พบผลลัพธ์ทั้งหมด 443 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยเจตนา: การพิสูจน์เจตนาและความพร้อมในการกระทำ
องค์พยายามด้วยความพยาบาทมาดหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8076/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมทำร้ายร่างกาย-ข่มขืนใจ: การกระทำเป็นหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยที่ 2 ขึ้นไปบนรถโดยสารประจำทางคันเกิดเหตุโดยพาอาวุธมีดติดตัวไป แม้จะไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายด้วย และเป็นผู้ที่พูดข่มขืนใจให้ผู้เสียหายส่งมอบเสื้อชุดฝึกปฏิบัติงานโรงงานให้ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกโดยตลอดในลักษณะที่พร้อมจะช่วยเหลือกันทันท่วงทีหากมีเหตุให้ต้องช่วยเหลือ ประกอบกับหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ก็หลบหนีไปพร้อมกันกับจำเลยที่ 1 และพวก พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และพวกกระทำความผิด
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณารับฟังได้ว่า หลังจากจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันชกต่อยและใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองกับพวกจึงร่วมกันพูดข่มขืนใจให้ผู้เสียหายส่งมอบเสื้อชุดฝึกปฏิบัติงานโรงงานออกให้ มิฉะนั้นจะฟันผู้เสียหายอีก แสดงให้เห็นว่าในตอนแรกที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองกับพวกยังไม่มีเจตนาที่จะข่มขืนใจผู้เสียหายให้ส่งมอบเสื้อดังกล่าวให้ แต่หลังจากหยุดทำร้ายผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองกับพวกจึงเกิดเจตนาข่มขืนใจผู้เสียหาย เจตนาข่มขืนใจดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณารับฟังได้ว่า หลังจากจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันชกต่อยและใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองกับพวกจึงร่วมกันพูดข่มขืนใจให้ผู้เสียหายส่งมอบเสื้อชุดฝึกปฏิบัติงานโรงงานออกให้ มิฉะนั้นจะฟันผู้เสียหายอีก แสดงให้เห็นว่าในตอนแรกที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองกับพวกยังไม่มีเจตนาที่จะข่มขืนใจผู้เสียหายให้ส่งมอบเสื้อดังกล่าวให้ แต่หลังจากหยุดทำร้ายผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองกับพวกจึงเกิดเจตนาข่มขืนใจผู้เสียหาย เจตนาข่มขืนใจดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11196/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์ต้องมีการพาไป ไม่ใช่แค่ชักชวน การกระทำเพียงชักชวนแต่ผู้เยาว์มาเอง ไม่ถือเป็นความผิดฐานพราก
การพรากเป็นคนละอย่างกับการพูดชักชวนและการพรากมีความหมายคนละอย่างกับการพูดและไม่ใช่การพูด หากจำเลยพูดแต่ไม่ได้พรากหรือพาผู้เสียหายไปจำเลยย่อมไม่ผิดฐานพรากผู้เยาว์ เพราะการพรากผู้เยาว์จะต้องมีการกระทำที่ยิ่งกว่าการพูดชักชวน เนื่องจากการพูดชักชวน เด็กหรือผู้เยาว์ตัดสินใจไม่ไปตามที่พูดชักชวนได้ จนกว่าจะมีการพาเด็กหรือผู้เยาว์ไปตามทิศทางที่พูดชักชวนไว้ จึงจะมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้ สอดคล้องกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่ให้คำนิยามคำว่า พราก หมายถึงต้องมีการกระทำที่พาไป ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ยอมออกจากบ้านมาหาจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการพรากผู้เยาว์แล้ว ข้อเท็จจริงได้ความเพียงจำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายที่ 1 จนผู้เสียหายที่ 1 ใจอ่อนยอมมาหาจำเลยเองโดยจำเลยไม่ได้ไปรับหรือพาผู้เสียหายที่ 1 ออกมาจากบ้าน การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน - ความผิดฐานฉ้อโกงและเช็ค - การกระทำกรรมเดียว - หลักการพิจารณา
หลักที่จะใช้พิจารณาว่าความผิดทั้งสองคดีเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม คือ การกระทำของจำเลยในทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันหรือไม่ ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี ๆ ไป
