คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้ในศาล: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
จำเลยทำยอมชำระเงินแก่โจทก์ในศาล โดยมีผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามยอมนั้นด้วย ดังนี้ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามยอม โจทก์ย่อมบังคับยึดทรัพย์ของผู้ร้องชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้ในศาล ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด
จำเลยทำยอมชำระเงินแก่โจทก์ในศาล โดยมีผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามยอมนั้นด้วย ดังนี้ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามยอม โจทก์ย่อมบังคับยึดทรัพย์ของผู้ร้องชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือทวงหนี้ไม่ใช่การผ่อนเวลาชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิด
สัญญากู้กำหนดใช้ต้นเงินคืนภายในวันที่ 25 กันยายน จนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม แล้วผู้ให้กู้จึงมีหนังสือถึงผู้กู้ ความว่า ผู้ให้กู้ต้องการใช้เงินที่ให้กู้ไปนั้นโดยด่วน ให้ผู้กู้รีบนำไปใช้ให้ภายในวันที่ 15 ตุลาคม นั้น หนังสือนี้เป็นหนังสือทวงหนี้โดยกำหนดวันให้นำเงินไปชำระ ไม่ใช่เรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: การทวงหนี้และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ตามสัญญากู้ที่กำหนดเวลาชำระไว้แน่นอน คือ ภายในวันที่ 25 กันยายน 2500 เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระโจทก์ไม่ได้ทวงถามจำเลย แต่กลับมีหนังสือลงวันที่ 1 ตุลาคม 2500 ถึงลูกหนี้ให้นำเงินมาชำระภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2500 ดังนี้ หนังสือนั้นเป็นหนังสือทวงหนี้บอกกล่าวกำหนดวันให้นำเงินมาชำระ ไม่มีข้อความกล่าวถึงเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ จึงเป็นเพียงเรื่องที่ผู้กู้ผิดนัดและผู้ให้กู้ไม่ฟ้องร้องทันทีเท่านั้นหาใช่เป็นเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่
การที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้มิได้บรรยายในฟ้องที่ฟ้องลูกหนี้ผู้กู้ว่าจะฟ้องผู้ค้ำประกันในภายหลังนั้น ไม่มีผลให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด ผู้ค้ำประกันจะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อสัญญาค้ำประกันระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยหลังพิทักษ์ทรัพย์: ยังคงเป็นหนี้ แม้ขอรับชำระในคดีล้มละลายไม่ได้ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับกฎหมายพิเศษมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้เหมือนคดีแพ่งสามัญ มิใช่บทบังคับกฎหมายทั่วไปว่าในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิใด ๆ เรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ฉะนั้นดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังคงมีสภาพเป็นหนี้อยู่ แต่จะเรียกร้องกันในคดีแพ่งสามัญได้เพียงไร ต้องพิจารณาตามบทบังคับของกฎหมายทั่วไป
ผู้ค้ำประกันซึ่งทำสัญญาผูกพันตนโดยไม่จำกัดความรับผิดนั้น ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วแทนลูกหนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีผู้ค้ำประกันตามคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: ศาลบังคับได้แม้ยังมิได้สั่งรับชำระหนี้ทุกราย
คำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลสั่งเห็นชอบแล้ว มีข้อความสำคัญว่า "ลูกหนี้ยอมชำระบรรดาหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วเป็นจำนวนร้อยละสิบ มีกำหนดชำระงวดเดียวภายในหกเดือนนับแต่วันศาลสั่งเห็นชอบในการประนอมหนี้" ซึ่งในขณะศาลพิจารณาการประนอมหนี้ก็มีหนี้หลายรายที่ศาลสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้ว ฉะนั้นเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจขอต่อศาลให้บังคับผู้ค้ำประกันให้ปฏิบัติตามข้อความที่ประนอมหนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องรอจนกว่าศาลสั่งคำขอรับชำระหนี้เสร็จสิ้นถึงหนี้งรายสุดท้ายเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าและการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันก่อนครบกำหนด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าอาคารและที่ดินของโจทก์มีข้อความว่า เช่ามีกำหนด 1 