คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำรับสารภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและการพิสูจน์ความผิดทางอาญา: คำรับสารภาพต้องสอดคล้องกับพยานหลักฐานประกอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 778 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 21.50 กรัม ไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดตามฟ้องจริง จึงจะลงโทษได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง และจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา โดยอ้างว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดตามฟ้องเท่ากับอ้างว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยที่ 2 ยื่นให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สอบคำให้การจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 แต่งตั้งทนายความสู้คดี โดยทนายจำเลยที่ 2 เรียงและพิมพ์คำให้การจำเลยที่ 2 ใหม่ มีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ศาลชั้นต้นสอบคำให้การดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันตามคำให้การนี้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะนำคำให้การฉบับแรกมาอ้างเพื่อให้ศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะคำฟ้องไม่ปรากฏว่าได้บรรยายถึงสายลับที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปถึงจำเลยเพื่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนไว้จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ มาในฟ้องดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ซึ่งเพียงพอทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนสายลับเป็นใคร เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ หาทำให้ฟ้องเคลือบคลุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2160/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีอาญา แม้จำเลยไม่ได้ให้การรับสารภาพโดยชัดแจ้ง แต่ยอมรับในคำแก้ฎีกา
จำเลยยื่นคำให้การว่าขอให้การรับสารภาพทุกข้อหาของโจทก์ แม้มิได้ระบุด้วยว่าให้การรับว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนที่โจทก์อ้างขอให้บวกโทษมาในฟ้อง และโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏความในเรื่องนี้ก็ตาม แต่ตามคำแก้ฎีกาของจำเลยรับว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6560/2545 ของศาลจังหวัดนครปฐมและเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีดังกล่าว อันเป็นการยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ศาลจึงบวกโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6560/2545 ของศาลจังหวัดนครปฐมเข้ากับโทษในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำรับสารภาพของจำเลย และการริบของกลางที่ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้าง หรือร่วมกันรับของโจรและจำเลยพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นบันทึกคำให้การของจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง และบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาต่อท้ายคำให้การของจำเลยว่าอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของศาล ซึ่งมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องและมีถ้อยคำที่เขียนด้วยปากกาตกเติมต่อจากข้อความดังกล่าวว่าในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง เมื่อพิจารณาแล้วพอแปลความหมายคำรับสารภาพของจำเลยได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เนื่องจากคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้างหรือร่วมกันรับของโจร การที่ศาลชั้นต้นเขียนถ้อยคำเพิ่มเติมต่อท้ายว่า ในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง ก็เพื่อเป็นการระบุให้แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดระหว่างความผิดในสองข้อหาดังกล่าว กรณีจึงพอถือได้ว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพข้อหาร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง และพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งก็ตรงกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนด้วย ทั้งการแปลความหมายเช่นนี้ ย่อมเป็นการตีความตรงตามเจตนาที่แท้จริงของจำเลยและเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กระเป๋าของกลางในการปิดบังซุกซ่อนทรัพย์ที่คนร้ายลักมาเท่านั้น จำเลยมิได้ใช้กระเป๋าเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่ากระเป๋าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบมานั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำรับสารภาพของจำเลยในคดีลักทรัพย์และพกพาอาวุธ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำรับสารภาพครอบคลุมความผิดทั้งสองฐาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้าง หรือร่วมกันรับของโจรและพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นบันทึกคำให้การของจำเลยโดยใช้แบบพิมพ์ของศาล ซึ่งมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่าข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง และมีถ้อยคำที่เขียนด้วยปากกาตกเติมต่อจากข้อความดังกล่าวว่าในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง ดังนี้ พอแปลความหมายของคำรับสารภาพของจำเลยได้ว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เนื่องจากคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้างหรือร่วมกันรับของโจร ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นเขียนถ้อยคำเพิ่มเติมต่อท้ายว่า ในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง ก็เพื่อเป็นการระบุให้แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดระหว่างความผิดในสองข้อหาดังกล่าว กรณีจึงพอถือได้ว่า จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างและพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามฟ้องแล้ว ซึ่งการแปลความหมายเช่นนี้ย่อมเป็นการตีความให้ตรงตามเจตนาที่แท้จริงของจำเลยและเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ไม่ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78