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงสั่งซื้อสินค้าผ้าจากโจทก์ร่วมในคดีนี้เป็นการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้น โดยการหลอกลวงให้โจทก์ร่วมไว้วางใจเพื่อจะได้ฉ้อโกงสินค้าเป็นจำนวนมากด้วยการอาศัยวิธีการออกเช็คชำระค่าสินค้าแทนเงินสดโดยเจตนาที่จะไม่ใช้เงินตามเช็ค พฤติการณ์การกระทำดังกล่าวจึงเป็นเพียงอุบายของจำเลยกับพวกเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและส่งมอบสินค้าผ้าในคดีนี้ให้จำเลยกับพวก การออกเช็คชำระหนี้คราวแรกจึงเป็นการกระทำอันเป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้การที่จำเลยออกเช็คจำนวน 11 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมจะกระทำขึ้นภายหลังจากจำเลยกับพวกได้รับสินค้าผ้าจากโจทก์ร่วมและออกเช็คคราวแรกให้โจทก์ร่วมแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการออกเช็คแทนเช็คฉบับเดิมที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องและแทนที่การออกเช็คที่เป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงตลิ่งชันในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแขวงตลิ่งชัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนที่โจทก์ร่วมฎีกาอ้างว่า ภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีนี้จำเลยได้อ้างคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลแขวงตลิ่งชัน ทำให้ศาลแขวงตลิ่งชันพิพากษายกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เพราะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาบังคับแก่กรณีนี้นั้น เห็นว่า ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ร่วมยังคลาดเคลื่อนอยู่เพราะบทบัญญัติในมาตรา 39 (4) แห่ง ป.วิ.อ. เป็นเรื่องฟ้องซ้ำ ส่วนบทบัญญัติในมาตรา 173 วรรคสอง (1) แห่ง ป.วิ.พ. เป็นเรื่องฟ้องซ้อน เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อ ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติเรื่องฟ้องซ้อนไว้โดยเฉพาะ จึงนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องซ้อนใน ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2553)
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงสั่งซื้อสินค้าผ้าจากโจทก์ร่วมในคดีนี้เป็นการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้น โดยการหลอกลวงให้โจทก์ร่วมไว้วางใจเพื่อจะได้ฉ้อโกงสินค้าเป็นจำนวนมากด้วยการอาศัยวิธีการออกเช็คชำระค่าสินค้าแทนเงินสดโดยเจตนาที่จะไม่ใช้เงินตามเช็ค พฤติการณ์การกระทำดังกล่าวจึงเป็นเพียงอุบายของจำเลยกับพวกเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและส่งมอบสินค้าผ้าในคดีนี้ให้จำเลยกับพวก การออกเช็คชำระหนี้คราวแรกจึงเป็นการกระทำอันเป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้การที่จำเลยออกเช็คจำนวน 11 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมจะกระทำขึ้นภายหลังจากจำเลยกับพวกได้รับสินค้าผ้าจากโจทก์ร่วมและออกเช็คคราวแรกให้โจทก์ร่วมแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการออกเช็คแทนเช็คฉบับเดิมที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องและแทนที่การออกเช็คที่เป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงตลิ่งชันในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแขวงตลิ่งชัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนที่โจทก์ร่วมฎีกาอ้างว่า ภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีนี้จำเลยได้อ้างคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลแขวงตลิ่งชัน ทำให้ศาลแขวงตลิ่งชันพิพากษายกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เพราะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาบังคับแก่กรณีนี้นั้น เห็นว่า ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ร่วมยังคลาดเคลื่อนอยู่เพราะบทบัญญัติในมาตรา 39 (4) แห่ง ป.วิ.อ. เป็นเรื่องฟ้องซ้ำ ส่วนบทบัญญัติในมาตรา 173 วรรคสอง (1) แห่ง ป.วิ.พ. เป็นเรื่องฟ้องซ้อน เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อ ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติเรื่องฟ้องซ้อนไว้โดยเฉพาะ จึงนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องซ้อนใน ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผลการกระทำของทนายความ แม้ความผิดพลาดเกิดจากทนาย แม้จำเลยไม่ได้กระทำเอง
แม้ความบกพร่องในการยื่นฎีกาเกิดจากทนายความของจำเลย มิได้เกิดจากตัวจำเลย แต่เมื่อจำเลยแต่งตั้งทนายความแล้วก็ต้องรับผลที่เกิดจากการกระทำของทนายจำเลย มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็จะเลือกเอาเฉพาะการกระทำของทนายจำเลยที่เป็นประโยชน์และปฏิเสธส่วนที่เป็นโทษโดยอ้างความบกพร่องของทนายจำเลยซึ่งจะทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่บรรลุเป้าประสงค์ เมื่อทนายจำเลยยื่นฎีกาเกินกำหนดที่ขอขยาย จึงไม่อาจรับฎีกาของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส: การกระทำร่วมกันและเจตนาในการทำร้าย
จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันทำร้ายโจทก์ร่วมต่อเนื่องกัน เมื่อ ร. พวกของจำเลยนำมีดหัวตัดที่นำติดตัวมาฟันโจทก์ร่วมจนเป็นอันตรายสาหัส จำเลยทั้งสามต้องรับผลในสิ่งที่ตนเองกับพวกกระทำลงไป จะอ้างว่ามีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายเท่านั้นหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายสาหัส จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) ประกอบมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดหลายกรรมต่างกันในคดีจัดหางาน แม้จะกระทำครั้งเดียว
การพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน มิใช่แต่เพียงว่าหากเป็นการกระทำครั้งเดียวแล้วจะต้องเป็นกรรมเดียวเสมอไป ซึ่งอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันหรือประสงค์จะให้เกิดเป็นความผิดหลายฐานต่างกัน การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเรียกรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่ออกใบรับตามแบบที่อธิบดีกำหนดให้แก่คนหางาน ร่วมกันรับสมัครคนหางานโดยมิได้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายทะเบียน และร่วมกันรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่จัดส่งคนหางานเพื่อไปทำงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรอันเป็นความผิดตามฟ้อง มีลักษณะของความผิดเป็นการกระทำที่มีเจตนาต่างขั้นตอนและแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละข้อหาต่างหากจากกันได้อย่างแจ้งชัด และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11794/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน พิจารณาจากพฤติการณ์และเหตุผลในการกระทำ
แม้จำเลยจะโกรธผู้ตายที่ไล่จำเลยออกจากบ้าน แต่จำเลยออกไปจากบ้านประมาณ 2 ถึง 3 วัน จำเลยจะกลับมาอยู่กับผู้ตายทุกครั้ง ก่อนเกิดเหตุผู้ตายไล่จำเลยออกจากบ้านและจำเลยกลับมาหาผู้ตาย เชื่อว่าเรื่องที่จำเลยถูกผู้ตายไล่ออกจากบ้านไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่จำเลยอาฆาตแค้นผู้ตายถึงขั้นตระเตรียมอาวุธไปฆ่าผู้ตาย ทั้งมีดของกลางเป็นเพียงเครื่องใช้ทางการเกษตรที่จำเลยมีไว้ใช้ในการถางหญ้าและตัดอ้อย การที่จำเลยนำมีดของกลางติดตัวมาด้วยจึงไม่อาจฟังว่าตระเตรียมมาเป็นอาวุธฆ่าผู้ตาย ส่วนที่จำเลยรอจังหวะให้ไฟฟ้าในบ้านปิดแล้วมุดลอดสังกะสีบ้านเข้าไปหาผู้ตาย ก็อาจเป็นเพราะบุตรผู้ตายใช้กุญแจคล้องประตูด้านในไว้ ทำให้จำเลยเข้าบ้านไม่ได้ประกอบกับจำเลยอาจไม่ต้องการให้คนในบ้านซึ่งนอนหลับอยู่ทราบว่าจำเลยแอบกลับมาหาผู้ตาย ผู้ตายจึงให้จำเลยลอดเข้าไปหาดังที่จำเลยแก้ฎีกาก็เป็นได้ นอกจากนี้ได้ความว่าจำเลยคุยกับผู้ตายระยะหนึ่ง เมื่อบุตรของผู้ตายตื่นขึ้นมาเปิดไฟฟ้าแล้วเห็นจำเลยอยู่กับผู้ตาย ก็มีเสียงผู้ตายร้องห้ามบุตรของผู้ตายและผู้ตายกอดด้านหน้าจำเลยไว้ เมื่อผู้ตายปล่อยมือ จำเลยและบุตรของผู้ตายจ้องหน้ากัน หลังจากนั้นบุตรของผู้ตายวิ่งออกจากบ้าน จำเลยจึงใช้มีดฟันผู้ตายแล้ววิ่งหนีไป แสดงว่าก่อนที่บุตรผู้ตายจะวิ่งออกไปตามญาติมาไล่จำเลย จำเลยยังไม่มีความคิดที่จะฆ่าผู้ตายดังที่เคยพูดอาฆาตไว้ เชื่อว่าเหตุที่บุตรของผู้ตายวิ่งออกไปตามญาติเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำเลยลงมือฆ่าผู้ตายโดยใช้มีดของกลางฟันผู้ตายทันทีหลายครั้งด้วยอารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9988/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการปล้นทรัพย์: การกระทำแม้ไม่สำเร็จตามแผน ก็ยังคงเป็นความผิดฐานสนับสนุนได้
การที่จำเลยที่ 4 ช่วยขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยอื่นไปไหนมาไหนด้วยกันตลอดจนกระทั่งมีการปรึกษาปล้นทรัพย์รถแท็กซี่ซึ่งจำเลยที่ 4 ก็ตกลงด้วย และรับว่าจะทำหน้าที่ขับรถจักรยานยนต์ติดตามไปรับเมื่อปล้นทรัพย์เสร็จ เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขึ้นรถแท็กซี่ไปเพื่อปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 4 ก็ขับรถจักรยานยนต์ตามไปถือว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ของจำเลยอื่นแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ขับรถจักรยานยนต์ล้มและจำเลยอื่นกระทำผิดแผนที่ปล้นทรัพย์เพราะผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสจึงไม่อยู่รอจำเลยที่ 4 โดยวิ่งหลบหนีไปก่อนก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 พ้นความรับผิดไปได้เพียงแต่ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกับจำเลยอื่นปล้นทรัพย์เท่านั้น คงมีความผิดฐานสนับสนุนการปล้นทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7685/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขู่เข็ญทำให้เกิดความกลัวต้องปรากฏจากการกระทำที่ทำให้ผู้ถูกขู่หวาดกลัว มิใช่เพียงการอวดเบ่งท้าทาย
คำพูดและการกระทำของจำเลยทั้งสามที่เป็นเพียงการอวดเบ่งท้าทายชวนทะเลาะวิวาท ไม่เป็นการขู่เข็ญทำให้ผู้เสียหายกับพวกเกิดความกลัวหรือความตกใจอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 392