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ถ้าไม่มีการทำสัญญาเช่ากันใหม่ ผู้เช่าจะต้องขนย้ายออกจากที่เช่าภายใน 30 วัน ถ้าไม่ขนย้ายออกไปจะต้องเสียค่าเสียหายเป็นรายวัน ๆ ละ 100 บาท ให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งโจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ในการที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังนี้ จำเลยที่ 2 จะบอกเลิกการค้ำประกันเมื่อครบกำหนด 1 ปี โดยไม่ยอมรับผิดในค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระเพราะไม่ออกไปจากที่เช่าไม่ได้ เพราะรูปคดีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699
แม้จะระบุไว้ในสัญญาเช่าว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ผู้เช่าไม่ออกไป จะต้องเสียค่าเสียหายผู้ให้เช่าวันละ 200 บาทก็ดี เมื่อศาลเห็นว่าค่าเสียหายสูงไป ก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าตามควรแก่พฤติการณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้เบิกเกินบัญชี ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แม้มีการนำเงินเข้าบัญชี
จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์แล้ว จำเลยก็มีสิทธิที่จะเบิกเงินไปเป็นคราว ๆ ภายในวงเงินและเวลาที่ตกลงกัน เมื่อจำเลยนำเงินเข้าบัญชีในธนาคาร ๆ ก็นำไปหักจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้ และจำเลยก็อาจถอนเงินไปอีก เพราะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่หมดอายุ แต่ถ้าจำเลยประสงค์จะนำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้เงินกู้ จำเลยก็ต้องแสดงความจำนงนั้นให้ธนาคารทราบ และจะสั่งจ่ายเงินจำนวนนั้นไปอีกไม่ได้ ถือเป็นวิธีปฏิบัติในการฝากเงินเข้าบัญชีและการเบิกเงินเกินบัญชีตามปกติ ฉะนั้น หากจำเลยยังมีหนี้ค้างชำระในวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่อีก ผู้ค้ำประกันของจำเลยก็ต้องรับผิดในเงินจำนวนนั้น การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีสั่งจ่ายภายหลังแต่วันครบกำหนดสัญญากู้นั้น หาถือว่าเป็นการชำระหนี้หรือเบิกเงินเกินบัญชีอันจะทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดชอบ หรือรับผิดนอกเหนือไปอีกแต่ประการใดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้เบิกเกินบัญชี การนำเงินเข้าบัญชีถือเป็นการชำระหนี้ได้หรือไม่ และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์แล้ว จำเลยก็มีสิทธิที่จะเบิกเงินไปเป็นคราวๆ ภายในวงเงินและเวลาที่ตกลงกัน เมื่อจำเลยนำเงินเข้าบัญชีในธนาคาร ธนาคารก็นำไปหักจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้ และจำเลยก็อาจถอนเงินไปอีก เพราะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่หมดอายุ แต่ถ้าจำเลยประสงค์จะนำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้เงินกู้ จำเลยก็ต้องแสดงความจำนงนั้นให้ธนาคารทราบ และจะสั่งจ่ายเงินจำนวนนั้นไปอีกไม่ได้ ถือเป็นวิธีปฏิบัติในการฝากเงินเข้าบัญชีและการเบิกเงินเกินบัญชีตามปกติ ฉะนั้น หากจำเลยยังมีหนี้ค้างชำระในวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่อีก ผู้ค้ำประกันของจำเลยก็ต้องรับผิดในเงินจำนวนนั้น การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีและสั่งจ่ายภายหลังแต่วันครบกำหนดสัญญากู้นั้น หาถือว่าเป็นการชำระหนี้หรือเบิกเงินเกินบัญชีอันจะทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความผิด หรือรับผิดนอกเหนือไปอีกแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คล่วงหน้ามิใช่การผ่อนเวลาชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์โดยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยทำสัญญากู้ยืมให้โจทก์ไว้ และมีจำเลยมี 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งได้มอบเช็คของจำเลยที่ 1 ลงวันล่วงหน้าให้โจทก์ยึดถือไว้ด้วย แต่ในสัญญากู้ยืมมิได้กำหนด เวลาชำระหนี้กันไว้ ดังนี้ เช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้โจทก์ยึดถือไว้นั้น หาได้เป็นการตกลงให้เป็นการกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอนขึ้นแต่อย่างไรไม่ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะได้ออกเช็คใหม่ลงวันล่วงหน้าต่อไปอีกให้โจทก์ยึดถือไว้แทนเช็คฉบับเก่า ก็ไม่เป็นการที่เจ้าหน้าที่ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แต่อย่างใด
of 58