พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมคำให้การของผู้ค้ำประกันหลังเกิดเหตุการณ์ใหม่ และการหลุดพ้นจากความรับผิดเมื่อหนี้ถูกชำระ
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมคำให้การครั้งแรกยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ว่า ที่โจทก์ถอนการอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 เท่ากับยอมให้เปลี่ยนแปลงสภาพหนี้ตามฟ้อง การค้ำประกันจึงเป็นโมฆะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขอเพิ่มเติมคำให้การครั้งหลังยกข้อต่อสู้เพิ่มขึ้นใหม่อีกว่า โจทก์ผ่อนเวลา และหลังจากฟ้องแล้วโจทก์ได้รับชำระหนี้จากเงินประกันภัยของจำเลยที่ 1 กับหักหนี้จากเงินขายฝากที่ดินที่โจทก์หรือผู้แทนรับซื้อฝากไว้จากจำเลยที่ 1 หนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับ จำเลยที่ 2ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ข้อที่ขอเพิ่มเติมคำให้การนี้เพราะเมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแล้ว โรงงานทอผ้าของจำเลยที่ 1 ถูกเพลิงไหม้ และในวันชี้สองสถานศาลมีคำสั่งอายัดเงินค่าประกันภัยจากบริษัทรับประกันภัย ส่วนการซื้อฝากที่ดินได้กระทำกันภายหลังวันชี้สองสถานแล้ว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้นซึ่งจำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีสิทธิขอเพิ่มเติมคำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้เฉพาะเรื่องจำเลยได้ชำระหนี้แล้วก็เป็นการชอบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33-34/2512 และ 1/2513)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33-34/2512 และ 1/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของสมาคมจากสัญญาค้ำประกันและการรับสภาพหนี้ ทำให้คดีไม่ขาดอายุความ
เมื่อข้อบังคับของสมาคมบัญญัติว่า ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินเพื่อกิจการของสมาคมได้ และเหรัญญิกจะจ่ายเงินของสมาคมทุกครั้งจะต้องได้รับอนุมัติจากนายกสมาคมก่อน การลงชื่อในเช็คเพื่อจ่ายเงินของสมาคม ให้นายก เหรัญญิกและเลขาธิการลงชื่อร่วมกัน โดยประทับตราของสมาคมไว้ เมื่อข้อบังคับบัญญัติไว้เช่นนี้ จำเลยที่ 2,3,4 จึงทำสัญญาแทนสมาคมได้ สมาคมจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้น
สมาคมกู้เงินธนาคารโจทก์โดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชี ต่อมาภายในกำหนดอายุความ นายกสมาคมคนใหม่ได้มีหนังสือถึงธนาคารรับว่าเป็นหนี้ธนาคารโจทก์จริง และขอปิดบัญชี ส่วนหนี้ซึ่งค้างชำระจะขอผ่อนชำระให้จนกว่าจะหมดสิ้น จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ อายุความฟ้องร้องจึงสะดุดหยุดลง คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดหรือในการค้าอย่างอื่นในทำนองเดียวกัน แม้กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นพิเศษก็ดี แต่ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859 และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้ ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป ทั้งตามกฎหมายก็ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดด้วย
สมาคมกู้เงินธนาคารโจทก์โดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชี ต่อมาภายในกำหนดอายุความ นายกสมาคมคนใหม่ได้มีหนังสือถึงธนาคารรับว่าเป็นหนี้ธนาคารโจทก์จริง และขอปิดบัญชี ส่วนหนี้ซึ่งค้างชำระจะขอผ่อนชำระให้จนกว่าจะหมดสิ้น จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ อายุความฟ้องร้องจึงสะดุดหยุดลง คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดหรือในการค้าอย่างอื่นในทำนองเดียวกัน แม้กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นพิเศษก็ดี แต่ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859 และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้ ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป ทั้งตามกฎหมายก็ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันหน้าที่การงาน: ผู้ค้ำประกันรับผิดเฉพาะความเสียหายในหน้าที่ หากมิได้ระบุความรับผิดนอกเหนือจากนั้น
การทำสัญญาค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน โดยปกติย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่นายจ้างเฉพาะในหน้าที่การงานของลูกจ้างนั้นเท่านั้น ถ้านายจ้างประสงค์จะให้รับผิดตลอดถึงการกระทำนอกหน้าที่การงานที่ว่าจ้างกันด้วยแล้วก็ชอบที่จะระบุไว้ให้ชัดในสัญญาค้ำประกัน
นายจ้างอ้างว่าการที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือในหน้าที่การงานของลูกจ้าง เมื่อผู้ค้ำประกันให้การปฏิเสธข้อนี้ นายจ้างมีหน้าที่ต้องนำสืบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2513)
นายจ้างอ้างว่าการที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือในหน้าที่การงานของลูกจ้าง เมื่อผู้ค้ำประกันให้การปฏิเสธข้อนี้ นายจ้างมีหน้าที่ต้องนำสืบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเป็นหลักฐานได้เมื่อต้นฉบับสูญหาย และการที่ตัวแทนลงนามในสัญญา
ในคดีผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน ศาลสั่งให้โจทก์ส่งต้นฉบับสัญญาต่อศาลเพื่อให้จำเลยตรวจดูก่อนจำเลยให้การ โจทก์ยื่นคำแถลงว่ายังหาต้นฉบับไม่พบเพราะหลงไปปะปนอยู่กับเรื่องอื่น คงพบแต่สำเนา จะได้ขอนำเข้าสืบแทนต้นฉบับ จำเลยมิได้โต้แย้งอย่างใด ต่อมาศาลรับฟังสำเนาสัญญานั้นเมื่อโจทก์นำเข้าสืบก็เท่ากับศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
สำเนาของเอกสารที่อ้างไว้ในคดีเรื่องหนึ่งแล้ว คู่ความอ้างมาเป็นพยานในคดีอีกเรื่องหนึ่งโดยชอบ ศาลย่อมรับฟังได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันแล้วนำสืบว่าจำเลยทำสัญญากับ อ. ตัวแทนของโจทก์ดังนี้ ไม่เป็นการสืบแตกต่างกับฟ้องหรือนอกฟ้อง
