พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากผู้ไม่ร่วมกระทำผิดทางอาญา และผลของการถอนฟ้องคดีแพ่ง
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในฐานละเมิดจากผู้อื่น ซึ่งมิได้ร่วมในการกระทำผิดทางอาญาด้วยนั้น ต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง (อ้างฎีกาที่ 383/2497)
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คดีแพ่งที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วย่อมไม่เป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลง
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดอาญาต่อจำเลยผู้กระทำผิดหลังจากเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ย่อมมีกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่ไม่ถือเป็นประนีประนอม หากไม่มีหลักฐานการชำระหนี้ครบถ้วน การต่อสู้เรื่องปลดหนี้ต้องมีหลักฐาน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญากู้ เป็นเงิน 10,000 บาท แล้วโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนั้นเสีย โดยโจทก์บรรยายในคำร้องขอถอนฟ้องว่า "จำเลยได้มาขอความตกลงโดยยอมชำระหนี้ให้แล้วจึงหมดความจำเป็นที่จะดำเนินคดีต่อไป โจทก์จึงขอถอนฟ้อง" ครั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ โดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินให้เพียง 8400 บาท ยังมิได้ชำระอีก 1600 บาท จึงขอให้ศาลบังคับ ดังนี้ จะถือว่าถ้อยคำที่โจทก์บรรยายมาในคำร้องขอถอนฟ้องเป็นการประณีประนอมไม่ได้ เพราะไม่มีความหมายว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นแล้ว หรือว่าได้มีความตกลงเป็นสัญญาประนีประนอมกันขึ้นแล้วหากจำเลยจะต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงยอมรับชำระหนี้เพียง 8400 บาท ก็เป็นเรื่อง ต่อสู้ขอปลดหนี้ ต้องบังคับตามมาตรา 340
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่: ถ้อยคำในคำร้องไม่ใช่การประนีประนอมและจำเลยต้องมีหลักฐานการปลดหนี้
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญากู้ เป็นเงิน 10,000 บาท แล้วโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนั้นเสีย โดยโจทก์บรรยายในคำร้องขอถอนฟ้องว่า "จำเลยได้มาขอความตกลงโดยยอมชำระหนี้ให้แล้วจึงหมดความจำเป็นที่จะดำเนินคดีต่อไป โจทก์จึงขอถอนฟ้อง" ครั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ โดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินให้เพียง 8400 บาท ยังมิได้ชำระอีก 1600 บาท จึงขอให้ศาลบังคับ ดังนี้ จะถือว่าถ้อยคำที่โจทก์บรรยายมาในคำร้องขอถอนฟ้องเป็นการประณีประนอมไม่ได้เพราะไม่มีความหมายว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นแล้ว หรือว่าได้มีความตกลงเป็นสัญญาประนีประนอมกันขึ้นแล้ว หากจำเลยจะต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงยอมรับชำระหนี้เพียง 8400 บาทก็เป็นเรื่อง ต่อสู้ขอปลดหนี้ ต้องบังคับตามมาตรา 340
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตกลงถอนฟ้องคดีอาญาแลกกับการสละสิทธิในที่ดิน เป็นโมฆะ เนื่องจากขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทำหนังสือสัญญาตกลงกันว่า โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินฐานแจ้งความเท็จ ปลอมหนังสือ จำเลยยอมไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ดังนี้ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยโดยมิได้อ้างฐานเป็นตัวแทน แม้ถอนฟ้องจำเลยอีกคนหนึ่ง จำเลยที่ถูกฟ้องก็ยังต้องรับผิดตามฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องกรรมการผู้จัดการสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นจำเลยที่ 1 กระทรวงพาณิชย์เป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายอำนาจและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและบรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นกระทรวงควบคุมกิจการสำนักงานนี้ โจทก์ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 1 ให้จัดการขนส่งน้ำตาลในกิจการของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัด จากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯโจทก์จึงฟ้องเรียกค่าจ้างและเงินที่โจทก์ได้จ่ายเงินส่วนตัวทดรองไปก่อนจากจำเลยที่ 1 และ จำเลย ที่ 2 ดังนี้มิได้หมายความว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด การที่โจทก์กล่าวถึงจำเลยที่ 2 ว่าเป็นผู้ควบคุมกิจการของสำนักงาน ไม่พอที่จะให้ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนฉะนั้นแม้ภายหลังโจทก์จะถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 เสีย จำเลยที่ 1 ก็ย่อมถูกฟ้องให้รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องระงับข้อพิพาท ไม่ใช่แค่ยอมผ่อนผัน
คำร้องขอถอนฟ้องอุทธรณ์มีข้อความกล่าวอ้างว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเลิกความไม่ติดใจว่ากล่าวกันต่อไปแต่ไม่มีข้อความแสดงว่าได้มีการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาด้วยกันต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันอย่างใดนั้นเรียกไม่ได้ว่าเป็นหลักฐานสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 คงเป็นแต่เพียงคำร้องขอถอนฟ้องอุทธรณ์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายก่อนศาลฎีกาพิพากษา ทำให้จำหน่ายคดีและปล่อยตัวจำเลย
ในคดีความผิดต่อส่วนตัวระหว่างฎีกาก่อนอ่านคำพิพากษาผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์และขอถอนคำฟ้องไม่ขอเอาความแก่จำเลยต่อไป อัยการโจทก์และจำเลยไม่คัดค้าน ศาลฎีกาย่อมอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 35 วรรคท้าย ให้จำหน่ายคดีและให้ปล่อยจำเลยพ้นข้อหาไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยความไว้วางใจ: อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดินเมื่อผู้เสียหายถอนฟ้อง
คำบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์ร่วมเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อไม้หมอนรถไฟขายแก่บริษัทพันธมิตรจำกัด ไม่ปรากฎว่าได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาเงินและเป็นผู้จัดการงาน และผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกเงินของหุ้นส่วน ดังนี้ คดีไม่ต้องลักษณะของความผิด ตามมาตรา 319 (2) (3) แห่ง ก.ม. ลักษณะอาญา
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 ก.ม. ลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณะชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยฉะเพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน.
ในคำฟ้องของอัยยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้วอัยยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป. ต้องจำหน่ายคดีเสีย./
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 ก.ม. ลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณะชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยฉะเพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน.
ในคำฟ้องของอัยยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้วอัยยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป. ต้องจำหน่ายคดีเสีย./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยักยอกทรัพย์หุ้นส่วนและการถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน อัยการไม่มีอำนาจดำเนินคดีต่อหากผู้เสียหายถอนฟ้อง
คำบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์ร่วมเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อไม้หมอนรถไฟขายแก่บริษัทพันธมิตรจำกัด ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาเงินและเป็นผู้จัดการงาน และผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกเงินของหุ้นส่วน ดังนี้ คดีไม่ต้องลักษณะของความผิด ตามมาตรา 319(2)(3) แห่งกฎหมายลักษณะอาญา
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 กฎหมายลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยเฉพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน
ในคำฟ้องของอัยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้ว อัยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป ต้องจำหน่ายคดีเสีย
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 กฎหมายลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยเฉพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน
ในคำฟ้องของอัยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้ว อัยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป ต้องจำหน่ายคดีเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปราณีประนอมยอมความและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ: การสละสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินหลังถอนฟ้อง
โจทก์เป็นบิดาจำเลย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์พิพาทอยู่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเรียกทรัพย์สินพิพาทนี้คืนครั้งหนึ่งแล้ว และต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอถอนคดีโดยแถลงว่า โจทก์ไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไป โดยได้ทำสัญญาตกลงระงับข้อพิพาทกับจำเลยฉะบับหนึ่ง มีข้อความกล่าวอ้างถึงคดีที่ฟ้องนั้น และมีข้อความกล่าวถึงหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ โดยไม่ปรากฎว่าทรัพย์สินที่พิพาท โจทก์จำเลยได้ตกลงให้กรรมสิทธิอยู่แก่ใคร เช่นนี้ เมื่อทรัพย์พิพาทอยู่ในความปกครองของจำเลย และโจทก์ตกลงทำปราณีประนอมกับจำเลยดังกล่าว ก็ต้องตีความว่าโจทก์ได้ตกลงไม่โต้แย้งกรรมสิทธิของจำเลยต่อไปแล้ว เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินและข้อสัญญาต่าง ๆ ที่จำเลยให้ไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องเรียกทรัพย์พิพาทจากจำเลยอีก.