คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตัวการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 464 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14217/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของนายจ้าง ตัวการ และลูกจ้าง/ตัวแทน จากการกระทำละเมิดในการซ่อมแซมเรือ
โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย เรือ พ. จากบริษัท อ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองอู่ต่อเรือ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการเรือ พ. มีหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมเรือและเข้าร่วมซ่อมแซมเรือกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับจ้างซ่อมแซมเรือ พ. จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และ/หรือเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดหาทำการว่าจ้าง วาน ใช้ หรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 ให้ดำเนินการซ่อมแซมเรือ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดต่อเจ้าของเรือ พ. โดยจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาททำให้เกิดเพลิงลุกไหม้เรือ พ. จนได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาเพื่อขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์ ทั้งโจทก์ยืนยันว่าเหตุละเมิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 หากพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วได้ความตามฟ้อง จำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ไม่ว่าในฐานะตัวการตัวแทนหรือนายจ้างลูกจ้าง เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 427 ให้นำมาตรา 425 และ 426 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของนายจ้างเพื่อผลละเมิดของลูกจ้างซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างบังคับแก่กรณีตัวการตัวแทนโดยอนุโลม ทั้งจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 อาจต้องร่วมรับผิดทั้งการกระทำละเมิดและการกระทำผิดสัญญาจ้างซ่อมแซมเรือที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในคราวเดียวกัน ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาจึงไม่ได้ขัดแย้งกัน ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: สัญญาจ้างเหมามีผลผูกพันกับตัวการ แม้จะอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทน
ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนเชิดไว้ในมาตรา 821 ว่าบุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน จึงเป็นบทบัญญัติถึงความรับผิดของตัวการที่มีต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้กำหนดให้บุคคลภายนอกต้องรับผิดหรือมีความผูกพันต่อตัวการ บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจฟ้องตัวการให้รับผิดได้ แต่บุคคลภายนอกไม่อาจฟ้องตัวแทนได้ และตัวการก็จะฟ้องบุคคลภายนอกให้รับผิดไม่ได้เช่นกัน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลภายนอกจึงหาอาจกล่าวอ้างว่าโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นผู้รับจ้างในสัญญาจ้างเหมาที่ทำกับตนนั้นเป็นเพียงตัวแทนเชิดของบริษัท จ. ตัวการเพื่อให้จำเลยไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดตามสัญญาได้ไม่ จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาจ้างเหมากับโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันเป็นเจ้ามือการพนัน: จำเลยมีส่วนร่วมตั้งแต่ก่อนถึงหลังออกรางวัล ถือเป็นตัวการ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการร่วมกับ จ. จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในการดำเนินการให้การรับกินรับใช้ในฐานะเจ้ามือเป็นไปจนเสร็จสิ้นในการเล่นการพนันโดยการแบ่งหน้าที่กันทำ ซึ่งมีทั้งก่อนวันที่ออกรางวัลและหลังจากรางวัลออกแล้ว เมื่อตรวจทราบว่ามีการได้เสียกันเท่าไร หาได้เสร็จสิ้นเมื่อมีการออกรางวัลแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นตัวการในการกระทำความผิดด้วย มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน กรณีจัดงานเลี้ยงและเกิดเพลิงไหม้
คดีนี้โจทก์ร่วมทั้งสองร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่ทรัพย์สินมาด้วย ซึ่งเป็นคำขอบังคับในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ แม้จำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ขึ้นที่บ้านของตนเอง การจุดพลุเป็นพิธีการส่วนหนึ่งของการเปิดงาน การที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุ อันเป็นสัญญาณเริ่มต้นเปิดงานต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการจุดพลุเปิดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ที่จำเลยที่ 2 จัดให้มีขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามคำสั่งที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ประกอบมาตรา 427 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการต่อละเมิดของตัวแทน และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันโจทก์
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 ชุมพร รับจ้างบรรทุกสินค้าอันเป็นการประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าว ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนของตนได้กระทำไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 และ 820
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในการเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานขับรถโดยประมาท อันทำให้คดีส่วนอาญาเลิกกัน แม้จะมีข้อความบันทึกไว้ตอนต้นว่าคู่กรณีทั้งสามฝ่ายตกลงเรื่องค่าเสียหายกัน ผลการตกลงฝ่ายรถยนต์บรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 ชุมพร ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นคนขับขณะเกิดเหตุยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายโดยจะซ่อมรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 6 ฎ - 0967 กรุงเทพมหานคร และรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิม ส่วนค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจะไปดำเนินการกันเองกับบริษัทประกันภัยก็ตาม แต่ผู้ลงชื่อท้ายบันทึกฝ่ายรถบรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 5273 กรุงเทพมหานคร ได้แก่ จำเลยที่ 1 ผู้ชดใช้และฝ่ายรถยนต์โดยสาร หมายเลขทะเบียน 11 - 7047 กรุงเทพมหานคร คือ ม. พนักงานขับรถยนต์โดยสารของโจทก์ผู้รับชดใช้ โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่า ม. ทำบันทึกข้อตกลงในฐานะตัวแทนของโจทก์ ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 บังคับว่าสัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และมาตรา 798 วรรคสอง บัญญัติว่า กิจการอันใดท่านบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ดังนี้ข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เอกสารศาลแพ่งหมาย ป.จ.4 จึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันอันจะมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 แต่มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16379/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของและตัวแทน: ความรับผิดของตัวการในผลละเมิดของตัวแทน
สัญญาจ้างรักษาความปลอดภัยเป็นสัญญาจ้างทำของ แต่จำเลยร่วมยังมีภาระหน้าที่จะต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเองและบุคคลอื่นด้วย เพียงแต่ผู้ว่าจ้างมอบหมายให้ผู้รับจ้างเป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวแทนตน ตามข้อความในสัญญาจ้างรักษาความปลอดภัยเป็นกรณีที่นอกจากจำเลยร่วมมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยแทนแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 นั้นก็ยังอยู่ในอำนาจสั่งการหรือควบคุมดูแลของจำเลยร่วม โดยจำเลยที่ 1 ต้องรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ให้จำเลยร่วมทราบและต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ขอบอำนาจของจำเลยร่วมที่มอบหมายให้ทำการแทน หากจำเลยร่วมทักท้วงการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการแก้ไขโดยทันที สัญญารักษาความปลอดภัยดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 รับเอาการงานของจำเลยร่วมไปทำโดยเด็ดขาดและอิสระ ดังนั้น ในส่วนที่จำเลยที่ 1 ทำแทนนั้นย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยร่วม เข้าลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนด้วย สัญญารักษาความปลอดภัยดังกล่าวจึงมีทั้งสัญญาจ้างทำของและสัญญาตัวแทนรวมอยู่ในสัญญาเดียวกัน การที่จำเลยร่วมจะต้องรับผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องใด เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการนำสืบของคู่ความเข้ากับบทกฎหมายที่ถูกต้องเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนทำสัญญาจ้างงานต่างประเทศ: ความรับผิดของตัวการและตัวแทนตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัท ย. มีหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนกระทำการทุกอย่างแทนในการจัดหาคนหางานไปทำงานในประเทศไนจีเรีย จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จัดทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง เป็นกรณีจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างงานแทนบริษัท ย. ซึ่งเป็นตัวการอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างงานนั้นเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
จำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์แทนบริษัท ย. ไม่ใช่กรณีจำเลยทั้งสองเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบมาตรา 820, 821 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21623/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากตัวการเป็นผู้สนับสนุน และการยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอในคดีข่มขืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ให้ส่งตัวจำเลยที่ 5 ไปรับการฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำหนด 2 ปี แต่ไม่เกินกว่าที่จำเลยที่ 5 จะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (5) ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 ให้มอบตัวจำเลยที่ 5 ให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ระวังจำเลยที่ 5 ไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาภายใน 1 ปี หากจำเลยที่ 5 ก่อเหตุร้าย บิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระเงินต่อศาลครั้งละ 1,000 บาท กับให้คุมความประพฤติจำเลยที่ 5 ไว้ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (2) (3) มิใช่การลงโทษ จึงถือมิได้ว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 5 เกิน 2 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า พฤติกรรมของจำเลยที่ 5 เป็นความผิดฐานเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15640/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการรับผิดต่อการผิดสัญญาตัวแทน แม้จะรู้เห็นการรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยโดยตรงจากลูกค้า
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่จำเลยรับไว้แทนโจทก์แล้วค้างชำระไม่ส่งมอบคืนภายในกำหนด อันเป็นกรณีตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีไม่มีเหตุจะนำพฤติการณ์ที่จำเลยรู้หรือไม่รู้เรื่องที่ ธ. ตัวแทนของจำเลยรับกรมธรรม์ประกันภัยไปจากโจทก์มาพิจารณาประกอบในการกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15083/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการต่างประเทศ ต้องรับผิดตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ขนส่งเอง
จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ที่เข้าทำสัญญาขนส่งกับโจทก์แทนจำเลยที่ 2 ตัวการ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ใช่ผู้ขนส่งอื่น โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 3 ก็ตาม ก็หาได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 824 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง ทั้งที่โจทก์ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ถูกต้อง ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินให้โจทก์
of 47