คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8651/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอุทลุม: อำนาจฟ้องบุพการี & ความผิดฐานจัดการทรัพย์มรดกโดยมิชอบ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า "ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้" เช่นนี้ แม้โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายและมีสิทธิเรียกร้องในอันที่จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจัดการแบ่งมรดกให้โจทก์ทั้งสามตามสิทธิในทางแพ่งได้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 353, 354 เพื่อที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้รับโทษในทางอาญานั้น ย่อมเท่ากับเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามในทางอาญาเป็นส่วนตัว เพราะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ได้กระทำผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและต้องรับโทษในทางอาญาย่อมต้องรับโทษเป็นการส่วนตัว เนื่องจากสภาพบังคับในทางอาญาสำหรับความผิดตามฟ้องไม่มีการรับโทษในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกเหมือนเช่นความรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกในทางแพ่ง คดีระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีอุทลุม ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุพการีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ. ให้แก่จำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียว โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 1 ในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของ บ. จำเลยที่ 2 เป็นผู้เตรียมเอกสารและจัดหาทนายความแก่จำเลยที่ 1 และวันที่ไปโอนทรัพย์มรดกของ บ. ที่สำนักงานที่ดินนั้น จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดทะเบียนด้วยตนเองจนแล้วเสร็จ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกันโดยสมคบกันมาก่อน โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลที่อาจเกิดขึ้นร่วมกัน มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเพียงลำพัง แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการได้เพราะจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์มรดกของ บ. มิได้กระทำในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้อื่นตามคำสั่งศาล คงลงโทษได้เพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353, 354 ประกอบมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8445/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินนิคมฯ ถือเป็นทรัพย์มรดก สามารถแบ่งแยกได้ตามข้อตกลงทายาท แม้ยังมิได้ออกโฉนด
แม้ พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 และมาตรา 12 กำหนดให้ทางราชการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมที่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินซึ่งสมาชิกสามารถนำหนังสือดังกล่าวไปขอออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ภายในห้าปีนับแต่วันได้รับโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี เมื่อที่ดินพิพาทยังไม่มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นที่ดินของรัฐซึ่งราษฎรสามารถมีสิทธิครอบครองได้ และไม่มีกฎหมายห้ามโอนสิทธิครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกัน เพียงแต่ราษฎรไม่สามารถยกการครอบครองขึ้นอ้างต่อรัฐได้เท่านั้น เมื่อราษฎรสามารถอ้างสิทธิครอบครองยันกันระหว่างราษฎรด้วยกันได้ และสิทธิในการครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงถือเป็นทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง
หลักจาก ข. ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของสหกรณ์นิคมสวรรคโลก จำกัด และได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.5) ถึงแก่ความตาย ทายาทของ ข. ตกลงให้ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ใน กสน.5 ต่อมาจำเลยที่ 1 นำหนังสือดังกล่าวไปขอออกโฉนดจึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการแทนทายาทอื่น บันทึกข้อตกลงให้ความยินยอมในการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่จำเลยที่ 1 และบรรดาทายาทของ ข. ตกลงทำขึ้นเพื่อแบ่งแยกที่ดินพิพาทกัน จึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท ไม่ถือว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายหรือมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 ย่อมไม่มีผลเป็นโมฆะและสามารถบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกและการฟ้องบังคับให้เพิกถอนคำคัดค้านการขอออกโฉนด: ประเด็นการแย่งการครอบครองและขอบเขตคำขอ
แม้จำเลยชนะคดีในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งประเด็นส่วนที่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาในคำแก้อุทธรณ์ได้ ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. ซึ่งจำเลยก็ได้โต้แย้งแก้อุทธรณ์ไว้ในข้อ 2 ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ไม่อาจนำไปแบ่งปันให้แก่ทายาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตั้งประเด็นในการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. หรือไม่ กับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. จึงชอบแล้ว
จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นมรดกของนาย ต. ซึ่งตกทอดแก่ทายาทและจำเลยแย่งการครอบครองจากทายาทอื่นจนได้สิทธิการครอบครองแล้วแต่อย่างใด หากแต่ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ไม่อาจนำไปแบ่งปันแก่ทายาทได้ เพราะนาย ต. ยกให้นาย อ. บิดาจำเลยตั้งแต่นาย ต. มีชีวิตอยู่ เท่ากับอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของนาย อ. และตกทอดมายังจำเลย โดยนาย อ. และจำเลยมิได้แย่งการครอบครองมาจากผู้ใด คดีจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ไม่อาจแย่งการครอบครองในที่ดินซึ่งตนเองมีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของได้ แม้ภายหลังโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ทายาทและนาย อ. ไปตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกของนาย ต. นาย อ. ได้มีหนังสือไปถึงโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของนาย ต. ที่จะต้องนำไปแบ่งปันแก่ทายาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เพราะจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต. การโต้แย้งตามหนังสือของนาย อ. ดังกล่าวจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องเกิน 2 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ทายาทฟ้องแย่งทรัพย์มรดกเดิม ศาลถือเป็นฟ้องซ้ำเมื่อมีคำพิพากษาผูกพันทายาทอื่นแล้ว
แม้โจทก์ทั้งสี่จะไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน แต่มูลแห่งสิทธิอันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้อง คือ สิทธิแห่งทายาทในการรับมรดกแทนที่บิดามารดาของตน เรียกร้องเอาที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเดียวกันของผู้ตายเช่นเดียวกับโจทก์ในคดีก่อน จึงเป็นกรณีทายาทมีสิทธิรับมรดกแทนที่ทายาทในลำดับเดียวใช้สิทธิแห่งความเป็นทายาทของผู้ที่ตนเข้าแทนที่ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดก ถือว่าเป็นการฟ้องในนามทายาททุกคน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสามชนะคดี คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความรวมถึงทายาทที่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ทายาทนั้นเช่นเดียวกับคู่ความด้วย คำฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ตายมีสิทธิจัดการได้ ทรัพย์มรดกตกแก่ผู้จัดการมรดก
จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาดังกล่าวก็หาใช่จะไม่มีผลใด ๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติ มาตรา 94 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด หรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งปันแก่ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินซื้อด้วยเงินคนต่างด้าว ถือเป็นทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องขอโอน
แม้ผู้ตายเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน ถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาดังกล่าวก็หาใช่จะไม่มีผลใดๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติ มาตรา 94 แห่ง ป.ที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดหรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งปันแก่ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5537/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเป็นทรัพย์มรดก ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวเจ้ามรดก
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 106 บัญญัติว่า "ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบให้บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อผู้อนุญาตเห็นว่าผู้รับโอนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 แล้วแต่กรณี ให้อนุญาตโดยเร็ว" และมาตรา 107 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตตายหรือเป็นคนสาบสูญ และทายาทมีความประสงค์จะดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบต่อไป ให้ทายาทซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 21 หรือในกรณีที่มีทายาทหลายคน ให้ทายาทด้วยกันนั้นตกลงตั้งทายาทคนหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 21 ยื่นคำขอรับโอนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับใบอนุญาตตายหรือสาบสูญหรือภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตขยายเวลาตามความจำเป็น..." แสดงให้เห็นว่าผู้รับใบอนุญาตอาจโอนโรงเรียนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการโอนระหว่างที่ตนมีชีวิต หรือการโอนทางมรดกเมื่อตนถึงแก่ความตายแล้ว และสิทธิของผู้รับใบอนุญาตซึ่งได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวไม่ระงับหรือหมดสิ้นไปในทันทีที่ผู้รับใบอนุญาตนั้นถึงแก่ความตาย สิทธิดังกล่าวจึงไม่เป็นสิทธิที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้รับใบอนุญาตโดยแท้ ส่วนการที่ทายาทผู้ยื่นคำขอเพื่อรับโอนโรงเรียนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 21 เป็นเรื่องที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ กำหนดไว้เพื่อประโยชน์ในการให้บริการทางการศึกษา ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมในอันที่จะให้ผู้รับโอนมีทั้งความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมในมาตรฐานเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาต จึงไม่มีผลกระทบต่อสภาพแห่งสิทธิการเป็นผู้รับใบอนุญาตที่ทายาทอาจขอรับโอนได้ตาม มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ดังนั้นการได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ส. จึงไม่เป็นการเฉพาะตัวของเจ้ามรดก สิทธิในการรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเป็นทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4632/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าและความขัดแย้งในการจัดการทรัพย์มรดก
การจัดการมรดกมีความเนิ่นช้ามากว่า 20 ปี ย่อมเกิดความเคลือบแคลงในหมู่ทายาทผู้มีส่วนได้เสีย ก่อนคดีนี้ทายาทผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งไปร้องต่อศาลขอให้ถอนผู้ร้องทั้งสองจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้จะมีการถอนคำร้องดังกล่าวไป แต่ก็มีเงื่อนไขให้ผู้ร้องร่วมเข้าเป็นผู้จัดการมรดกด้วย แสดงถึงความไม่ไว้ใจในการจัดการมรดกที่ผ่านมาของผู้ร้องทั้งสอง ดังนั้น การแต่งตั้งผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นเข้าร่วมจัดการมรดกอาจช่วยให้การจัดการมรดกลุล่วงไปได้ด้วยดี เนื่องจากต่างฝ่ายต่างมุ่งรักษาผลประโยชน์ของตน
ฎีกาที่ว่าผู้ร้องร่วมปกปิดทรัพย์มรดก เป็นการกระทำการไม่สุจริตนั้นก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์ไปในทางเสียหาย เพราะผู้ร้องร่วมไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกในอันที่จะไปขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นของตน การถือโฉนดที่ดินไว้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดแก่ผู้ร้องร่วม ส่วนข้อที่ว่ามีผู้ไปขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดกก็เป็นเรื่องของบุคคลภายนอกที่บุกรุกแล้วอ้างสิทธิโดยชอบของตนไม่ปรากฏว่าผู้ร้องร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกเป็นเรื่องของส่วนรวม เพราะทุกคนต่างได้รับผลประโยชน์หากชนะคดี ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องร่วมจะต้องรับผิดชอบเพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดก การรับฟังพยานหลักฐาน และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา
กรณีห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร หมายถึงกรณีที่จำต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเพื่อพิสูจน์ความจริงตามข้ออ้างเกี่ยวกับสิทธิที่ใช้เป็นหลักในการฟ้องคดี แต่ในคดีนี้โจทก์ทั้งห้าฟ้องอ้างสิทธิความเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกนาย ก. โดยจำเลยจดทะเบียนนิติกรรมในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินทรัพย์มรดกไว้แทนโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกส่วนของตนซึ่งจำเลยถือครองไว้แทนคืนได้ กรณีมิใช่การใช้สิทธิฟ้องคดีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และส่วนข้ออ้างว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แบบบันทึกการสอบสวนการโอนมรดกเป็นเอกสารมหาชนนั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นเอกสารมหาชนซึ่งตามมาตรา 127 แห่ง ป.วิ.พ. ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะต้องรับฟังตามนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้านำพยานเข้าสืบหักล้างถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยมานั้นไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ปัญหาว่าฟ้องขาดอายุความหรือไม่ จะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินมรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่งปันไว้แทนโจทก์ทั้งห้าหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าฟ้องโจทก์ทั้งห้าขาดอายุความหรือไม่ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้าคนละหนึ่งส่วน คิดเป็นเงินรวม 319,000 บาท แม้โจทก์ทั้งห้าจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้ จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เกินคำฟ้องคดีแบ่งเงินกองกลาง เพราะที่ดินเป็นทรัพย์มรดก ไม่ใช่เงินกองกลางครอบครัว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งเงินกองกลางของครอบครัวที่โจทก์ร่วมกับพี่น้องหามาได้ร่วมกัน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ซึ่งเป็นมรดกของบิดาในฐานะผู้จัดการมรดกแล้ว นำไปซื้อฝากที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์ ถือว่าจำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวแทนพี่น้อง รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ขอแบ่งส่วนที่ดินได้ จึงเป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
of 49