คำรับสารภาพของจำเลยอันจะถือเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 จะต้องเป็นกรณีที่ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงจะพิจารณาลดโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ คดีนี้โจทก์มีทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานพฤติเหตุแวดล้อมแน่นหนามั่นคงและศาลอาศัยพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในการวินิจฉัยและพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้โดยไม่จำต้องอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง ประกอบกับรูปคดีที่โจทก์นำสืบน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน โดยจำเลยที่ 1 ถูกจับกุมได้ทันทีพร้อมของกลาง ส่วนจำเลยที่ 2 เพิ่งมาให้การรับสารภาพภายหลังจากมีการสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว หาใช่รับสารภาพเพราะสำนึกในความผิดไม่ คำรับสารภาพดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 อันจะมีเหตุสมควรลดโทษให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8971/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: พยานหลักฐานสนับสนุนคำรับสารภาพ, การให้ข้อมูลช่วยเหลือเจ้าพนักงาน, และดุลพินิจศาลในการลงโทษ
จำเลยที่ 1 ได้ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 ซึ่งบทมาตราดังกล่าวแม้จะให้ศาลมีอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลที่จะไม่ลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นให้น้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานในคดีอาญา: พยานพฤติเหตุแวดล้อมและคำรับสารภาพใช้พิสูจน์ความผิดจำเลยได้
ป.วิ.อ. มาตรา 226 บัญญัติว่า "พยานวัตถุ พยานเอกสารหรือพยานบุคคล ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น..." พยานหลักฐานที่จะใช้อ้างหรือพิสูจน์ในคดีอาญาว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงมิได้จำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็นประจักษ์พยานเท่านั้น หากแต่เป็นพยานประเภทใดก็ได้ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือบริสุทธิ์ โจทก์ย่อมนำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ ดังนั้น พยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีและคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์สามารถนำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ เพียงแต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนที่อาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้นั้น จะต้องฟังได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยความสมัครใจและตามความสัตย์จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนข้อหา โจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดฐานใดฐานหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเท่านั้น หากจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาหนึ่งแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีความผิดในอีกข้อหาหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสองให้การว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการ จึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาใด โจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความเช่นว่านั้น คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (1) และจำเลยทั้งสองยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือคำฟ้องอุทธรณ์มิใช่คำให้การของจำเลยทั้งสองที่ได้ให้การไว้ต่อศาลชั้นต้นก่อนเริ่มพิจารณา ถึงแม้จะมีถ้อยคำหรือข้อความที่อาจแสดงว่ารับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำให้การของจำเลยทั้งสองว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับฟังได้โดยปริยายว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ เมื่อคำให้การของจำเลยทั้งสองไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3438/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, ความสมบูรณ์ของฟ้อง, คำรับสารภาพ, และเหตุรอการลงโทษในคดีพนัน
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร แต่ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ระบุว่า คดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนเป็นผู้สอบสวน จำเลยมิได้โต้แย้งว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนไม่มีอำนาจสอบสวน ดังนั้น ความผิดที่เกิดขึ้นจะฟ้องที่ศาลซึ่งท้องที่ที่สอบสวนอยู่ในเขตอำนาจก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 เมื่อสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงธนบุรี โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงธนบุรีได้
โจทก์ฟ้องด้วยวาจา ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกโดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกฟ้อง ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น เมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลแล้วได้ความว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 จำเลยกับพวกที่หลบหนีและ ด. กับพวกรวม 4 คน ร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบอันเป็นการพนันตามบัญชี ข. อันดับที่ 16 ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ พนันเอาทรัพย์สินกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้เป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วน ด. กับพวกเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้หรือผู้เล่น และโพยของกลางเป็นของ ด. กับพวกจำนวนเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หากจำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งคดีนี้จำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์โดยมิได้หลงข้อต่อสู้ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามฟ้อง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิใช่เจ้ามือรับกินรับใช้ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนที่ไม่แจ้งสิทธิทนายความและการรับฟังคำรับสารภาพที่ไม่เกิดจากความสมัครใจ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 (2) จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนและมาตรา 134/3 บัญญัติว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ และมาตรา 134/4 (2) บัญญัติในเรื่องการถามคำให้การผู้ต้องหานั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ในบทบัญญัติของมาตรา 134/4 วรรคท้าย ก็บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็หาทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใดไม่
of 44