คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุบัติเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะหลังคู่กรณีเสียชีวิตระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายเพราะเหตุละเมิด ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2556 หน้าที่ในการอุปการะของผู้ตายในฐานะสามีของโจทก์ที่มีต่อโจทก์จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ตามที่โจทก์เรียกร้องเป็นเวลา 7 ปี นับแต่วันทำละเมิดคือ วันที่ 17 มกราคม 2554 จึงมากเกินสมควร กรณีมีเหตุสมควรกำหนดค่าขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ใหม่ตามส่วนที่โจทก์เรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4491/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการจอดรถกีดขวางการจราจรและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรทางบก ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบ
โจทก์ฟ้องว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 ที่จอดรถไว้ในช่องเดินรถช่องทางด่วนซ้ายสุดโดยไม่เปิดไฟฉุกเฉิน ไม่แสดงเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรอื่นใดไว้บริเวณท้ายรถ ซึ่งตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61 บัญญัติไว้ว่า ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภทลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้นำสืบพยานหลักฐานใดที่จะแสดงให้เป็นไปตามข้ออ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ดังกล่าวแล้ว รวมทั้งไม่นำสืบหักล้างให้เห็นได้ว่า ย. กระทำผิดโดยมีส่วนประมาทด้วยเช่นไร กรณีจึงต้องรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบมาทั้งหมด จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายรถยนต์จากอุบัติเหตุ: การประเมินความเสียหายสิ้นเชิง และสิทธิเรียกร้องของผู้รับประกันภัย
ค่าประเมินความเสียหายของรถเป็นค่าใช้จ่ายในการตีราคาวินาศภัยซึ่งโจทก์ผู้รับประกันภัยต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยจึงไม่อาจเรียกร้องเงินดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 878

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การแบ่งความรับผิดและขอบเขตความรับผิดของเจ้าของรถ
การวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งสำหรับคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 และเมื่อคดีอาญารับฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตาม ปอ. มาตรา 390 คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ที่ 2 ว่าเหตุรถยนต์เฉี่ยวชนกันเกิดจากโจทก์ที่ 2 มีส่วนประมาทด้วยเมื่อความประมาทเกิดจากโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับจึงต้องตกเป็นพับ
เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลและเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นคู่ความในคดี โจทก์ที่ 1 ยังคงกล่าวอ้างได้ว่าโจทก์ที่ 2 มิได้มีส่วนประมาทในเหตุรถยนต์เฉี่ยวชนกัน แต่กรณีรถยนต์เฉี่ยวชนกันเป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ที่ 1 ทั้งนี้ ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12980/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ความเสียหายเครื่องยนต์จากการซ่อมที่ไม่ระมัดระวัง มิใช่ความเสียหายจากอุบัติเหตุ
จำเลยเป็นผู้ซ่อมรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยซึ่งประสบอุบัติเหตุได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยซ่อมเสร็จและส่งมอบรถยนต์ให้ผู้เอาประกันภัยแล้ว แต่เมื่อคนขับรถของผู้เอาประกันภัยนำรถไปขับปรากฏว่าเครื่องยนต์ดับและเกิดความเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยไม่ใช้ความระมัดระวังในการซ่อมรถยนต์ให้เพียงพอ ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 7 ระบุว่า การยกเว้นความเสียหายต่อรถยนต์ การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง... 7.2 การแตกหักของเครื่องจักรกลไกของรถยนต์ หรือการเสีย หรือการหยุดเดินของเครื่องจักรกลไก หรือเครื่องไฟฟ้าของรถยนต์อันมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ ดังนั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าการที่เครื่องยนต์ของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย เกิดจากการที่จำเลยไม่ใช้ความระมัดระวังในการซ่อม เท่ากับเป็นการอ้างว่าความเสียหายไม่ได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ซึ่งต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 7.2 ความเสียหายของเครื่องยนต์ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัย การที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปจึงไม่ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยที่จะมาฟ้องเรียกเอาจากจำเลย ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้กล่าวอ้างขึ้นในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10942-10943/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของคู่สัญญาเช่าและการชดใช้ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดของผู้เช่าและผู้ให้เช่า
แม้จำเลยที่ 2 จะแปรรูปเป็นบริษัทไปแล้วแต่มาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติก็ยังกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เช่นเดิม เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การยืนยันมาตั้งแต่แรกว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 4 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจึงเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดไม่ได้ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง
ในการทำสัญญาเช่า การที่จำเลยร่วมผู้ให้เช่าตกลงกับจำเลยที่ 2 ผู้เช่าว่าจำเลยร่วมตกลงยอมรับผิดต่อผู้โดยสารในรถยนต์ที่นำมาให้เช่าและบุคคลภายนอกในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดขับรถยนต์ที่เช่าไปก่อความเสียหายขึ้น เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 ไม่ถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมไม่มีผลบังคับตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 และไม่ใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนในอันจะถือว่าเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นในครั้งนี้ เมื่อเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่ว่าจ้างโดยขับรถยนต์กระบะที่เช่าไปก่อความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองได้ กรณีไม่ใช่เป็นสัญญาเฉพาะตัวโดยตรง ดังนั้น แม้จำเลยร่วมไม่ใช่ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในอันที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย แต่ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 อาจฟ้องจำเลยร่วมเพื่อใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเข้ากรณี ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ก ที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหาย หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระให้จำเลยร่วมและจำเลยที่ 3 ชำระแทนเป็นการไม่ชอบเนื่องจากกรณีไม่ใช่ผู้ค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10884/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การรับช่วงสิทธิ และการอุทธรณ์ประเด็นความรับผิดและค่าเสียหาย
คดีก่อนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้เอาประกันภัยเป็นโจทก์ที่ 3 ฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนที่เกินจากที่โจทก์คดีนี้ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งโจทก์คดีนี้มิใช่คู่ความในคดีก่อน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่อุทธรณ์ว่า รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเสียหายเล็กน้อย ความเสียหายเกิดจากรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยมีการติดตั้งระบบแก๊สที่ผิดกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบนั้น เมื่อตามคำให้การของจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีว่า ความเสียหายเกิดจากรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยมีการติดตั้งระบบแก๊สที่ผิดกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย การที่จำเลยกลับมาอุทธรณ์ดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10534/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องพิจารณาความประมาทของทั้งสองฝ่ายตามกฎหมายแพ่ง
ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติไว้ว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในคดีส่วนอาญาคงมีเพียงว่า จำเลยกระทำโดยประมาท ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่ และใครประมาทมากกว่ากันอันเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยและจำเลยได้อุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ และบทบัญญัติอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งในกรณีต่างฝ่ายต่างประมาททำให้เกิดมูลหนี้ละเมิดขึ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 442 วางหลักให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งการที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนแค่ไหน เพียงใดนั้น ศาลย่อมที่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่นำสืบมาว่าฝ่ายจำเลยหรือผู้ตายประมาทมากน้อยกว่ากันอย่างไรและเพียงใดด้วย จึงจะเป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10008/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลระงับหนี้
จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์ที่มี อ. เป็นคนขับและเอาประกันภัยไว้กับโจทก์เป็นเหตุให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุ อ. และจำเลยที่ 1 ไปพบพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจและทำบันทึกเกี่ยวกับรถเฉี่ยวกันมีข้อความส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่า "อ. ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจาก ป. (ป. คือจำเลยที่ 1) แต่อย่างใด" ซึ่งข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนในตัว เมื่อพิจารณาประกอบพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น ปรากฏว่า อ. ทราบก่อนทำเอกสารแล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถประมาทและเป็นฝ่ายกระทำละเมิดซึ่งต้องรับผิดในเรื่องค่าเสียหาย แต่ อ.ยังคงตกลงยินยอมที่จะไม่เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนใด ๆ จากจำเลยที่ 1 และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน เช่นนี้เป็นการสละสิทธิเรียกร้องเพื่อระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปโดยยอมผ่อนผันให้แก่กัน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งเป็นผลให้มูลหนี้ละเมิดจากการที่รถเฉี่ยวชนกันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์ไม่อาจรับช่วงสิทธิของ อ. ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องค่าเสียหายรถเฉี่ยวชนกันจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10008/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ถือเป็นการระงับหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์บุตรจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนรถยนต์ที่ อ. ขับซึ่งเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย พนักงานสอบสวนทำบันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า อ. ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด โดยคู่กรณีลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน จึงเป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไป มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เป็นผลให้ อ. ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ที่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้ อ. เป็นการปฏิบัติตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้จำกัดสิทธิ์ อ. หรือผู้เสียหายที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดระงับไป
of 47