สำเนาของเอกสารที่อ้างไว้ในคดีเรื่องหนึ่งแล้ว คู่ความอ้างมาเป็นพยานในคดีอีกเรื่องหนึ่งโดยชอบ ศาลย่อมรับฟังได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันแล้วนำสืบว่าจำเลยทำสัญญากับ อ. ตัวแทนของโจทก์ดังนี้ ไม่เป็นการสืบแตกต่างกับฟ้องหรือนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการยกอายุความของผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันไม่ได้ตัดสิทธิการยกอายุความ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้ โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญาหรือผู้กู้ถึงแก่กรรม หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น ยังแปลไม่ได้ว่า แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญาหรือผู้กู้ถึงแก่กรรม หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น ยังแปลไม่ได้ว่า แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันยกอายุความได้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความ แม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงความรับผิดชอบ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้. โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง.
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย. ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญา. หรือผู้กู้ถึงแก่กรรม. หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย. ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น. ยังแปลไม่ได้ว่า. แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้.
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย. ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญา. หรือผู้กู้ถึงแก่กรรม. หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย. ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น. ยังแปลไม่ได้ว่า. แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช่าซื้อ-ค้ำประกัน: สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อภายใน 2 ปี, ค้ำประกันมีผลผูกพันจนชำระหนี้ครบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากผู้ให้เช่าซื้อเป็นพ่อค้า ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้ ภายในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6)
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกัน ไม่ว่าเวลาใดนั้น จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกัน ไม่ว่าเวลาใดนั้น จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช่าซื้อ-ค้ำประกัน: ค่าเช่าซื้อมีอายุความ 2 ปี, สิทธิเจ้าของทรัพย์ 10 ปี, สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากผู้ให้เช่าซื้อเป็นพ่อค้า ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้ภายในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6)
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกันไม่ว่าเวลาใดนั้น จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกันไม่ว่าเวลาใดนั้น จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช่าซื้อ-ค้ำประกัน: ฟ้องภายใน 2 ปี (ค่าเช่า) และ 10 ปี (เอาคืนทรัพย์) ข้อตกลงค้ำประกันมีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง. แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง. หากผู้ให้เช่าซื้อเป็นพ่อค้า ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้. ภายในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6).
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น. เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี.
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกันไม่ว่าเวลาใดนั้น. จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่.
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น. เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี.
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกันไม่ว่าเวลาใดนั้น. จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, การล้มละลายของลูกหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อัตราดอกเบี้ย, อายุความ
พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) นั้น หมายถึงบุคคลประเภทที่ซื้อและขายสินค้าเป็นปกติธุระ ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการค้าตามวิธีการของธนาคาร หาใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งอนุมาตรานี้ไม่ จะใช้อายุความ 2 ปีมาปรับแก่คดีไม่ได้
จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ยินยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปีให้แก่ธนาคาร เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตรานี้ตลอดไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ
ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็มีอำนาจที่จะพิจารณาคดีสำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต่อไปได้ จำเลยผู้ค้ำประกันหาพ้นความรับผิดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 การที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เป็นเรื่องของโจทก์ เมื่อไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย โจทก์ก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้รายนี้ได้เท่านั้น ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอยู่
จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ยินยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปีให้แก่ธนาคาร เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตรานี้ตลอดไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ
ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็มีอำนาจที่จะพิจารณาคดีสำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต่อไปได้ จำเลยผู้ค้ำประกันหาพ้นความรับผิดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 การที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เป็นเรื่องของโจทก์ เมื่อไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย โจทก์ก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้รายนี้ได้เท่านั้น ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอยู่