พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14411/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองหลังการขายทอดตลาด แม้เคยถูกยกคำร้องก่อนหน้า
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งอีกสำนวนของศาลชั้นต้น และเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของจำเลยที่ 2 ในทรัพย์จำนองที่ถูกยึดและขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 และกรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือร้องซ้ำ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองมาก่อนและศาลชั้นต้นยกคำร้องไปแล้วก็ตาม ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองอีก และเมื่อปรากฏว่าในการบังคับคดีนี้ยังมีเงินเหลืออยู่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9379/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องจากจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอฎีกาตามขั้นตอนที่กฎหมายวิธีพิจารณาคดียาเสพติดกำหนด
ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสาม การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้แก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดนั้น จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ เมื่อจำเลยฎีกาโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาคำร้องก่อนรับอุทธรณ์
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขออนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ในคำร้องจะไม่ได้ระบุว่า ให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ก็ถือว่าโจทก์ร่วมขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องสั่งคำร้องของโจทก์ร่วมดังกล่าวว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของโจทก์ร่วมว่า รวม โดยยังไม่ได้พิจารณาว่า จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมนั้น จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้น ที่ไม่ชอบเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ดำเนินการดังกล่าวและยกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากไม่ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาพร้อมฎีกาภายในกำหนดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เป็นที่สุด แต่คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ตามมาตรา 19 คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 และโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นฎีกาได้ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2554 แม้โจทก์จะยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลา แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาอนุญาตพร้อมกับฎีกา โดยยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 จึงเกินกำหนดหนึ่งเดือนเป็นการไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5869/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย เริ่มนับจากวันครบ 3 เดือนหลังยื่นคำร้อง (ค.10) ไม่ใช่จากวันสิ้นกำหนดภาษี
กรณีเงินได้พึงประเมินของโจทก์ที่ได้รับจากใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ โจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3,237,500 บาท แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร 3,152,992 บาท เป็นคนละจำนวนกัน แม้เงินได้จากใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากเป็นเงินได้พึงประเมินและไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ในขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่โจทก์ได้รับจากใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญนั้น โจทก์มิได้ระบุในรายการคำร้องขอคืนเงินภาษีจากภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่โจทก์ได้รับจากใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญไว้ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค. 10) ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2547 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยจากคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค. 10) มิใช่จากแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำเลยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค. 10) ในวันที่ 14 มีนาคม 2550 และต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในวันที่ 15 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนนับแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป โดยให้คิดจนถึงวันที่ลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน แต่ดอกเบี้ยมิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ทศ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18217/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต้องยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่ฟ้องคดี
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การคัดค้านคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการอาจทำได้โดยการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้" วรรคสอง บัญญัติว่า "คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาด..." วรรคสาม บัญญัติว่า "ให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) คู่พิพาทฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า... (ง) คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำชี้ขาดวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ... (จ)... กระบวนพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการมิได้เป็นไปตามที่คู่พิพาทได้ตกลงกันไว้..." ดังนั้น หากโจทก์ซึ่งเป็นคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะคัดค้านคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการสามารถกระทำได้โดยการขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดตามมาตรา 40 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดของจำเลยในฐานะคณะอนุญาโตตุลาการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำชี้ขาดวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ และกระบวนพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการมิได้เป็นไปตามที่คู่พิพาทได้ตกลงกันไว้ตามมาตรา 40 วรรคสาม (1) (ง) (จ) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งมีคำขอบังคับให้เพิกถอนคำชี้ขาดของจำเลยในฐานะคณะอนุญาโตตุลาการ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง หาใช่ฟ้องจำเลยเพื่อขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ทั้งการกระทำที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว จำเลยไม่ว่าจะในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะคณะอนุญาโตตุลาการหาได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ไม่และกรณีหาใช่เป็นการเสนอคดีมีข้อพิพาทหรือคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 หรือกรณีควรคืนคำฟ้องนั้นไปให้โจทก์ทำมาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12041/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเป็นศาลชั้นต้น แม้คดีอุทธรณ์ยังไม่สิ้นสุด
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น แม้คดียังอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา และคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยังมิได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์คำพิพากษาในเนื้อหาคดี คำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 วรรคหนึ่ง หาอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในประเด็นนี้ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ไม่เป็นการยื่นซ้ำ หากครั้งหลังบรรยายเหตุผลครบถ้วนตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในครั้งแรกมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอไปแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เป็นครั้งที่สองโดยบรรยายข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ ป.วิ.พ. มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 จัตวา กำหนดไว้ จึงไม่เป็นการร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 หรือ มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6360/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชน: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้องขอให้ฎีกาเมื่อศาลล่างมีคำสั่งห้ามฎีกา
หลักเกณฑ์การฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180 (2) ประกอบมาตรา 183 ต้องแยกพิจารณาว่าเป็นการฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กหรือฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำผิด หากฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกาเว้นแต่กำหนดเวลาฝึกอบรมเกินกว่าสามปี หรือกำหนดเวลาฝึกอบรมเป็นขั้นต่ำขั้นสูงและขั้นสูงเกินกว่าสามปี หากฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิด ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. ซึ่งในกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงกำหนดให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยกคำร้อง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการส่งเอกสารตรวจพิสูจน์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณาคำร้อง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 และคำร้องขอส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ก่อนแถลงหมดพยาน จำเลยดังกล่าวย่อมมีสิทธิทำได้เพราะในส่วนของการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นได้ก่อนฝ่ายจำเลยจะสืบพยานเสร็จ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยดังกล่าวยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 จึงชอบแล้ว แต่การขอส่งพยานเอกสารดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์เป็นคนละส่วนที่สามารถแยกพิจารณาจากกันได้ ทั้งผลการตรวจพิสูจน์เป็นเพียงความเห็นของผู้ตรวจพิสูจน์ที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าสมควรเชื่อหรือไม่เพียงใด หาใช่บังคับให้ศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามผลการตรวจพิสูจน์ จึงเป็นดุลพินิจศาลในการจะอนุญาตให้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ตามคำร้องขอของคู่ความโดยพิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์แก่คดีหรือไม่เพียงใด และต้องพิจารณาความเหมาะสมโดยคำนึงถึงคู่ความทุกฝ่ายด้วย หาใช่พิจารณาความต้องการของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายเดียวไม่