พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับตามยอม: การตรวจสอบบัญชีและการกล่าวอ้างเรื่องการบริหารงานที่ไม่ชอบธรรมเป็นประเด็นใหม่นอกเหนือจากสัญญายอม
โจทก์จำเลยทำยอมในศาลโดยจำเลยให้สิทธิโจทก์ที่จะตรวจตราดูการที่จำเลยดำเนินงานประจำปีฉลองรูปปั้นเซียนและจำเลยจะทำบัญชีรับจ่ายสำหรับงานดังกล่าว พร้อมหลักฐานกับเงินสุทธิมายื่นต่อศาลเพื่อให้โจทก์ตรวจดูได้ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอม และจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามข้อความในสัญญายอมแล้วนั้น ต่อมาโจทก์จะอ้างว่าได้ตรวจตราแล้วจำเลยบริหารงานไม่ชอบ และบัญชีก็ผิดพลาด ขอให้ศาลไต่สวนนั้น ศาลย่อมไม่ไต่สวนให้ เพราะเป็นประเด็นใหม่ มิได้ระบุหรือขยายความไว้ในสัญญายอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ และขอบเขตการฟ้องคดีอาญาเฉพาะ
ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" ไว้ให้หมายถึง บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย จำเลยเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย คือเป็นเจ้าพนักงานตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ฉะนั้น จำเลยจึงไม่เป็นพนักงาน" ตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่เพียงประการเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็น "พนักงาน" ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรานี้ได้แล้ว ก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยโดยโจทก์มิได้ขอมาไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่เพียงประการเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็น "พนักงาน" ซึ่งจะมีความผิดตามมาตรานี้ได้แล้ว ก็ต้องยกฟ้อง จะยกบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาพิจารณาลงโทษจำเลยโดยโจทก์มิได้ขอมาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตใบอนุญาตแปรรูปไม้: การกระทำผิดเงื่อนไขใบอนุญาตไม่ใช่ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ แต่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเพิ่มเติมประกอบใบอนุญาต แม้ข้อกำหนดระบุไว้ว่าผู้รับอนุญาตจะตั้งโรงงานไม้แปรรูปได้ด้วยเครื่องจักรเพื่อประดิษฐ์เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปจำหน่าย แต่จเลยแปรรูปไม้หมอนรถไฟโดยรับจ้างตบแต่งด้วยการใช้เครื่องจักรถากไม้หมอนให้ได้ขนาดเรียบร้อย การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 48 หากแต่เป็นการกระทำผิดต่อข้อกำหนดซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตนี้ได้ ไม่ใช่กรณีที่จะฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษจำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2506)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตใบอนุญาตและการกระทำผิดสัญญาอนุญาต: การแปรรูปไม้หมอนรถไฟ
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้แต่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเพิ่มเติมประกอบใบอนุญาต แม้ข้อกำหนดระบุไว้ว่าผู้รับอนุญาตจะตั้งโรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่องจักรเพื่อประดิษฐ์เฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปจำหน่ายแต่จำเลยแปรรูปไม้หมอนรถไฟโดยรับจ้างตบแต่งด้วยการใช้เครื่องจักรถากไม้หมอนให้ได้ขนาดเรียบร้อยการกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 48 หากแต่เป็นการกระทำผิดต่อข้อกำหนดซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตนี้ได้ ไม่ใช่กรณีที่จะฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอนุญาตและสถานที่ซื้อขายวัตถุระเบิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
เจ้าพนักงานอำเภอเมืองชุมพรออกใบอนุญาตให้จำเลยมีและใช้วัตถุระเบิดในจังหวัดชุมพร โดยให้ซื้อจากจังหวัดพระนครจำเลยซื้อแล้วกลับนำไปจังหวัดสระบุรี แล้วจะนำจากจังหวัดสระบุรีไปจังหวัดชุมพรโดยผ่านจังหวัดพระนครอีก ก็ถูกจับเสียก่อน ในท้องที่จังหวัดสระบุรี ดังนี้จำเลยไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการฟ้องคดีอาญา: อำนาจฟ้องและขอบเขตการควบคุมตัว
เจ้าพนักงานจับจำเลยฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่แล้วจำเลยถูกควบคุมตัวในฐานเป็นบุคคลอันธพาล ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ยังไม่เกิน 30 วันการควบคุมตัวจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องกับการควบคุมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ฉะนั้น การขอผัดฟ้องก็ดี การขออนุญาตฟ้องจากอธิบดีกรมอัยการก็ดี ย่อมไม่อาจจะเกิดขึ้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันและขอบเขตการบังคับใช้ในคดีบังคับคดี
โจทก์เคยนำยึดห้องแถวบนที่ดินของผู้ร้อง โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษามาครั้งหนึ่งแล้ว ผู้ร้องร้องคัดค้านว่าห้องแถวที่ยึดเป็นของผู้ร้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนการยึดห้องแถวดังกล่าวมีข้อความว่า "ในวันนี้โจทก์ได้รับเงิน 2,000 บาทจากผู้ร้องไปเรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงขอถอนการยึดห้องดังกล่าว และรับว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ใดๆ บนที่ดินของผู้ร้องอีกต่อไป"ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนการยึดได้ ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และผู้ร้องได้ตกลงระงับข้อพิพาทเรื่องเถียงกรรมสิทธิ์ในห้องแถวที่โจทก์นำยึดไว้นั้นเสีย โดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือผู้ร้องจ่ายเงินให้โจทก์2,000 บาท ฝ่ายโจทก์ยอมถอนการยึดห้องแถว และรับว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ใดๆบนที่ดินของผู้ร้องอีก จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ต่อมาโจทก์นำยึดห้องแถวบนที่ดินของผู้ร้องนั้นอีกหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำยึดห้องแถวบนที่ดินของผู้ร้องนั้นอีก ผู้ร้องก็ย่อมยื่นคำร้องว่ากล่าวในคดีเดิมนั้นได้ โดยหาจำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326-1327/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินงอก และขอบเขตสัญญาจำนอง: การบังคับใช้กับที่ดินงอกและสิ่งปลูกสร้าง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1308 ถือได้ว่ากฎหมายให้เจ้าของที่ดินริมตลิ่งได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่งอกออกไปโดยลักษณะเป็นส่วนควบของที่ดินริมตลิ่ง และถือว่าเป็นที่ดินอยู่ในโฉนดของที่ดินริมตลิ่งด้วย
ข้อสัญญาจำนองซึ่งกล่าวว่า "สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแปลงนี้ไม่มีสิ่งใดยกเว้นจำนองด้วยทั้งสิ้น" นี้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 719 แปลความได้ว่าหมายถึง สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่มีอยู่บนที่ดินจำนองในขณะทำสัญญาจำนองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าบ้านที่พิพาทนั้นน้ำท่วมถึง ก็ยังไม่มีสภาพเป็นที่งอกในขณะทำสัญญาจำนอง บ้านนั้นก็มิใช่เป็นสิ่งปลูกสร้างตามข้อสัญญาจำนอง
อนึ่ง ถ้าบ้านพิพาทนั้นปลูกติดต่อเป็นส่วนควบซึ่งกันและกัน หรืออาจแยกจากกันเป็นส่วน ๆ ได้รูปบริบูรณ์ลำพังแต่ละหลังโดยไม่เป็นการทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือเปลี่ยนแปลงรูปทรง อาจเป็นเหตุให้สัญญาจำนองและสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับต่างกัน
เมื่อยังฟังข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับปัญหาเรื่องบ้านพิพาทไปทางใดทางหนึ่งมิได้ ก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ข้อสัญญาจำนองซึ่งกล่าวว่า "สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแปลงนี้ไม่มีสิ่งใดยกเว้นจำนองด้วยทั้งสิ้น" นี้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 719 แปลความได้ว่าหมายถึง สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่มีอยู่บนที่ดินจำนองในขณะทำสัญญาจำนองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าบ้านที่พิพาทนั้นน้ำท่วมถึง ก็ยังไม่มีสภาพเป็นที่งอกในขณะทำสัญญาจำนอง บ้านนั้นก็มิใช่เป็นสิ่งปลูกสร้างตามข้อสัญญาจำนอง
อนึ่ง ถ้าบ้านพิพาทนั้นปลูกติดต่อเป็นส่วนควบซึ่งกันและกัน หรืออาจแยกจากกันเป็นส่วน ๆ ได้รูปบริบูรณ์ลำพังแต่ละหลังโดยไม่เป็นการทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือเปลี่ยนแปลงรูปทรง อาจเป็นเหตุให้สัญญาจำนองและสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับต่างกัน
เมื่อยังฟังข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับปัญหาเรื่องบ้านพิพาทไปทางใดทางหนึ่งมิได้ ก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นปรับ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ให้จำคุกจำเลยคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้อัตราโทษเป็นให้ปรับ ไม่มีโทษจำคุกนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ และเป็นการแก้ไขแต่เพียงเล็กน้อย จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน: การครอบครองปรปักษ์และขอบเขตที่ดินตามโฉนด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ประมาณ 29 ไร่เศษ จำเลยเข้าทำนาโดยการละเมิด ขอให้ขับไล่จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่แปลงนี้เป็นของจำเลยโดยจำเลยครอบครองมาครั้นเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปทำแผนที่พิพาทปรากฎว่าที่ดินที่โจทก์ฟ้องและจำเลยต่อสู้นี้เป็นแปลงเดียวกัน มีอาณาเขตตรงกัน แต่มีเนื้อที่ 17 ไร่เศษ ดังนี้ เมื่อแผนที่หลังโฉนดของโจทก์เป็นแผนที่อย่างเก่าไม่มีหลักเขตปัก เอาความแน่นอนอย่างสมัยปัจจุบันไม่ได้ตามฟ้อง โจทก์ก็กล่าวในเรื่องเนื้อที่โดยการประมาณเท่านั้น และเป็นการพิพาทกันทั้งแปลง เจ้าของที่ดินและเจ้าหน้าที่ดูแลเขตคลองที่ติดต่อกับที่พิพาทก็รับรองว่าที่พิพาทมิได้รุกล้ำที่ใคร ทั้งโจทก์ก็ได้เสียค่าขึ้นศาลเต็มตามเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ไม่เป็นการเกินคำขอ