พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืน: สิทธิเรียกร้องของผู้เช่า แม้ไม่ได้ระบุในสัญญาเช่า และอำนาจฟ้องการทางพิเศษ
หลักเกณฑ์ของคณะกรรมการปรองดองที่กำหนดให้ค่าทดแทนสำหรับค่าเช่าและเงินกินเปล่าเพราะเหตุต้องออกจากที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างก่อนสัญญาเช่าระงับ เฉพาะค่าเช่าและเงินกินเปล่าที่ได้จดทะเบียนกับระบุไว้ในสัญญาเช่านั้น เป็นเพียงการวางหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนเท่านั้น มิได้ถือเป็นยุติ เมื่อตกลงกันไม่ได้ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนส่วนที่ตนจะได้รับจากเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษให้การทางพิเศษ (กทพ.) มีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษและในข้อ 17 ระบุว่าในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของ กทพ. และเป็นผู้กระทำแทน กทพ. เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2525กำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่ากระทำในฐานะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โจทก์มีอำนาจฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้พื้นที่โดย พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินหากไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29 ให้อำนาจจำเลยที่ 1 เดินสายส่งไฟฟ้า ปักหรือตั้งเสาลงในหรือบนที่ดินของโจทก์ และตัดฟันต้นไม้หรือพืชผลในเขตเดินสายไฟฟ้าได้เมื่อได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถือว่าที่ดินในเขตเดินสายไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 36จึงไม่จำเป็นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้พื้นที่โดย พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดิน แม้มีการเดินสายไฟฟ้าและตัดต้นไม้
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29ให้อำนาจจำเลยที่ 1 เดินสายส่งไฟฟ้า ปักหรือตั้งเสาลงในหรือบนที่ดินของโจทก์ และตัดฟันต้นไม้หรือพืชผลในเขตเดินสายไฟฟ้าได้เมื่อได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถือว่าที่ดินในเขตเดินสายไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 36จึงไม่จำเป็นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเวนคืนที่ดินต้องเป็นราคาตลาด ไม่ใช่ราคาประเมินของกรมที่ดิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ฯ ข้อ 23 วรรคสุดท้าย กำหนดให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษด้วยและ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือ ขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้นถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน บริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทางพิเศษตามราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน พ.ศ. 2524 มิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับการกำหนดราคาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเวนคืนที่ดินต้องเป็นราคาตลาด ไม่ใช่ราคาประเมินกรมที่ดิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290ฯ ข้อ 23 วรรคสุดท้ายกำหนดให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษด้วยและประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้นถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทางพิเศษตามราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน พ.ศ. 2524 มิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับการกำหนดราคาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4647/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนทรัพย์สินที่เหลือจากการเวนคืนและดอกเบี้ยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295
ศาลาพักร้อน โรงปั๊มน้ำ ถนนคอนกรีต และรั้วก่ออิฐฉาบปูนอันเป็นทรัพย์สินที่เหลือจากการเวนคืนเป็นทรัพย์ใช้สอยประจำกับตัวบ้าน ถือเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน เมื่ออาคารบ้านพักถูกเวนคืนทำให้หมดโอกาสที่จะใช้สอยทรัพย์สินที่เหลืออยู่เป็นประจำควบคู่ไปกับตัวบ้านก็ต้องถือว่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือนั้นลดน้อยถอยราคาลงจนไม่เป็นประโยชน์ดังแต่ก่อนหรือสิ้นสภาพลงและไม่มีราคา จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่เหลือนั้นด้วย ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระบุว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับศาลจึงชอบที่จะให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของเงินที่เพิ่มให้แก่โจทก์นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ศาลใช้ราคาซื้อขายจริงใกล้เคียงเป็นเกณฑ์ประเมินค่าทดแทนได้ แม้ราชการประเมินราคาไม่เท่ากัน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497มาตรา 24 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่กรณีที่จะเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไม่ใช่บทบังคับว่าจะต้องเสนอตั้งเสมอไป และในวรรคดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าถ้าไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วจะฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ ส่วนมาตรา 24 วรรคสอง ก็มีความหมายเพียงว่า หากผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไม่เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการภายในกำหนด 6 เดือน ทั้งไม่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลด้วยจึงไม่ถือว่าราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นเงินค่าทดแทน ไม่ใช่ห้ามฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้เคียงกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาด มาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน79 ตารางวา ไม่ มาก เกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ โดยอ้างอิงราคาปานกลางภาษีบำรุงท้องที่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้นำเอาราคาที่ซื้อขายก่อนและหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับที่สุดมาประกอบกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกันในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นเอกชนเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พิจารณาจากราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ หรือราคาปานกลางตาม พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนราคาของทรัพย์สินตามราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้นำเอาราคาที่ซื้อขายก่อนและหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับที่สุดมาประกอบกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกันในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่เพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเอกชนเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เงินกู้ยืมต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม หรือมีการเวนคืน/เพิกถอนเอกสาร
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จำเลยจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653เมื่อได้ความว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งที่มีใจความว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เงินยืมคืนแล้วโดยโจทก์ผู้ให้ยืมลงลายมือชื่อมาแสดง และหนังสือกู้ยืมก็ยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์โดยไม่ได้แทงเพิกถอนว่าได้รับชำระเงินยืมคืนแล้ว จำเลยก็ไม่อาจนำสืบถึงการใช้เงินได้ ใช้เงินกู้ยืมคืนโดยชำระแก่ตัวแทนของผู้ให้ยืม แต่การตั้งตัวแทนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงชื่อตั้งการเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสองดังนี้ แม้ตัวแทนจะออกหลักฐานการรับเงินให้ผู้ยืมไว้ ก็ไม่ผูกพันผู้ให้ยืม