พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สินบริรุณภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อพินัยกรรม
การให้สินบริคณห์โดยเสน่หาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ซึ่งสามีทำได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมของภรรยาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 นั้น ผู้ได้รับการยกให้ต้องมีความสัมพันธ์หรือมีฐานะชอบด้วยกฎหมาย จำเลยผู้รับให้เป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่เป็นการให้ที่ยกเว้นตามมาตรานี้ แต่ไม่ใช่เรื่องโมฆะกรรมหรือโมฆียะเป็นแต่เพียงนิติกรรมที่ทำไปโดยไม่ชอบซึ่งภริยาเพิกถอนได้
สามีทำพินัยกรรมฉบับหลังว่ามิให้พินัยกรรมฉบับแรกที่ยกทรัพย์ให้ภริยาทั้งหมดมีผลกระทบถึงทรัพย์ที่ยกให้ภริยาน้อยไปแล้วดังนี้ ภริยาน้อยได้รับที่ดินส่วนของสามีครึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361,1477
ชายออกเงินซื้อที่ดินยกให้ภริยาน้อย ที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวง มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย
สามีทำพินัยกรรมฉบับหลังว่ามิให้พินัยกรรมฉบับแรกที่ยกทรัพย์ให้ภริยาทั้งหมดมีผลกระทบถึงทรัพย์ที่ยกให้ภริยาน้อยไปแล้วดังนี้ ภริยาน้อยได้รับที่ดินส่วนของสามีครึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361,1477
ชายออกเงินซื้อที่ดินยกให้ภริยาน้อย ที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวง มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับบริษัท ทำให้มติที่ประชุมเป็นโมฆะ
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า "การประชุมวิสามัญจะเรียกประชุมเมื่อใดก็ได้ ในเมื่อคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควร หรือผู้ถือหุ้นรวมกันนับจำนวนหุ้นได้ถึงหนึ่งในห้าของหุ้นทั้งหมด ทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ" ตามข้อบังคับข้อนี้กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะเรียกประชุม มิใช่กรรมการคนใดคนหนึ่งแต่เพียงคนเดียว แม้ว่าผู้ถือหุ้นรวมกันทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ ก็จะต้องทำหนังสือถึงคณะกรรมการ แล้วคณะกรรมการเป็นผู้เรียกประชุม
ปรากฏว่า ม.กรรมการเพียงคนเดียวเป็นผู้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 โดยไม่ได้เสนอคำร้องขอของผู้ถือหุ้นต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับ ในวันประชุม ส.ประธานกรรมการบริษัทจำเลยได้สั่งระงับการประชุม ม.ยอมรับคำสั่งแต่โดยดี แต่แล้วกลับละเมิดคำสั่งได้ดำเนินการประชุมต่อไป ที่ประชุมแต่งตั้ง ท.เป็นประธานของที่ประชุม โดยที่ ท.มิได้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่จะเป็นได้การประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับ คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมครั้งนั้นจึงเป็นคณะกรรมการที่ไม่ชอบ ไม่มีอำนาจบริหารและไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 มติต่าง ๆ ของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 จึงไม่มีผล
ที่คำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 และมติต่าง ๆ ที่ลงไว้ไม่มีผลใช้บังคับ และคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่า โดยผลของการประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 ตกเป็นโมฆะตามกฎหมายและข้อบังคับแล้ว การใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 จึงตกเป็นโมฆะนั้น คำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นการเท้าความถึงเท่านั้น หาได้มุ่งหมายจะให้ศาลพิพากษาว่าการประชุมใหญ่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 และมติเป็นโมฆะไม่ ทั้งคำบรรยายฟ้องก็มิได้บรรยายในทำนองนั้น แท้ที่จริงประสงค์จะให้พิพากษาว่าการใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 ของคำขอท้ายฟ้อง คือการประชุมและมติในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 ตกเป็นโมฆะที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 อีก
ปรากฏว่า ม.กรรมการเพียงคนเดียวเป็นผู้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 โดยไม่ได้เสนอคำร้องขอของผู้ถือหุ้นต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับ ในวันประชุม ส.ประธานกรรมการบริษัทจำเลยได้สั่งระงับการประชุม ม.ยอมรับคำสั่งแต่โดยดี แต่แล้วกลับละเมิดคำสั่งได้ดำเนินการประชุมต่อไป ที่ประชุมแต่งตั้ง ท.เป็นประธานของที่ประชุม โดยที่ ท.มิได้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่จะเป็นได้การประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับ คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมครั้งนั้นจึงเป็นคณะกรรมการที่ไม่ชอบ ไม่มีอำนาจบริหารและไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 มติต่าง ๆ ของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 จึงไม่มีผล
ที่คำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 และมติต่าง ๆ ที่ลงไว้ไม่มีผลใช้บังคับ และคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่า โดยผลของการประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 ตกเป็นโมฆะตามกฎหมายและข้อบังคับแล้ว การใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 จึงตกเป็นโมฆะนั้น คำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นการเท้าความถึงเท่านั้น หาได้มุ่งหมายจะให้ศาลพิพากษาว่าการประชุมใหญ่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 และมติเป็นโมฆะไม่ ทั้งคำบรรยายฟ้องก็มิได้บรรยายในทำนองนั้น แท้ที่จริงประสงค์จะให้พิพากษาว่าการใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 ของคำขอท้ายฟ้อง คือการประชุมและมติในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 ตกเป็นโมฆะที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นไม่ชอบตามข้อบังคับบริษัท ทำให้มติที่ประชุมเป็นโมฆะ
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า 'การประชุมวิสามัญจะเรียกประชุมเมื่อใดก็ได้ในเมื่อคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรหรือผู้ถือหุ้นรวมกันนับจำนวนหุ้นได้ถึงหนึ่งในห้าของหุ้นทั้งหมดทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ' ตามข้อบังคับข้อนี้กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะเรียกประชุม มิใช่กรรมการคนใดคนหนึ่งแต่เพียงคนเดียว แม้ว่าผู้ถือหุ้นรวมกันทำหนังสือขอให้เรียกประชุมวิสามัญ ก็จะต้องทำหนังสือถึงคณะกรรมการ แล้วคณะกรรมการเป็นผู้เรียกประชุม
ปรากฏว่า ม. กรรมการเพียงคนเดียวเป็นผู้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 โดยไม่ได้เสนอคำร้องขอของผู้ถือหุ้นต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับในวันประชุม ส. ประธานกรรมการบริษัทจำเลยได้สั่งระงับการประชุม ม. ยอมรับคำสั่งแต่โดยดี แต่แล้วกลับละเมิดคำสั่งได้ดำเนินการประชุมต่อไป ที่ประชุมแต่งตั้ง ท. เป็นประธานของที่ประชุมโดยที่ ท. มิได้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่จะเป็นได้การประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมครั้งนั้นจึงเป็นคณะกรรมการที่ไม่ชอบไม่มีอำนาจบริหารและไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 มติต่างๆ ของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2513จึงไม่มีผล
ที่คำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 และมติต่างๆ ที่ลงไว้ไม่มีผลใช้บังคับ และคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่า โดยผลของการประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513ตกเป็นโมฆะตามกฎหมายและข้อบังคับแล้ว การใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 จึงตกเป็นโมฆะนั้น คำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นการเท้าความถึงเท่านั้นหาได้มุ่งหมายจะให้ศาลพิพากษาว่าการประชุมใหญ่ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513. และมติเป็นโมฆะไม่ ทั้งคำบรรยายฟ้องก็มิได้บรรยายในทำนองนั้น แท้ที่จริงประสงค์จะให้พิพากษาว่า การใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 ของคำขอท้ายฟ้อง คือการประชุมและมติในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 ตกเป็นโมฆะที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 อีก
ปรากฏว่า ม. กรรมการเพียงคนเดียวเป็นผู้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513 โดยไม่ได้เสนอคำร้องขอของผู้ถือหุ้นต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับในวันประชุม ส. ประธานกรรมการบริษัทจำเลยได้สั่งระงับการประชุม ม. ยอมรับคำสั่งแต่โดยดี แต่แล้วกลับละเมิดคำสั่งได้ดำเนินการประชุมต่อไป ที่ประชุมแต่งตั้ง ท. เป็นประธานของที่ประชุมโดยที่ ท. มิได้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่จะเป็นได้การประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมครั้งนั้นจึงเป็นคณะกรรมการที่ไม่ชอบไม่มีอำนาจบริหารและไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 มติต่างๆ ของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2513จึงไม่มีผล
ที่คำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2513 และมติต่างๆ ที่ลงไว้ไม่มีผลใช้บังคับ และคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่า โดยผลของการประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513ตกเป็นโมฆะตามกฎหมายและข้อบังคับแล้ว การใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 จึงตกเป็นโมฆะนั้น คำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นการเท้าความถึงเท่านั้นหาได้มุ่งหมายจะให้ศาลพิพากษาว่าการประชุมใหญ่ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2513. และมติเป็นโมฆะไม่ ทั้งคำบรรยายฟ้องก็มิได้บรรยายในทำนองนั้น แท้ที่จริงประสงค์จะให้พิพากษาว่า การใดหรือมติใดที่กระทำไปโดยคณะกรรมการของบริษัทจำเลยดังกล่าวในข้อ 1 ของคำขอท้ายฟ้อง คือการประชุมและมติในวันที่ 11 ตุลาคม 2513 ตกเป็นโมฆะที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ก็เป็นการเพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การแจ้งประกาศต้องชัดเจนและผู้รับต้องเป็นบุคคลที่ถูกต้อง
การส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ซึ่งผู้ส่งส่งประกาศให้ชายคนหนึ่งในที่ทำงานของเจ้าหนี้รับไว้โดยไม่ทราบว่าชายนั้นเป็นใคร ไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อของข้าราชการคนใดในที่ทำงานเหมือนลายมือชื่อผู้รับประกาศดังกล่าว เช่นนี้การส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้เป็นการไม่ชอบด้วย ป.ว.พ.มาตรา 76 เจ้าหนี้ร้องขอให้ศาลยกเลิกการประนอมหนี้ได้กรณีเช่นนี้ไม่เข้ากรณีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 36 ซึ่งเป็นเรื่องมติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย หรือมาตรา 157 ซึ่งเป็นเรื่องส่งแจ้งความนัดประชุมโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ภาษีขาดอายุความ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับวินิจฉัย ก็ไม่ทำให้เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าที่โจทก์ต้องชำระแล้วได้แจ้งการประเมินไปยังโจทก์ตามแบบแจ้งจำนวนเงินภาษีการค้าโดยผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดเป็นผู้นำไปส่งที่บ้านโจทก์แต่ไม่พบโจทก์จึงส่งให้คนในบ้านโจทก์รับแทน แม้จะไม่ได้ส่งแบบแจ้งจำนวนเงินภาษีการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ได้รับกับเจ้าพนักงานว่าโจทก์ได้ทราบการประเมินตามที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไปแล้ว จึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินแล้วตั้งแต่วันที่รับกับเจ้าพนักงาน โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 30 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็หามีผลให้อุทธรณ์นั้นกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ เท่ากับโจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินเพื่อโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิใช่กิจการสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์เอกชน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตันและตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนครพ.ศ.2496 มีว่า รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องได้ที่ดินไว้ใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐสำหรับจัดให้มีการดำเนินกิจการ โรงงานเนื้อสัตว์เพื่อจัดให้ประชาชนได้มีเนื้อสัตว์ที่ปราศจากโรค เพียงพอแก่การบริโภคอันเป็นโครงการของการท่าเรือ แต่ตามความจริงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 หาได้มีโครงการจัดทำกิจการโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ การเวนคืนจึงมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และการเวนคืนเพื่อกิจการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นการค้า ก็ไม่เป็นกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคย่อมไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2477 มาตรา 5 ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นกิจการของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ซึ่งเป็นเอกชนการเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชน จะถือว่าการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477มาตรา5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2495มาตรา3 ก็ไม่ได้ดุจเดียวกัน
โจทก์จำเลยได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญมาตั้งแต่ปี 2498 ในระหว่างพิจารณา โจทก์ได้เสนอขอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาว่า พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร พ.ศ.2496 เป็นโมฆะ อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2511 ว่าไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18กันยายน 2511 กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 179, 176 กล่าวคือเมื่อคำหาหรือคำกล่าวอ้างของโจทก์ถูกยกเสียโดยเหตุอนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจพิจารณา และกำหนดอายุความในเรื่องนั้นได้สิ้นสุดลงในระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีอยู่ หรือว่าภายหลังที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดตัดสินคดีอายุความเหลือเวลาไม่ถึงหกเดือน ก็ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำชี้ขาดตัดสินนั้น ฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ
แม้จะได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญแล้วแต่โจทก์ก็ได้เสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในปัญหาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์ด้วยจะถือว่าโจทก์ยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์หาได้ไม่
โจทก์จำเลยได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญมาตั้งแต่ปี 2498 ในระหว่างพิจารณา โจทก์ได้เสนอขอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาว่า พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร พ.ศ.2496 เป็นโมฆะ อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2511 ว่าไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18กันยายน 2511 กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 179, 176 กล่าวคือเมื่อคำหาหรือคำกล่าวอ้างของโจทก์ถูกยกเสียโดยเหตุอนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจพิจารณา และกำหนดอายุความในเรื่องนั้นได้สิ้นสุดลงในระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีอยู่ หรือว่าภายหลังที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดตัดสินคดีอายุความเหลือเวลาไม่ถึงหกเดือน ก็ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำชี้ขาดตัดสินนั้น ฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ
แม้จะได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญแล้วแต่โจทก์ก็ได้เสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในปัญหาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์ด้วยจะถือว่าโจทก์ยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่เคยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ทำให้ข้อเท็จจริงนั้นไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หาได้ไม่ เพราะเมื่อศาลไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แล้วก็ต้องถือว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดของจำเลยที่ 2 ที่จำเลยที่ 2ฎีกานั้น ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความอาญา: การอ้างว่าโจทก์มิได้นำสืบพยานหลักฐาน ต้องระบุรายละเอียด
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยรับรถยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเพียงแต่ระบุว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ แต่มิได้ระบุข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่านำสืบไม่ได้อย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรค 2, 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่กระทบการฟ้องคดี และหลักการเพิ่มลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละตอนกันเมื่อการสอบสวนได้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้การจับกุมจะมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หาทำให้กระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่
คดีที่มีกรณีทั้งต้องเพิ่มโทษและลดโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้นจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 คือเพิ่มก่อนแล้วลดหรือไม่เพิ่ม ไม่ลด ถ้าในที่สุดคงลงโทษจำคุกจำเลยจริงไม่เกิน 20 ปีแล้วก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 51
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า เมื่อลงโทษจำคุกจำเลย20 ปีแล้ว จะเพิ่มโทษจำคุกจำเลยเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจะมีการลดโทษจำเลยด้วย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้
คดีที่มีกรณีทั้งต้องเพิ่มโทษและลดโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้นจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 คือเพิ่มก่อนแล้วลดหรือไม่เพิ่ม ไม่ลด ถ้าในที่สุดคงลงโทษจำคุกจำเลยจริงไม่เกิน 20 ปีแล้วก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 51
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า เมื่อลงโทษจำคุกจำเลย20 ปีแล้ว จะเพิ่มโทษจำคุกจำเลยเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจะมีการลดโทษจำเลยด้วย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการครอบครองแผงลอย - ผู้มีสิทธิเช่าแต่ไม่ใช่เจ้าของฟ้องขับไล่ได้ หากผู้ครอบครองเข้าใช้โดยไม่ชอบ
โจทก์เป็นผู้เช่าแผงลอยแล้วให้น้องสาวและมารดาโจทก์เข้านั่งขายของน้องสาวโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ ได้ให้จำเลยเข้าขายของที่แผงลอยนั้นโดยโจทก์ไม่ทราบเรื่อง และไม่ปรากฏว่าจำเลยขอเช่าจากผู้มีสิทธิให้เช่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของแผงลอย และคนเก็บค่าเช่าจะเก็บค่าเช่าจากจำเลยก็ตาม