คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิ่มโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยเจตนาและพยาบาท ฎีกาเพิ่มโทษจำคุกตลอดชีวิต
ทะเลาะวิวาทแลมีคนได้ยินคำพูดอาฆาฎวิธีพิจารณาอาญาอำนาจศาลที่จะเพิ่มโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาเพิ่มโทษจำคุกในคดีอากรการพนัน
อำนาจศาลฎีกาตัดสินเพิ่มโทษได้วิธีพิจารณาอาญา ( เทียบฎีกาที่ 529/2469 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9087/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยซ้ำ โดยพิจารณาจากประวัติอาชญากรรมและการกระทำความผิดซ้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี 15 เดือน ฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้าย และร่วมกันทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 158/2549 ของศาลชั้นต้น จำเลยกระทำความผิดในคดีก่อนในขณะที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี และมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ทั้งศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกไม่น้อยกว่าหกเดือน และภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีดังกล่าว (จำเลยพ้นโทษวันที่ 1 กันยายน 2552) จำเลยกลับมากระทำผิดในคดีนี้ ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายซ้ำในอนุมาตราเดียวกันอีก และมิใช่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการเพิ่มโทษจำเลยมาแล้ว เมื่อความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 93 ได้ ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 93 โดยไม่ได้ขอตาม ป.อ. มาตรา 92 มาด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8384/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงแชร์ทองคำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดกรรมเดียวหรือไม่ และการเพิ่มโทษโดยมิชอบ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ในช่วงเดือนเมษายน 2556 จำเลยมาที่บ้านโจทก์ร่วมและพูดชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามให้เล่นแชร์ทองคำกับจำเลย โดยบอกว่าจะได้ผลตอบแทนในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ลงเล่นแชร์ทองคำภายใน 1 ถึง 2 วัน แต่ในวันดังกล่าวโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามยังไม่สนใจ หลังจากนั้นจำเลยพูดชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนให้เล่นแชร์ทองคำกับจำเลยอีกหลายครั้งจนกระทั่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามตกลง โดยโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยผ่านทางบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วม ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ได้เงินไปจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสาม โดยจำเลยมีเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน เป็นความผิดสำเร็จสำหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดรวม 4 กรรม ส่วนที่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามนำเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยหลายครั้งหลายคราวตามฟ้องนั้น เป็นเพียงผลสืบเนื่องจากการกระทำของจำเลยในครั้งแรก โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน โจทก์และโจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 2 ปี จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6790/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษยาเสพติด: โจทก์ต้องพิสูจน์ประวัติโทษจำเลย แม้จำเลยรับสารภาพ
แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 มิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ที่โจทก์ต้องนำสืบในข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์อ้างเพื่อขอเพิ่มโทษตามฟ้องนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การเพิ่มโทษจำเลยอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ได้แถลงรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงต้องนำสืบให้ปรากฏถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น คำให้การของจำเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ตลอดข้อกล่าวหา เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหาในฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยรับในเรื่องการเพิ่มโทษ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์อ้างเพื่อขอเพิ่มโทษ เช่นนี้แล้วไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 97 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดลหุโทษ ไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 64 บัญญัติว่า "ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และ ป.อ. มาตรา 102 ที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยกระทำความผิดบัญญัติว่า "ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน" ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่บัญญัติว่า "ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ทั้ง ป.อ. มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 อันรวมถึง มาตรา 102 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 102 ที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมาปรับแก่คดีนี้ด้วย ดังนี้ ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถจึงเป็นความผิดลหุโทษ เมื่อ ป.อ. มาตรา 94 บัญญัติว่า "ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีนั้น ไม่ว่าจะได้กระทำในครั้งก่อนหรือครั้งหลัง ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตามความในหมวดนี้" ซึ่งหมายความว่า ความผิดลหุโทษไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษในการกระทำความผิดอีกตาม ป.อ. มาตรา 92 เมื่อ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 94 มาปรับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 17 ด้วยเช่นกัน กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถตาม ป.อ. มาตรา 92 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8972/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ กรณีผู้ต้องหาเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน
ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง อันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เท่ากับจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ด้วย เพียงแต่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเท่านั้น เมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีกในระหว่างที่ยังต้องรับโทษอยู่หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง" และศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย กรณีจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยจากคดีเก่า ต้องมีการสืบพยานยืนยันตัวบุคคล โจทก์มีหน้าที่นำสืบ
ที่ ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เป็นบทบัญญัติในการเริ่มต้นพิจารณาคดีของศาลเพื่อให้จำเลยเข้าใจฟ้องและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่และถูกต้อง มิใช่หมายความรวมถึงการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องเพิ่มโทษจำเลยฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1390/2544 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์หรือไม่ ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบ ทั้งข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องก่อนถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเวลา 1 เดือน 12 วัน โจทก์ย่อมสามารถแถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอสืบพยานในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้แถลงต่อศาลเพื่อขอสืบพยานในข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติดซ้ำ หากกระทำผิดภายใน 5 ปีหลังพ้นโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลนี้ ให้ลงโทษจำคุก 3 ปี และปรับ 300,000 บาท ข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1855/2550 พิพากษาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จำเลยพ้นโทษเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่พ้นโทษในคดีดังกล่าว จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขึ้นอีก แม้ฟ้องโจทก์ดังกล่าวระบุว่าจำเลยพ้นโทษเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ก็ตาม แต่ก็เป็นที่ชัดแจ้งว่าที่โจทก์บรรยายฟ้องดังกล่าวนั้น เป็นความผิดพลาดในการพิมพ์เนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 ให้จำคุก 3 ปี และปรับ 300,000 บาท จะฟังว่าจำเลยพ้นโทษเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 หาได้ไม่ ทั้งจำเลยก็ให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ แสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้และเข้าใจมาตลอดว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1855/2550 ของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1855/2550 ของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และจำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ กรณีจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติดซ้ำ โดยพิจารณาจากระยะเวลาหลังพ้นโทษคดีก่อนหน้า
จำเลยกระทำผิดวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 โจทก์บรรยายฟ้องว่าก่อนคดีนี้เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลนี้ ให้ลงโทษจำคุก 3 ปี และปรับ 300,000 บาท ข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยกระทำความผิดคดีนี้อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขึ้นอีก แม้ฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยพ้นโทษเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ก็ตาม แต่ก็เป็นที่ชัดแจ้งว่าเป็นความผิดพลาดในการพิมพ์ ทั้งจำเลยก็ให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ แสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้และเข้าใจมาตลอดว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้ภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ กรณีจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97
of 50