังนี้ไม่ว่าโจทก์และประชาชนจะใช้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นเวลานานเพียงใดก็หาทำให้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองกลายเป็นลำรางสาธารณะหรือตกเป็นภาระจำยอมไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองไถดินกลบลำรางร่องน้ำพิพาท เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็นลำรางระบายน้ำตามเดิมได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม แต่ฟ้องโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงโดยได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางร่องน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินของโจทก์ผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่ลำน้ำเสียว อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ลำรางร่องน้ำพิพาทได้กับมีคำขอไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเองเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1340 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินสูง ส่วนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินต่ำตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองไปสู่ลำน้ำเสียวจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องยอมรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และ 1340 วรรคหนึ่ง ดังนี้ไม่ว่าโจทก์และประชาชนจะใช้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นเวลานานเพียงใดก็หาทำให้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองกลายเป็นลำรางสาธารณะหรือตกเป็นภาระจำยอมไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองไถดินกลบลำรางร่องน้ำพิพาท เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็นลำรางระบายน้ำตามเดิมได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม แต่ฟ้องโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงโดยได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นไว้ชัดเจนแล้วว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางร่องน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินของโจทก์ผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่ลำน้ำเสียว อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ลำรางร่องน้ำพิพาทได้กับมีคำขอไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเองเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1340 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6372/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้มีทางออกแต่ไม่สะดวก ไม่ถือว่าที่ดินถูกปิดล้อม จึงไม่มีสิทธิขอทางจำเป็น
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและภาระจำยอม ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทมิใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ทั้งที่ทางพิจารณาอาจเป็นได้ทั้งทางจำเป็นและทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนี้หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจวินิจฉัยในเรื่องทางพิพาทว่าเป็นทางจำเป็นหรือไม่ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น เนื่องจากโจทก์มีคำขอมาตั้งแต่ต้นแล้ว มิฉะนั้น โจทก์คงต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งโจทก์ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงซ้ำในเรื่องที่เคยนำสืบมาแล้ว จึงหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 45810 ของโจทก์และที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงดังกล่าว แต่เมื่อทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเป็นทางเดินเท้าซึ่งตามแผนที่พิพาทระบุว่าทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 1.10 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นในที่ดินโฉนดเลขที่ 45821 ของจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 และ 1350 เพราะที่ดินโจทก์ไม่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้